24 ต.ค. 2021 เวลา 02:57 • หนังสือ
บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 50) ✴️
🌸 ผู้ภักดีเห็นศัตรูผู้จะถูกทำลาย 🌸
⚜️ โศลก 2️⃣6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 146 – 148
❇️ สัญลักษณ์ความหมายของญาติและมิตรในวงศ์ญาติที่ทำสงครามกัน ❇️
ขอยกตัวอย่างบางชื่อของบรรดา “ปู่” ทั้งฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม หรืออหังการฝ่ายดีและฝ่ายชั่วพอให้ผู้ภักดีได้เห็น 🔼อหังการฝ่ายดีจะดึงผู้ภักดีไปสู่สมาธิและการกระทำที่ดี 🔽อหังการฝ่ายเลวจะชักนำไปทางชั่ว — บุคคลเกิดมาพร้อมกับอหังการที่ครอบงำไม่ฝ่ายดีก็ฝ่ายชั่ว #ตามการกระทำของเขาในอดีตชาติ
1
⏺️ อหังการใหญ่ หรือ “ความเป็นปัจเจก” ของบุคคลเรียกว่า “จริตของปู่” เพราะมันควบคุมจริตอื่น ๆ ทั้งหมด “ปู่” ทางจิตนี้อาจมีได้ถึงสองหรือสาม “ปู่” ในผู้ที่มีบุคลิกภาพซับซ้อนหลาย ๆ คนเป็นมนุษย์สองภาคเจคิล-ไฮด์ เนื่องจากอหังการดีกับอหังการร้ายมีพลังอยู่ในตัวพอ ๆ กัน
⏺️ จิตที่มี “จริตอย่างพ่อตา” (ทรุบท) #ที่วางเฉยอย่างยิ่ง ซึ่งเป็น “พ่อ” หรือ #ตัวกระตุ้นขดพลังชีวิตกุณฑาลินี (เทราปตี) ที่ฐานไขสันหลัง เมื่อผู้ภักดีทำให้ขดพลังชีวิตที่จักระก้นกบไหลกลับจากผัสสอินทรีย์สู่สมองโดยผ่านท่อไขสันหลัง มันจะปลุกจักระในไขสันหลัง และเมื่อพลังชีวิตที่มุ่งสู่จิตวิญญาณนี้รวมกับปาณฑพ (ธาตุ) ทั้งห้าในจักระเหล่านี้ มันจะให้กำเนิดทิพยทายาทที่กระตุ้นให้ถวิลหาพระเจ้าและรังเกียจกามคุณทั้งหลาย คุณลักษณะนี้เรียกว่า “เทราปเทยะ” (บุตรของเทราปตี) ขณะทำสมาธิ เมื่อผู้ภักดีควบคุมขดพลังชีวิตและทำให้กระแสปราณไหลกลับ จิตของเขาที่จักระไขสันหลังกลายเป็น “สามี” ของเทราปตี และเขาจะพบกับทรุบท “พ่อตา” หรือ #การวางเฉยอย่างเลิศ
⏺️ “ลุงทางจิต” คือ #จริตที่มัวเมา หลงยึดผัสสอินทรีย์ ยึดวัตถุ เป็นต้น ติดนิสัยอวดดี จิตใจคับแคบ คอยชักชวนทำให้ผู้แสวงหาจิตวิญญาณไม่ยินดีที่จะสละตำแหน่งทางสังคม และรู้สึกทนไม่ได้เมื่อผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์ว่าตนนั้นเดินบนวิถี “โง่ ๆ” สู่พระเจ้า “ลุง” เช่นนี้มักถืออำนาจตามแบบฉบับของ ‘พ่อ’ #โดยพยายามที่จะควบคุมจิตมนุษย์
ในบรรดาพี่ชายน้องชายและลูกพี่ลูกน้องนั้น มีทั้งพี่น้องปาณฑพทั้งห้าผู้เกิดจากพุทธิปัญญา กับลูกพี่ลูกน้องอีกร้อยคนที่เกิดจากมนินทรีย์อันมืดบอด ตอนแรก ๆ ลูกพี่ลูกน้องฝ่ายอินทรีย์ดูคล้ายจะเป็นมิตร เหมือนพี่น้องที่ตั้งใจดีแต่ได้ข้อมูลมาผิด ๆ จึงพยายามเกลี้ยกล่อมผู้ภักดีให้เห็นถึงความเป็นธรรมที่เขาต้องร่วมรบ
⏺️ เหล่า “บุตรทางจิต” ประกอบด้วย #คุณลักษณะทางจิตวิญญาณของผู้ภักดี_ที่เกิดจากการควบคุมตน และทายาทอื่น ๆ ของนางเทราปตี (ดังที่เอ่ยถึงมาแล้วข้างต้น) และทายาทของผัสสอินทรีย์ที่ชั่วช้า
⏺️ ส่วน “หลาน ๆ ทางจิต” ได้แก่ #ความอยาก_ทั้งที่ดีและเลว ที่แสดงออกในการปฏิบัติ ในความรู้สึก และการรับรู้สิ่งดีและสิ่งเลว
◾“มิตรสหาย” – นิสัยดี กับ นิสัยเลว◾
⏹️ “มิตรสหายทางจิต” ได้แก่ #นิสัย_ทั้งที่ดีและเลว นิสัยดีเป็นมิตรและช่วยเหลือเมื่อบุคคลกระทำดี ส่วนนิสัยเลวเป็นมิตรและช่วยเหลือเมื่อบุคคลกระทำชั่ว
⏹️ “อาจารย์ทางจิต” คือ #จริตทั้งดีและชั่วที่ติดมาจาก_นิสัยดีชั่วในชาติก่อน เป็นอำนาจผลักดันให้เกิด #นิสัย_และการกระทำดีชั่วในปัจจุบัน
🔽 จนกว่าบุคคลจะอยู่ใต้อิทธิพลของปัญญาอิสระแห่งวิญญาณ ทุกสิ่งที่เขากระทำส่วนใหญ่เป็นผลจากนิสัย หรือ เงื่อนไขและสภาพการณ์ ถ้าบุคคลติดอยู่กับอหังการเลว ๆ เป็นทาสของความใคร่ ความชอบความชัง ปฏิกิริยาของเขาก็จะไปทางผัสสอินทรีย์ ถ้าความคิดและการกระทำของเขาอยู่ใต้อำนาจของมายา เจตจำนงของเขาก็จะเป็นไปตามกรรม — ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าอานาจเหล่านี้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขให้แก่จิตและพฤติกรรมของเขา พูดได้ว่าทั้งหมดนี้คือ “#นิสัยเลว” คือกองทัพของฝ่ายเการพ
🔼 ในทางตรงกันข้าม “#นิสัยดี” คือจิตวิญญาณฝ่ายตรงกันข้าม นั่นคือ กองทัพปาณฑพ มิตรสหายและผู้สนับสนุนวิถีแห่งวิญญาณที่จะโค่นล้างความชั่วหรือธรรมชาติฝ่ายวัตถุ ผู้ภักดีที่มีศรัทธาสร้างเงื่อนไขให้แก่จิตของตน ด้วยการปลูกฝังสั่งสมคุณภาพฝ่ายจิตวิญญาณจนลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะเด่นในนิสัยของเขา เป็นที่รวมแห่งธรรมชาติของเขา เมื่อนิสัยที่ได้รับการเติมเต็มแล้วเช่นนี้ มันก็จะยอมยกสิทธิ์ให้แก่วิญญาณที่มีปัญญาเป็นผู้ปกครอง
🛑 “สมาธิ” คือ กลองศึกภายใน #ที่ปลุกเร้าทั้งนิสัยดีและนิสัยเลวจากการหลับใหลโดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ทำให้แต่ละฝ่ายเต็มใจจะเสริมกำลังของตนเพื่อชัยชนะเหนือจิตของมนุษย์ เมื่อบุคคลยอมจำนนอย่างเซื่อง ๆ อยู่ใต้อำนาจของนิสัยเลวซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายวัตถุของเขา — เขาจะไม่สังเกตเลยว่านิสัยดีที่มีอยู่ในตัวหรือธรรมชาติฝ่ายจิตวิญญาณได้พยายามขัดขวาง
จนเมื่อผู้ภักดีได้พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะปลูกฝังนิสัยดีอันได้แก่ 🔼การบำเพ็ญสมาธิภาวนา, 🔼ความสงบ, 🔼สันติสุข — #และขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ในฐานะทหารไปสู่อาณาจักรแห่งวิญญาณ เมื่อนั้นแล้ว การต่อต้านอย่างดุเดือดจากนิสัยเลวจึงเกิดขึ้น 🔽ด้วยอาการอยู่ไม่สุข, 🔽กระวนกระวาย, 🔽จิตใจไม่สงบ
สำหรับ “ผู้เริ่มต้นทางจิตวิญญาณ” ที่ปฏิบัติอย่างเต็มศรัทธานั้น ความเร่าร้อนศรัทธาทำให้เขาไม่ตระหนักถึงอำนาจการต่อต้านของนิสัยเลว นิสัยเลวก็เช่นกัน ตอนแรก ๆ มันจะไม่สังเกตว่านิสัยดีได้รุกเข้ามา ต่อเมื่อผู้ภักดี “ตั้งใจจริง” และขวนขวายอย่างสม่ำเสมอที่จะหานายพลนิสัยดีไว้ในอาณาจักรจิตของตน เมื่อนั้นแหละที่นายพลนิสัยเลวจะตกใจ และพยายามอย่างดุเดือดที่จะขับไล่ “ผู้รุกราน” ออกไป
💥 นี่คือ “สิ่งที่เกิดกับอรชุน” (#การควบคุมตนของผู้ภักดี) หลังจากกฤษณะ (การรับรู้ทางวิญญาณ) เคลื่อนราชรถนำเขาเข้ามาอยู่ในท่ามกลางกองทัพพุทธิปัญญา กับกองทัพผัสสอินทรีย์ — อรชุนมองกองทัพของทั้งสองฝ่ายอย่างครั่นคร้าม เพราะ ทหารในกองทัพเหล่านั้นล้วนแต่เป็นญาติ หรือนิสัยดีเลวที่อหังการของเขาสร้างขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่พุทธิปัญญาหนุนกองทัพนิสัยดีอยู่ แต่การควบคุมตนทำให้อรชุนรู้สึกลำบากใจ และถึงขั้นท้อแท้ ไม่อยากทำลายนิสัยเลวซึ่งเป็นญาติที่คุ้นเคย
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา