Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mind InPsych
•
ติดตาม
29 ก.ย. 2021 เวลา 11:08 • การศึกษา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ตอนที่ 7 "ความฝัน"
ภาพจาก https://pin.it/4M2RmSJ
ในขณะที่เราหลับ ภายใน Unconscious ยังคงมีความปรารถนาการทำงาน ของ ID ที่พยายามโผล่มาใน Conscious ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการนอนหลับ
เมื่อเป็นเช่นนี้ EGO ก็ยอมให้เกิดความฝันขึ้นมาแทน เพราะจะทำให้เราสามารถหลับต่อได้
"เราไม่ได้หลับเพื่อฝัน แต่เราฝันเพื่อหลับ"
Latent Dream Content คือควมาหมายที่แท้จริงของความฝัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. Nocturnal sensory impression คือความรู้สึกขณะหลับ เช่น หิว ร้อน หนาว ปวดปัสสาวะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดความฝันได้
2. เหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ ที่ผู้ฝันกำลังสนใจ กังวล ปราถนาเป็นต้น เช่น ฝันถึงงานที่ทำค้างได้
3. The Repressed คือส่วนต่างๆ ของ ID ที่ถูกกดไว้ใน Unconscious ตั้งแต่วัยก่อน และวัย Oedipus ซึ่งยังมีแรงขับอยู่ใน Unconscious เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ฟรอยด์กล่าวว่า The Repressed เป็นตัวทำให้เกิดฝัน ส่วนตัวอื่นเป็นเพียงเครื่องช่วย ในทุกฝันจะมี The Repressed เสมอ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับอะไร
Manifest Dream Content คือส่วนที่เป็นจิตนาการรู้สึกตัว หรือก็คือ ภาพฝันที่เราสามารถจดจำได้ โดยมีแรงผลักดันมาจาก Latent Dream Content
Dream Work คือกระบวนการแปรรูปความฝัน
โดยเปลี่ยนจาก Latent Dream Content ให้แสดงออกมาเป็น Manifest Dream Content
Dream work
Dream work มีหน้าที่หลัก 2 ประการ และหน้าที่รอง 1 ประการ
หน้าที่หลัก
1. เปลี่ยน Latent Dream Content ให้เป็น Manifest Dream Content โดยจะพยายามแปลสิ่งเหล่านี้ให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
2. The Dream Cencor เนื่องจากในชีวิตประจำวันมีหลายสิ่ง ที่ Ego ยอมรับได้จึงเอามาฝัน แต่บางอย่างที่ทำให้เกิด Anxiety หรือ Guilt เมื่อเป็นเช่นนี้ Ego จะจัดการเพื่อไม่ให้โผล่มาในระดับที่รู้สึกตัว
เช่น ผู้ฝันเป็นหญิง และ Latent Dream Content เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Electra Complex ที่อยากร่วมเพศกับพ่อ แต่ความปรารถนานี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ ภาพในความฝันจึงมีการเปลี่ยนไป จากการร่วมเพศกับพ่อ เป็นเต้นรำกับชายหนุ่ม จนไม่สามารถเข้าใจความหมายเดิมได้
หน้าที่รอง
Secondary Revison คือการทำให้ ฝันเป็นเรื่องราวต่อกันสามารถเข้าใจได้ ฟรอยด์ถือว่า ไม่สำคัญเท่า 2 ข้อแรก
ขณะที่เราฝัน เราจะเข้าใจความฝันเสมือนว่าเป็นความจริงในขณะหลับ ความฝันจึงเปรียบได้กับ Hallucination(ภาพหลอน) ในคนไข้โรคจิต
ความฝันไม่ใช่สิ่งผิดปกติแต่เป็นประสาทหลอนที่ปกติขณะหลับ
ฟรอยด์อธิบายว่า ขณะหลับ หน้าที่หลายอย่างของ Ego หยุดทำงาน หนึ่งในนั้นคือ Reality Testing จึงทำให้แยกความจริงไม่ออก
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พื้นฐานทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory)
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย