23 ต.ค. 2021 เวลา 03:41 • หนังสือ
บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 49) ✴️
🌸 ผู้ภักดีเห็นศัตรูผู้จะถูกทำลาย 🌸
⚜️ โศลก 2️⃣6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 1)
หน้า 144 – 145
โศลกที่ 2️⃣6️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
ที่นั่น ปารถ (อรชุน) ได้เห็นนักรบทั้งสองฝ่ายที่ตั้งอยู่ — ทั้งพระอัยกา พระบิดา พระสัสสุระ พระปิตุลา พระเชษฐา พระอนุชา พระภาดา พระโอรส พระนัดดา พระสหาย และบรรดาอาจารย์
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
ด้วยปัญญาควบคุมตนอันเกิดจากสมาธิ ผู้ภักดีได้เห็นบรรดาญาติทางจิตใจ★ ทั้งที่ดีและเลวในกองทัพทั้งฝ่ายทิพยปัญญาและอินทรีย์ฝ่ายชั่ว
★ “จิตใจ” หมายถึงธรรมชาติภายในของกองทัพเการพและปาณฑพ ซึ่งเป็นการสำแดงจิตของผู้ภักดีทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ ซึ่งผู้ภักดีจะรับรู้ได้ขณะอยู่ในสมาธิใคร่ครวญ ซึ่งตรงข้ามกับการตอบสนองและการกระทำภายนอกหรือทางกายที่มันเป็นต้นเหตุ
⏺️ มีปู่ ๆ ทางจิต หรือ ความดีความชั่วของจิตอหังการที่ฝังลึก; ⏺️ มีพ่อ ๆ และพ่อตาทางจิต เช่น จริตฝ่ายบุรุษที่ไม่สนใจจริตด้านลบภายในฝ่ายสตรี (หรือลูกสาว) ของพลังชีวิตกุณฑาลินี; ⏺️ ลุงทางจิต เช่น ความเย่อหยิ่ง และความโน้มเอียงที่จะมัวเมาอยู่กับมายา; ⏺️ พี่ชายน้องชาย และลูกพี่ลูกน้องของพลังปัญญาและผัสสจริต; ⏺️ จริตของทายาททางจิต หันเหไปจากการควบคุมตนและจากอำนาจปัญญาอื่น ๆ ตลอดจนจากมนินทรีย์; ⏺️ หลาน ๆ หรือ ลูกหลานที่สัมพันธ์กับความใคร่ทั้งที่ดีและเลว; ⏺️ นิสัยที่ดี และเลวของเพื่อน และจริตที่ติดมาจากการกระทำในอดีต เหล่าอาจารย์ของวิญญาณและผัสสจริต
เมื่อผู้ภักดีผ่านสมาธิ ‘ขั้นตอนแรก’ มาถึง ‘ขั้นกลาง’ ดังที่พรรณนามาแล้วในโศลกก่อน เขาจะได้เห็นภาพชัดเจนของ #ญาติทางจิตใจทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว_ที่มาประชุมกันบนสนามรบในจิต #พร้อมที่จะทำลายฝ่ายตรงข้าม★
★หลังจากทำวิจัยมาหลายปีเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสมองและวิวัฒนาการทางชีววิทยา ดร.โรเบิร์ต ออร์นสไตน์ นักจิตวิทยาผู้สอนอยู่ที่ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานฟรานซิสโก และที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้มาถึงข้อสรุปว่า : “เป็นความหลงอย่างยิ่งที่คิดว่าบุคคลมีเพียงจิตเดียวที่อาจดีหรือเลว จิตเดียวไม่มีหรอก แต่จิตนั้นมีมากมาย เราเป็นหลาย ๆ คนรวมกัน ไม่ใช่เป็นคนเดี่ยวๆ”
และในหนังสือ Multimind: A New Way of Looking at Human Behavior (New York: Bantam Doubleday Dell, 1986) ดร. ออร์นสไตน์ยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่า : “แทนที่จะทำได้เพียงหนึ่ง ตัวปัญญาสามารถตัดสินเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่แตกต่างกันได้อย่างราบรื่น เพราะจิตมีความหลากหลายและซับซ้อน จิตเป็นที่รวมของ ‘จิตน้อย ๆ’ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างหลากหลาย หรืออาจอยู่ในรูปของ: ปฏิกิริยาที่แน่นอน ความสามารถพิเศษ ความคิดที่ยืดหยุ่น ซึ่งความแตกต่างแต่ละชนิดจะถูกนำมาใช้ชั่วครั้งคราว คือ ‘เข็นมันเข้ามาในจิตสำนึก’ – และเมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็เข็นกลับไปไว้ที่เดิม...”
จิตน้อย ๆ บางจิตที่ถูกเข็นเข้าสู่จิตสำนึกเป็นผลจากการควบคุมของศูนย์ในสมองที่หลากหลาย ศูนย์เหล่านี้พัฒนามานับล้านปีเพื่อกำหนดการเป็นไปของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตราย และโดยทั่ว ๆ ไปแล้วก็เพื่อการจัดการและวางแผน องค์ประกอบทางจิตส่วนต่าง ๆ นั้นมีลำดับความสำคัญแตกต่างกันไป
แต่บ่อย ๆ ที่มีเป้าหมายคร่อมซึ่งกันและกัน และพลอยเชื่อมโยงกับชีวิตของเราในปัจจุบันด้วย สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง หรือถ้าจะพูดให้เหมาะกว่านั้นว่า ‘มัน’ คือเรา ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นความคิดที่ดี ถ้าเราสามารถตรวจสอบรากฐานความคิดเห็นและการตัดสินใจของเรา เพื่อว่าเราจะสามารถทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้
ปัญหาของเราในฐานะปัจเจกก็คือ ส่วนมากเรากระทำอย่างอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัว เราจึงไม่รู้ว่า ‘จิตน้อย ๆ’ ส่วนไหนที่กำลังทำงานในขณะนั้น ๆ และบ่อย ๆ เราไม่สามารถเลือก ‘จิตน้อย ๆ’ ที่เหมาะ สมได้อย่างถูกที่ถูกเวลา
ดร. ออร์นสไตน์ เขียนไว้ใน The Evolution of Consciousness (New York: Simon and Schuster, 1991) ว่า : “ผู้คนสามารถเปลี่ยนทิศทางจิตของตนได้ แต่ก็เหมือนเราฝึกอ่านหรือคิดเลข ความสามารถนี้ไม่ได้มีมาตามธรรมชาติ มันเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝัง เราจึงต้องรู้ว่า ‘ใคร’ อยู่ในนั้น และเป็นคนออกคำสั่ง...”
“นับพันปีมาแล้วที่ปัจเจกบุคคลสนใจความคิดเกี่ยวกับ ‘ตัวตนอันประเสริฐ’ หรือ ‘ประสบการณ์เร้นลับ’ ทุกวันนี้ เราจำเป็นต้องรู้ว่า ประสบการณ์เหล่านี้มีความสำคัญสำหรับอนาคต และรู้ด้วยว่าสิ่งเหล่านี้อยู่ในขอบข่ายที่เราเอื้อมถึง เราอาจสร้างทำจิตหรือความคิดขึ้นมาใหม่ด้วยการ ‘โยกย้ายจิต’ ให้ไปอยู่ในที่อันควร คำเก่าแก่ที่หมายถึงการควบคุมตน...คือ #เจตจำนง ซึ่งทุกวันนี้อาจกลายเป็นคำล้าสมัยไปเสียแล้ว ถ้ามีเจตจำนง เจตจำนงนั้นจะต้องอยู่ในจิตใดจิตหนึ่งในบรรดาจิตที่แตกต่างดังที่กล่าวแล้วนั้น และนั่นคือจิตที่เราจะเรียกมาใช้... การควบคุมจิตสำนึกเป็นพลังเล็กน้อยที่อ่อนแอในบรรดาจิตทั้งหลาย และเป็นพลังที่เราสามารถพัฒนาได้ด้วยการสังเกตตนเอง”
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา