4 ต.ค. 2021 เวลา 12:10 • ปรัชญา
"สติปัฏฐาน ๔ ในอานาปานสติ ๑๖ ขั้น
และมหาสติปัฏฐานสูตร "
2
" ... เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาสติ
ปลุกการตื่นรู้ขึ้นมา
ในฐานกายพระองค์ก็แจกแจงไว้หลายอย่าง
เช่น ในเรื่องของลมหายใจ
ลมหายใจก็เป็นกายอันหนึ่ง
ถ้าใช้ลมหายใจเป็นอุปกรณ์ในการฝึกเป็นหลัก
ก็เรียกว่า อานาปานสติ
ก็คือการระลึกรู้ถึงลมหายใจ
เพื่อปลุกการตื่นรู้ขึ้นมา
อริยาบถใหญ่
กายที่นิ่ง ที่ยืน ที่เดิน ที่นอน
ตั้งกายไว้อย่างไรก็รู้กายนั้น ๆ
หมวดสัมปชัญญะ
ทำความรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เนือง ๆ
แล้วก็มีในเรื่องของ
การพิจารณากาย แยกเป็นอวัยวะต่าง ๆ
เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก
ตับ ไต ไส้พุง น้ำเลือด น้ำหนองต่าง ๆ
พอพิจารณาแยกเป็นส่วน ๆ จะพบว่า
อวัยวะแต่ละส่วน
มันเต็มไปด้วยความไม่สะอาดนั่นเอง
น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองต่าง ๆ
อันนี้ก็เป็นหมวดหนึ่งที่อยู่ในกายเช่นกัน
หรือว่าพิจารณาเรื่องของความเป็นซากศพ
ถ้ากายมันต้องตายลง
ไม่มีลมหล่อเลี้ยงแล้ว
มันก็จะเริ่มกลายเป็นซากศพขึ้นอืด
น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองไหลต่าง ๆ
ก็เป็นหมวดหนึ่ง
หรือพิจารณาโดยความเป็นธาตุ
ร่างกายก็ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
เช่น อวัยวะประกอบด้วยธาตุดิน หัวใจ ตับ ไต
ธาตุน้ำ ก็น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง
ธาตุลม ธาตุไฟต่าง ๆ
ก็มาประกอบขึ้นมาเป็นร่างกาย เป็นชีวิตขึ้นมา
ก็มีหมวดต่าง ๆ แต่รวมแล้วก็คือ
รวมอยู่ในหมวดของกายนั่นเอง
ไม่ว่าเราจะเลือดหมวดใดก็ตาม
ให้รู้ไว้
พอฝึกไปจนสติมีกำลัง
ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า "สติเต็มฐาน"
ก็คือจะรู้กายขึ้นมาได้ทั้งกายนั่นแหละ
แม้ว่าบางท่านจะเริ่มจากลมหายใจก็ตาม
ให้รู้ว่าพอฝึกถึงจุดหนึ่ง
มันก็จะส่งขึ้นมารู้กายได้ทั้งกาย
ที่พระองค์เรียกว่า รู้กองลมทั้งกอง
หรือ รู้กายทั้งกายนั่นแหละ
เพราะฉะนั้น เบื้องต้น
เราจะเริ่มจากส่วนใดของกายก็ตาม
ฝึกไปถึงจุดหนึ่ง มันจะรู้สึกขึ้นมาได้ทั้งตัวเลย
เรียกว่า สติมันเต็มฐาน
เมื่อรู้สึกได้ทั้งตัว ใจก็จะมีความนิ่ง
เริ่มเห็นการทำงานของจิตใจได้ด้วย
ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆ
หรือ จิตที่แวบไป
พอฝึกอยู่ที่ฐานกายได้ดี
ก็จะเริ่มเข้าสู่ฐานเวทนาขึ้นมาได้เอง
โดยธรรมชาติ
ฐานเวทนาก็จะเป็นเรื่องของสภาวะ
ของอาการปีติต่าง ๆ
หรือความรู้สึกตัวในชั้นของเวทนา
เกี่ยวกับมวลพลังงานต่าง ๆ
ถ้าอยู่กับความรู้สึกตัว
จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ดี
จะพบว่าใจมันนิ่งตั้งมั่นขึ้นมา
ฝึกไปเรื่อย ๆ
มันก็จะส่งเข้าสู่ฐานของจิต
เกิดความตั้งมั่นตื่นรู้ขึ้นมา
ฐานของจิต ใจมันจะนิ่ง
จิตมันไม่ส่งออกนั่นเอง
ใจมันก็จะนิ่งตั้งมั่นขึ้นมา
เมื่ออยู่กับความตื่นรู้ได้ดี
มันก็จะสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
เข้าสู่ฐานของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
1
นี่คือว่าโดยลำดับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นทั้ง 4 ฐาน
ตรงนี้จะตรงกับในอานาปานสติสูตร 16 ขั้น
ที่พระองค์แบ่งไว้ 16 ขั้น
หายใจให้เป็นสติปัฏฐาน ๔
4 ขั้นแรกก็จะอยู่ในฐานของกาย
4 ขั้นต่อมาอยู่ในฐานของเวทนา
4 ขั้นต่อมาอยู่ในฐานของจิต
4 ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นระดับวิปัสสนาญาน
อยู่ในขั้นของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
นี่คือว่าโดยลำดับระดับสภาวธรรม
...
แต่ในหมวดของมหาสติปัฏฐานสูตร
พระองค์จะแจกแจง
เป็นเหมือนประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน กำแพงเมืองทั้ง 4 ทิศ
ทิศหนึ่งก็ฐานกาย ฐานเวทนา ฐานจิต ฐานธรรม
แล้วก็เข้าสู่ระดับสภาวธรรมในระดับสัมมาสมาธิ
จิตตั้งมั่น แล้วก็ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาน
ก็จะมีอยู่ 2 ลักษณะเช่นกัน
แต่ก็เป็น 4 ฐานทั้งคู่
ฐานกาย ฐานเวทนา ฐานจิต และก็ฐานธรรม
...
จิตอยู่กับฐานใด สติมันก็ครองฐานนั้น
อยู่ฐานกาย สติก็ครองฐานกาย
พรากจากฐานกาย ก็เข้าสู่ฐานเวทนา
อยู่ฐานเวทนา สติก็ครองฐานเวทนา
จะรู้สึกได้ว่า เรารู้สึกตัวได้ทั้งตัว
พรากจากฐานเวทนา เข้าสู่ฐานของจิต
สติก็ครองฐานจิต
เวลาเข้าถึงฐานจิต
เราจะพบว่ากายนี้ไม่ใช่เราแล้ว
เพราะว่ามันวางฐานกาย
จิตไม่ได้ไปครองฐานกาย ครองฐานจิตอยู่
มันจะเกิดการแยกขันธ์ชั้นต้น
ที่เรียกว่า แยกกายแยกจิต นั่นแหละ
1
บางคนเดินจะรู้สึกว่า
กายมันเป็นเหมือนเป็นหุ่นยนต์
เป็นส่วนหนึ่ง แต่ใจรู้อยู่นั่นเอง
เพราะว่าจิตไม่ได้ไปยึดไปครองฐานกายแล้ว
อยู่ที่ฐานจิต
มันจะรู้สึกว่าร่างกายมันไม่ใช่เราแล้ว
มันเป็นเหมือนหุ่นยนต์
มันเป็นเหมือนสิ่ง ๆ หนึ่งที่เคลื่อนไปนั่นเอง
จิตมันครองอะไร
มันก็จะอยู่กับสิ่งนั้นนั่นแหละ
แล้วเมื่อสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาน
จิตมันจะกลายเป็นเบิกบาน กว้าง รับรู้ที่กว้าง
ฐานทั้ง 4 กาย เวทนา จิต ธรรม
ก็จะกลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริงต่าง ๆ
ตรงนี้เราเรียนรู้ได้ ก็ค่อย ๆ ฝึกไป
พอเข้าถึงสภาวธรรมในแต่ละระดับ
เราก็จะเข้าใจสภาวะที่เกิดขึ้นนั่นเอง ... "
.
ธรรมบรรยาย โดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ภาพสรุปเส้นทาง
อ้างอิง :
หายใจให้เป็นสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐานฉบับการ์ตูน
Photo by : Unsplash , Duenjit

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา