Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
12 ต.ค. 2021 เวลา 03:05 • ปรัชญา
"นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา ... มาแต่ไหนแต่ไร"
1
" … ค่อย ๆ ฝึกเรื่อย ๆ ไป มีสติรู้กาย วาจา ใจไป
โดยเฉพาะรู้ทันจิตใจตัวเอง
ฝึกมาก ๆ จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา
ไม่หลงไปตามความยินดียินร้าย
พอจิตตั้งมั่น จิตเป็นกลาง
ก็เห็นสภาวะทั้งหลายผ่านมาแล้วผ่านไป
1
พฤติกรรมทางร่างกาย ร่างกายเดี๋ยวก็ยืน
เดี๋ยวก็เดิน เดี๋ยวก็นั่ง เดี๋ยวก็นอน
แต่ละอัน ๆ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
ร่างกายหายใจออกแล้วก็ผ่านไป
ก็เกิดร่างกายหายใจเข้า แล้วก็ผ่านไป
ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะผ่านไป
นามธรรมก็เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปเหมือนกัน
ความสุขเกิดขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป
ความทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป
ความทุกข์ถาวรไม่มี ความทุกข์ ทุกขเวทนาถาวรไม่มี ๆ ก็จะเห็นทุกอย่างมันมาแล้วไป ๆ
2
พอเราดูมาก ๆ จิตเป็นกลาง
เป็นกลางเพราะปัญญา
เข้าใจความจริงแล้วว่าทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป
ไม่หลงยินดี ไม่หลงยินร้าย
ไม่มีความชอบ ความไม่ชอบ เป็นกลาง
2
"ผู้ใดเข้าถึงความเป็นกลาง จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"
2
2
หลวงปู่เทสก์ท่านสอนดีบอก
“ผู้ใดเข้าถึงความเป็นกลาง จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
1
จิตใจเรามันยังทุกข์อยู่เพราะมันไม่เป็นกลาง
มันไม่มีอารมณ์ที่พอใจ มันก็อยากได้อารมณ์ที่พอใจ เรียกว่ามีกามตัณหา
มีความอยากได้อารมณ์ที่ชอบใจ
ตรงที่อยาก ใจมันดิ้นรน มันทุกข์แล้ว
เจอของที่ชอบใจแล้ว ก็อยากให้มันคงอยู่
เรียกว่าภวตัณหา
เจออารมณ์ที่ไม่ชอบใจ อยากให้มันหมดไปสิ้นไป
เรียกว่าวิภวตัณหา
1
พอเราเจริญสติ เจริญปัญญามาก ๆ
ทีแรกก็เป็นสติ มีสติรู้ทัน
กามตัณหาเกิดก็รู้ ภวตัณหาเกิดก็รู้ วิภวตัณหาเกิดก็รู้
มันก็ดับ ตัณหามันเป็นตัวกิเลส เป็นตัวโลภะเกิด
เรามีสติรู้เท่านั้น ก็ดับแล้ว มันดับแล้วเดี๋ยวก็เกิดอีก
จนกระทั่งเราพัฒนาการภาวนาของเราจนมันมีปัญญา
คราวนี้มันไม่ได้ดับด้วยสติแล้ว มันดับด้วยปัญญา
ปัญญาเป็นเครื่องมือในการตัด ในการทำลายล้างกิเลส
สติทำลายล้างกิเลสไม่ได้จริง
สมาธิทำลายล้างกิเลสไม่ได้จริง
โดยเฉพาะสมาธิ มักจะเป็นเครื่องมือของกิเลสได้ง่าย ๆ เลย
แต่ปัญญาการรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
จะล้างกิเลสได้เด็ดขาด
อย่างเราเห็นเลย
ใจเรามีความอยากขึ้นมาทีไร ก็มีความทุกข์
เราก็เห็นต่อไป ความอยากเกิดก็ชั่วคราว
ความทุกข์เกิดก็ชั่วคราว
ความอยากจะเกิดก็ห้ามไม่ได้
ความทุกข์จะเกิดก็ห้ามไม่ได้
เราค่อย ๆ เรียน เราก็เห็นธรรมะไปเรื่อย ๆ
ในที่สุดจิตก็เป็นกลาง
ความสุขเกิดขึ้น จิตมันก็ฉลาด
มันรู้ว่าความสุขเป็นของชั่วคราว
มาแล้วก็ไป ยึดถือไว้ไม่ได้
ความทุกข์เกิดขึ้น จิตมันฉลาด
มันก็รู้ความทุกข์เป็นของชั่วคราว
อยู่ชั่วคราวแล้วมันก็หายไป ไปไล่มันอย่างไรมันก็ไม่ไป
เชิญให้มันอยู่นาน ๆ มันก็ไม่อยู่หรอก
มันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของมัน
2
พอจิตมันฉลาด มันเห็นว่า
ความสุขไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
จิตมันจะเป็นกลางขึ้นมา
1
เวลาเกิดความสุข มันเป็นกลางด้วยปัญญา
มันรู้ว่าของไม่จีรังยั่งยืนอะไร
ไปอยากได้ ได้มาแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้
จิตมันก็เลิกหิวความสุข
หรือมีความทุกข์เกิดขึ้นมา มีปัญญาเห็นความทุกข์
มันจะมาก็ห้ามมันไม่ได้ มาแล้วไล่มันก็ไม่ไป
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ นี่เรียกเห็นอนัตตา
รู้ไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวมันก็ดับของมันเอง
มันเป็นอนิจจัง
พอจิตเวลาเกิดความทุกข์ จิตก็ไม่ทุรนทุราย
รู้ว่าของชั่วคราว
เวลาเกิดความสุขก็ไม่ทุรนทุรายอยากรักษาเอาไว้
เพราะรู้ว่าเป็นของชั่วคราว
1
2
เห็นไหมพอจิตมันมีปัญญา
มันก็เป็นกลางต่อสุขและทุกข์ ต่อดีและชั่ว
สุขและทุกข์ ดีและชั่วเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์
เกิดแล้วก็ดับ เหมือน ๆ กัน
ถ้าจิตเห็นตรงนี้ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา
ความสุขเกิดก็ไม่หลงดีใจ
ความทุกข์เกิดก็ไม่เสียใจ
เป็น กลาง ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุ ไม่ใช่ตามที่เราสั่ง
พอจิตเป็นกลางแล้ว จิตก็จะไม่ดิ้นรน ปรุงแต่ง
ฉะนั้นตัณหามันจะมาสร้างภพให้เราไม่ได้
มีตัณหา จิตมันไม่เป็นกลางหรอก
มันอยากนั้นอยากนี้ไปเรื่อย
ทีนี้พอมีปัญญา เห็นเลยทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
สุขหรือทุกข์ก็เสมอกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์
ดีหรือชั่วก็เสมอกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์
พอเห็นอย่างนี้ จิตก็เข้าสู่ความเป็นกลาง
เป็นกลางต่อสุขและทุกข์ เป็นกลางต่อดีและชั่ว
รู้ว่าทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ไม่ใช่ตามที่เราสั่ง
พอจิตเป็นกลาง จิตจะไม่ดิ้นรนต่อ
จิตของเราที่ดิ้นรน ก็เพราะว่ามันไม่มีความเป็นกลาง
เราค่อย ๆ สังเกต ที่เราดิ้นรน
เพราะเราชอบอันนี้ เพราะเราเกลียดอันนี้อยู่ตลอดเวลา
มันไม่เป็นกลาง มันถึงต้องดิ้น
อย่างเราเจ็บป่วย เราไม่พอใจที่มันเจ็บป่วย
จิตมันก็ดิ้น ไม่มีความสงบสุข
ถ้าจิตมันเห็นทุกอย่างเสมอกัน จิตก็ไม่ดิ้นรนต่อ
จิตก็หยุดการสร้างภพ
เพราะฉะนั้นตรงที่จิตเป็นกลางด้วยปัญญาอันยิ่ง
มันเป็นประตูของการบรรลุมรรคผล
ขณะบรรลุมรรคผลนั้นจิตพ้นจากภพ
ภพก็คือการดิ้นรนปรุงแต่งของจิตนั่นเอง
จิตจะดิ้นรนปรุงแต่ง ถ้ามันมีความอยากเกิดขึ้น
มันก็จะมีการดิ้นรนเกิดขึ้น
ความอยากเรียกตัณหาอุปาทาน
ความดิ้นรนของจิตเรียกว่าภพ
มีภพขึ้นมาก็มีชาติ มีตัวเราของเรา ก็มีทุกข์ขึ้นมา
ถ้าเราฉลาด เรารู้เท่าทันสภาวะทั้งหลายเสมอภาคกัน
จิตก็ไม่มีตัณหา พอจิตไม่มีตัณหา จิตก็ไม่สร้างภพ
เมื่อจิตไม่สร้างภพ จิตจะไปสัมผัสสิ่งที่อยู่เหนือจากภพ
สัมผัสพระนิพพาน
1
...
ได้จิตก็ได้ธรรมะ ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะ
เพราะฉะนั้นไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้
บอกแล้วว่าจิตเป็นอนัตตา แต่จิตฝึกได้
ฝึกจนมันฉลาด เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอภาคกัน
จิตก็หมดความอยาก หมดความดิ้นรน
หมดความปรุงแต่ง เป็นธรรมชาติที่รู้ สักว่ารู้ล้วน ๆ เลย
1
ไม่ใช่สักว่ารู้แต่ปาก
มันสักว่ารู้ ก็คือรู้แล้วไม่ปรุงต่อ จิตมันเป็นเอง
สั่งให้มันไม่ปรุงไม่ได้หรอก
พอมันไม่ปรุง จิตมันก็พ้นจากภพ สัมผัสพระนิพพาน
นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ปรุงแต่ง เรียกว่าวิสังขาร
นิพพานเป็นสภาวะที่หลุดพ้นจากอาสวกิเลส
หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส
หลุดพ้นจากความยึดถือในธาตุในขันธ์นี้เรียกว่าวิมุตติ
ค่อย ๆ เรียน ในที่สุดจิตเราก็เข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้
2
อาศัยมีสติรู้พฤติกรรมของจิตตัวเองเรื่อย ๆ ไป
เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวชั่ว รู้ไป
จิตไม่เป็นกลาง ยินดียินร้ายขึ้นมา
ยินดีต่อความสุข ยินร้ายต่อความทุกข์อะไรอย่างนี้
ยินดีต่อกุศล ยินร้ายกับอกุศลอะไรนี่ รู้ทัน
จิตจะเป็นกลางด้วยสติ
พอรู้เรื่อย ๆ ไป ต่อไปก็เป็นกลางด้วยปัญญา
รู้ว่าสุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว
เสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์
มันจะเป็นกลางด้วยปัญญา
พอเป็นกลางด้วยปัญญา
จิตจะหมดความดิ้นรนปรุงแต่ง จิตจะพ้นจากภพ
แล้วสัมผัสพระนิพพาน
นิพพานไม่ได้เกิดขึ้น ๆ
นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่เกิด
เพราะฉะนั้นนิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ดับ
สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ
1
ภาวนา ค่อย ๆ ตั้งอกตั้งใจภาวนาของเราไปทุกวัน ๆ
ไม่รีบร้อน แต่ไม่ขี้เกียจ
ค่อย ๆ เดินทุกวัน
เดี๋ยววันหนึ่งเราก็จะเห็นเส้นชัยอยู่ข้างหน้าเรา
ตรงที่เรามองเห็นเส้นชัยอยู่ข้างหน้า เราได้โสดาบันแล้ว
ตรงที่เราเดินเข้าไปหาเส้นชัยของเรา คือพระสกิทาคามี
ตรงที่เรากำลังจะถึงเส้นชัยเรา คือพระอนาคามี
ตรงที่ถึงเส้นชัยแล้ว ถึงพระนิพพานแล้ว
ถึงพระนิพพานแล้วจะรู้เลย
นิพพานไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก
นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตามาแต่ไหนแต่ไร
แต่จิตมันมีตัณหา
มันมีภพคือความดิ้นรนก็เลยมองไม่เห็น
เหมือนสายตาเราไม่ดี มีแก้วแหวนเงินทองอยู่ข้างหน้า
เราก็มองไม่เห็น
ค่อยฝึก ในที่สุดก็เจอของดีของวิเศษมีอยู่ต่อหน้าต่อตา
แล้ว
แต่ที่ผ่านมามองไม่เห็น เพราะกิเลสมันบังไปหมด
2
มีกิเลส มีตัณหา มีความดิ้นรนของจิตใจ
สังเกตดูจิตเราไม่เคยหยุดดิ้นเลย ดิ้นรนตลอดเวลา
เดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวอยากได้กลิ่น
อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางร่างกาย
อยากได้อารมณ์ทางใจ อยากได้ความสุขอะไรอย่างนี้
อยากได้ความดีอะไรอย่างนี้ เป็นเรื่องอยากทางใจ
อยากทีไร จิตก็ดิ้นทุกที
ค่อย ๆ ดูค่อย ๆ สังเกต จิตดิ้นทีไร จิตก็ทุกข์ทุกทีเลย
ในที่สุดจิตก็พ้นความปรุงแต่งไป
ถ้าเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอก
การภาวนาไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไรอีกต่อไปแล้ว
การภาวนาไม่ใช่พุทโธ ไม่ใช่หายใจ
ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้นเลย นั่นเป็นแค่เครื่องมือ
ตัวสำคัญคือมีสติรู้เท่าทันจิตใจตัวเองไปให้ดีเถิด
แล้วอย่างอื่นมันดีเอง
ครูบาอาจารย์ท่านถึงสอน
“ได้จิตก็ได้ธรรมะ ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะ” หรอก
ฝึกเอา. ... "
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
3 ตุลาคม 2464
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
มีสติรู้เท่าทันจิตใจตัวเอง
อาศัยมีสติรู้พฤติกรรมของจิตตัวเองเรื่อยๆ ไป จิตจะเป็นกลางด้วยสติ พอรู้เรื่อยๆ ไป ต่อไปก็เป็นกลางด้วยปัญญา พอเป็นกลางด้วยปัญญา จิตจะหมดความดิ้นรนปรุงแต่ง จิตจะพ้นจากภพ แล้วสัมผัสพระนิพพาน
Photo by : Unsplash
25 บันทึก
37
22
28
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
25
37
22
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย