Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
17 ต.ค. 2021 เวลา 04:02 • หนังสือ
บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 48) ✴️
🌸 ผู้ภักดีเห็นศัตรูผู้จะถูกทำลาย 🌸
⚜️ โศลก 2️⃣4️⃣➖2️⃣5️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 143–144
◾ทุกสิ่งที่สัมพัทธ์ คือ การสำแดงของอุตมสัจจะเดียวกัน ◾
#โยคีระลึกอยู่เสมอว่า ‘จิตทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว’ ‘ความโน้มเอียงทั้งฝ่ายกามคุณและฝ่ายญาณปัญญา’ ในมนุษย์นั้น #ล้วนสัมพันธ์ฉันญาติกับอุตมจิตเดียวกัน (อ้างถึงสัญลักษณ์ในประโยคนี้ ภารตะเป็นบรรพบุรุษของทั้งฝ่ายเการพ และปาณฑพ)
⏺️ เมื่อขาดแสงสว่างก็คือมืด เมื่อขาดความมืดย่อมมีแสง ⏺️ ทำนองเดียวกันเมื่อขาดการควบคุมตนก็คือความอ่อนแอ ขาดความอ่อนแอก็คือการควบคุมตน — ในแง่นี้เราจะเข้าใจได้ว่า “ทวิภาวะ” หรือ ดีกับชั่ว ก็คือ #การแสดงความแย้งกัน (บวกกับลบ) #ในความเป็นหนึ่งเดียว นั่นคือ ✨พระเจ้า✨
โดยรวมแล้ว ลักษณะหรือพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนก็คือ ‘นิสัยทั้งหมดของเขา’ นิสัยเหล่านี้ ทั้งดีและเลว #เกิดจากการหล่อหลอมจิตของบุคคลผู้นั้น_ด้วยการคิดซ้ำๆ และ #การกระทำที่เกิดจากความคิด
ถ้าจิตนั้น “คิดและฝัน” ไปในทางเลว เขาต้องคิดให้แตกต่างไป เพื่อจะได้หล่อหลอมนิสัยดี – “ความคิดดี”กับ “ความคิดเลว” ก็คือ #สภาพฝันที่แตกต่างของจิต ถ้าจิตฝันถึงสิ่งที่สวยงามก็ย่อมดีกว่าการฝันร้าย – จิต คือ จินตนาการ เป็นความอ่อนไหว เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ง่าย มันสามารถคิดและฝันให้เป็นอย่างไรก็ได้
กล่าวกันว่า เมื่อจิตของผู้ภักดีตกต่ำ “จิตนั้นควบม้าผัสสอินทรีย์อย่างตามืดตามัววิ่งไปอย่างไร้การควบคุม” เมื่อจิตมนุษย์เคลื่อนสู่วิญญาณ มันจะไปถึง “ปัญญาภาวะ” ที่ฝึกแล้วอย่างดี
✨ เมื่อจิตเป็นหนึ่งเดียวกับวิญญาณจะเรียกว่า “กฤษณะ, ราชาผู้อยู่เหนืออินทรีย์” หรือ “พระผู้ไถ่, กุฏัสถะ หรือ จิตพระคริสต์ในมนุษย์” คือ #ภาพสะท้อนอันบริสุทธิ์แห่งบรมวิญญาณ สารถีผู้นำจริตฝ่ายปัญญาอันได้ชัยชนะไปสู่อาณาจักรแห่งอนันตภาพ ✨
⏺️ ‘เมื่อจิตมนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับอหังการ’ เรียกว่า ภาวะ “ภีษมะ”
⏺️ ‘เมื่อจิตเป็นหนึ่งเดียวกับจริตในอดีต’ เรียกภาวะนี้ว่า “โทรณ-สังสการ” หรือ ภาวะอนุสัยที่แฝงอยู่
⏺️ ‘เมื่อจิตนำทุกส่วนของวิญญาณต่อต้านความเพลิดเพลินทางผัสสะ’ เรียกภาวะนี้ว่า “สัญชัย” หรือ ภาวะแห่งการใคร่ครวญ
⏺️ ‘เมื่อจิตของผู้ภักดีพร้อมที่จะทำสมาธิ เย้ยหยันการหลับ’ ก็จะถึงภาวะ “อรชุน-คุฑาเกศ” ซึ่งเป็นภาวะการควบคุมตนด้วยตบะแน่วแน่ — “อรชุน-ปารถ” เป็นภาวะจิตที่ผู้ภักดีน้อมไปสู่ความโน้มเอียงทางมนินทรีย์ (เการพซึ่งเป็นญาติ) จึงจำเป็นต้องเตือนให้รู้ว่าอรชุนเป็นบุตรของ ปฤถา★ (อีกชื่อหนึ่งของกุนตี) ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจการวางเฉย หรือ การละวาง อรชุน จึงควรกระทำให้ถูกต้องอย่างไม่ยอมจำนนต่อสัญชาตญาณตามธรรมชาติ
★ปารถ หมายถึง “บุตรของปฤถา” อ่านคำอธิบายความหมายสัญลักษณ์ของปฤถาในอรรถาธิบาย บทที่ 2:3
#ความเป็นทวิภาวะของจิต รากเหง้าของความดีความเลวทั้งหลาย ซึ่งมาจาก “บรรพบุรุษเดียวกัน” นั่นคือ ‘อุตมภาวะ’ หรือ ‘จิตจักรวาล’ #เป็นสาเหตุทำให้ผู้ภักดีเจ็บปวดอยู่กับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ภควัทคีตาอันเป็นคัมภีร์ที่ครอบคลุมจิตวิทยา และอภิปรัชญา #ได้พรรณนาประสบการณ์นานาที่จะเกิดแก่ผู้เดินทางในวิถีจิตวิญญาณ_สู่การหลุดพ้น
🛑 จนถึงจุดนี้ #การทำสมาธิภาวนาจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ในภาวะด้านบวกที่ผู้ภักดีต้องขวนขวายไปให้ถึง
โศลกต่าง ๆ ที่จะตามมาไปจนจบบทที่ 1️⃣ และส่วนต้น ๆ ของบทที่ 2️⃣ — มี “คำเตือน” ให้ตระหนักถึงภาวะด้านลบที่จะมาข่มขู่ผู้ภักดีให้หันเหไปจากเป้าหมายของตนว่า “เมื่อรู้ล่วงหน้า พึงติดอาวุธเตรียมไว้” #ผู้ภักดีที่เข้าใจเส้นทางนี้_จะต้องก้าวไปอย่างไม่หวั่นไหวหรือท้อแท้ #เมื่อพบอุปสรรคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ผู้ภักดีที่แท้ไม่แต่วางใจในพระเจ้าเท่านั้น เขายังบูชาพระองค์ด้วยญาณปัญญาและความเข้าใจ — การศรัทธาอย่างหลับหูหลับตาไม่ใช่สิ่งที่พระองค์ผู้ทรงความสูงสุดรับไม่ได้ #แต่มันเป็นรูปแบบจิตวิญญาณที่ต่ำลงมา
มนุษย์ได้รับพรให้มีญาณปัญญา มีเหตุผล และมีอิสระในการเลือก จึงควรบูชาพระผู้ทรงสร้างด้วยความจริงและความเข้าใจ พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเห็นมนุษย์บุตรของพระองค์ที่ทรงสร้างตามฉายาของพระองค์ แสวงหาพระองค์ด้วยของขวัญที่ดีที่สุดที่พระองค์ประทานให้ นั่นคือ #ทิพยปัญญาที่พวกเขาได้มาแต่กำเนิด
🌟 ผู้ภักดีที่ใช้ปัญญาญาณนี้ศึกษาสารที่คีตาให้มาอย่างจริงใจ จะได้พบเพื่อนร่วมทางผู้ซื่อสัตย์ ที่ไม่แค่นำทางและให้กำลังใจเขาเท่านั้น แต่ยังคอยเตือนและปกป้องเขาอีกด้วย 🌟
(มีต่อ)
หนังสือ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย