12 ต.ค. 2021 เวลา 14:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รู้ไหมว่า Screen Saver บนหน้าจอคอมพิวเตอร์มีไว้ทำไม❓
ตั้งแต่เราใช้คอมพิวเตอร์กันเป็น เราก็รู้จักสิ่งที่เรียกว่า Screen Saver หรือ ภาพพักหน้าจอ กันเป็นอย่างดี
เรารู้ว่า เวลาเราใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วหยุดพัก ไม่สัมผัสแป้นพิมพ์หรือเมาส์สัก 30 วินาทีหรือ 1 นาที จอภาพจะเปลี่ยนจากสิ่งที่เราพิมพ์หรือดูอยู่เป็นภาพเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Screen Saver
ตกลงแล้วเจ้า Screen Saver หรือ ภาพพักหน้าจอมันมีไว้เพื่ออะไร?
1
ช่วยลดการใช้พลังงาน ใช่หรือเปล่า?
..
คำตอบของเรื่องนี้ต้องย้อนไปที่รูปแบบคอมพิวเตอร์ยุคเก่า ที่หน้าจอหรือ Monotor ยังไม่ใช่ LED อย่างปัจจุบัน
ในอดีตที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ยังใช้เทคโนโลยีหลอดแคโทดที่เรียกว่า CRT คล้าย ๆ ทีวีจอตู้สมัยก่อน
ปัญหาของการใช้งานจอแบบ CRT ก็คือ หากภาพเดิมบนหน้าจอถูกแช่ทิ้งไว้นานเกินไป ความร้อนจะทำให้เกิดการไหม้ของหน้าจอหรือที่เรียกว่าจอถูกเบิร์น
2
จอที่เกิดการเบิร์นจะมีรอยดำที่แก้ไม่หาย บางครั้งถึงกับต้องเปลี่ยนหน้าจอใหม่กันเลยทีเดียว
2
ตัวอย่างรอยไหม้บนจอภาพ
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดรอยไหม้บนจอภาพ จากการแช่ภาพหน้าจอเดิม ๆ นานเกินไป นักคอมพิวเตอร์จึงคิดค้นโปรแกรมถนอมหน้าจอที่เรียกว่า Screen Saver ขึ้นมา
2
โดยโปรแกรม Screen Saver จะทำหน้าที่ สร้างตัวอักษรวิ่ง ภาพเคลื่อนไหวไปมาหรือภาพที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ขึ้นบนหน้าจอ หากจอภาพนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเวลาที่ตั้งไว้ เช่น 30 วินาทีหรือ 1 นาที เป็นต้น
1
เมื่อผู้ใช้งานกดแป้นพิมพ์หรือขยับเมาส์ ภาพ Screen Saver ก็จะหายไป กลับมาเป็นภาพเดิมที่ใช้งานค้างไว้อีกครั้ง
1
..
แม้ว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีจอภาพจะพัฒนาไปมาก จนปัญหาเรื่องความร้อนที่ทำให้เกิดการเบิร์นบนจอภาพ หากมีการแช่ภาพทิ้งไว้นาน ๆ จะน้อยลงไปมากแล้ว
แต่โปรแกรม Screen Saver ก็ยังมีการใช้งานในวัตถุประสงค์อื่นอยู่ เช่น ใช้พักสายตาเพื่อผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น
1
ส่วนความเข้าใจที่ว่า Screen Saver จะช่วยลดการใช้พลังงานของคอมพิวเตอร์ลง
อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกันเลย เพราะขณะที่ภาพพักหน้าจอทำงาน ระบบอื่น ๆ ที่รันอยู่ก็ยังทำงานต่อไป ไม่ได้พักตามหน้าจอแต่อย่างใด
2
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา