30 ต.ค. 2021 เวลา 03:45 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 51) ✴️
🌸 อรชุนปฏิเสธการต่อสู้ 🌸
⚜️ โศลก 2️⃣7️⃣ ⚜️
หน้า 149 – 151
🌸 อรชุนปฏิเสธการต่อสู้ 🌸
โศลกที่ 2️⃣7️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
เมื่อเห็นเหล่าญาติตั้งทัพอยู่เบื้องหน้า บุตรของกุนตี (อรชุน) ท่วมท้นด้วยความสงสาร จึงกล่าวอย่างเศร้าใจ :
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
เมื่ออรชุนผู้ภักดี (บุตรของกุนตี) #เห็นนิสัยเลวที่ตนรักกำลังจะถูกสังหารด้วยญาณสมาธิที่ตนได้สั่งสมมา ตบะควบคุมตนซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายบุรุษเพศกลับตกอยู่ใต้อิทธิพลของความรู้สึกซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายสตรี ด้วยอารมณ์สงสาร ผู้ภักดีจึงได้ใคร่ครวญอย่างเศร้าใจ
มนุษย์ทุกคนมีธรรมชาติ ‘หญิง–ชาย’ อยู่ในตัว
♂️ธรรมชาติฝ่ายชายหรือพลังบวก แสดงตนในลักษณะของพุทธิปัญญา การควบคุมตน การตัดสินอย่างเที่ยงธรรม คุณลักษณะที่สัมพันธ์กับเหตุผล
♀️ส่วนธรรมชาติฝ่ายหญิงหรือพลังด้านลบประกอบด้วยความรู้สึก - รัก เห็นใจ เมตตา สงสาร เบิกบาน
ในมนุษย์ที่สมบูรณ์ #พลังทั้งสองฝ่ายนี้จะสมดุลกันอย่างดี ⏺️ แต่ถ้ามีเหตุผลทว่าขาดความรู้สึก ก็จะกลายเป็นการกะเก็งวางแผนหาประโยชน์ใส่ตน เป็นความกระด้าง ช่างติ ⏺️ และถ้ามีความรู้สึกแต่ขาดเหตุผล ก็จะกลายเป็นการใช้อารมณ์อย่างมืดบอด★
★ นักสรีรูประสาทวิทยาได้จำแนกพลังเหล่านี้และความแตกต่างอื่น ๆ ระหว่างหญิงกับชาย โดยวิเคราะห์หน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าพูดอย่างรวม ๆ “สมองซีกซ้าย” – ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล และการใช้ถ้อยคำ จะทำงานอย่างแข็งขันในผู้ชาย “ส่วนสมองซีกขวา” – ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ งานสร้างสรรค์ งานอุปมาอุปไมย อารมณ์ และความรู้สึก จะทำงานอย่างแข็งขันในผู้หญิง
ดร. เดวิด ดาร์ลิงก์ ได้เขียนไว้ใน 𝗘𝗾𝘂𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻𝘀 𝗼𝗳 𝗘𝘁𝗲𝗿𝗻𝗶𝘁𝘆 (𝗛𝘆𝗽𝗲𝗿𝗶𝗼𝗻 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀: 𝗡𝗲𝘄 𝗬𝗼𝗿𝗸, 𝟭𝟵𝟵𝟯) ว่า “นับตั้งแต่สองหรือสามล้านปีมาแล้ว อวัยวะเกี่ยวกับการคิดของมนุษย์ค่อย ๆ แยกเป็นสองกิ่ง สิ่งนี้เป็นความจริงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในผู้ชาย เพราะการแบ่งขั้วกันระหว่างสมองซีกซ้ายกับซีกขวาจะปรากฏชัดเจนในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง...”
“หลาย ๆ ศาสนาในโลก ได้ให้แบบจำลองเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสมองซีกซ้ายและขวาในด้านปัญญาความรู้ ตัวอย่างเช่น ศาสนาเต๋ามีหลักการเกี่ยวกับเพศชาย ที่รู้จักกันในนาม ‘หยาง’ ส่วนอีกฟากหนึ่งคือ ‘หยิน’ พลังฝ่ายหญิง...”
ในหนังสือ 𝗧𝗵𝗲 𝗧𝗮𝗼 𝗼𝗳 𝗣𝗵𝘆𝘀𝗶𝗰𝘀 ฟริตจอฟ คาปรา ได้พูดถึงทัศนะของชาวจีนโบราณเกี่ยวกับ ‘หยาง’ ไว้ว่าเป็น “ความแข็งแรง, ผู้ชาย, พลังสร้างสรรค์” — ส่วน ‘หยิน’ นั้น “เปิดรับ, ผู้หญิง, และธาตุฝ่ายแม่”
ในโลกแห่งความคิดนั้น ‘หยิน’ คือจิตใจฝ่ายสตรี ที่มีความซับซ้อน มีสหัชญาณ ส่วน ‘หยาง’ คือสติปัญญาของชายที่กระจ่างชัด มีเหตุผล — ‘หยิน’ เป็นความนิ่งใคร่ครวญของปราชญ์ ส่วน ‘หยาง’ เป็นความเข้มแข็ง การกระทำอย่างสร้างสรรค์ของกษัตริย์
ที่ตรงกันอย่างยิ่งกับโศลกนี้ในคีตา คือผลงานของมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ที่นักจิตวิทยา ปิแอร์ ฟลอร์-อองรี ได้ทำการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลักษณะที่แตกต่างของสมองทั้งสองซีก ฟลอร์-อองรี เชื่อว่า คุณลักษณะหนึ่งที่กำหนดได้ในสมองซีกซ้ายก็คือ “พลังการต่อสู้” เขากล่าวว่า ความรู้สึก อย่างเช่น ความระวังระไว ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปรากฏชัดในสมองซีกขวา
เจ. ซี. คอลลินส์ นักเขียนชาวอังกฤษเคยกล่าวไว้ว่า “ครึ่งหนึ่งของความผิดพลาดในชีวิตของเราเกิดจากการใช้ความรู้สึกทั้ง ๆ ที่ควรจะคิด และเกิดจากการคิดในเวลาที่ควรใช้ความรู้สึก” ทั้งสมองซีกซ้ายและซีกขวา — ธรรมชาติทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย — มีทั้งลักษณะของความเข้มแข็งและลักษณะของความอ่อนแออยู่ด้วยกัน หลักฐานจากงานวิจัยไม่ได้ระบุว่าสมองซีกใดเหนือกว่าซีกใด
ดร. ดาร์ลิงก์ เขียนไว้ว่า “ในวัฒนธรรมตะวันตกสมองซีกซ้ายตื่นตัวมากกว่า หลักการฝ่ายชายจึงมีอำนาจครอบงำ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมโลกตะวันตกจึงก้าวหน้าทางเทคนิคอย่างมาก แต่ก็จนยากทางจิตวิญญาณ สมองของเราได้วิวัฒน์มาเพื่อให้เห็นทั้งสองโลกนี้ที่มีความแตกต่างแต่ก็เอื้อแก่กันและกัน อาจอุปมาได้ว่า เราแต่ละคนมีทั้งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก มีหลักหญิง - ชายอยู่ในหัว แต่ปกติแล้วฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมักมีอำนาจเหนือกว่า ไม่ว่าเราหมกมุ่นอยู่กับการใช้เหตุผลหรืออะไรทำนองนี้มากเกินไปหรือไม่ก็ตามที แต่เมื่อมองจากทัศนะของโลกตะวันออก สิ่งที่เราเป็นกันอยู่นั้นมันขาดความกลมกลืนกับธรรมชาติ ในทางตรงกันข้าม เราอาจใคร่ครวญมากเกินไปจนไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าทางวัตถุได้ วิธีคิดทั้งสองแบบนี้ จำเป็นต่อจิตมนุษย์ที่ควรต้องแสวงหาจนกว่าจะเกิดดุลยภาพ”
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
อรชุนผู้ภักดี ซึ่งในที่นี้เอ่ยอ้างถึงในฐานะ “บุตรของกุนตี” #ได้แสดงภาวะจิตของคนที่เป็นทาสของธรรมชาติ คือไม่ประพฤติในฐานะของวิญญาณแต่ทำในลักษณะของปุถุชนที่เกิดจากสตรี ยิ่งกว่านั้น การตัดสินใจที่ดีและการควบคุมตนอย่างผู้ชาย ได้เปิดทางให้แก่อารมณ์ฝ่ายหญิง เกิดสงสารกองทัพฝ่ายศัตรูขึ้นมาอย่างไม่ฉลาด ฉายาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งเตือนอรชุนให้รู้ว่า เขาควรประพฤติปฏิบัติเยี่ยงบุตรของนางกุนตีผู้ประเสริฐ (ตัวแทนของอำนาจตบะที่ใช้ สาธนา อัญเชิญความช่วยเหลือจากพลังวิญญาณได้)
◾ผู้ภักดีลังเลที่จะประหารจริตนิสัยทางโลกของตน◾
#ผู้ภักดีที่เดินตามวิถีสมาธิด้วยความหวังที่จะหลุดพ้น ตระหนักว่าเขาต้องทำลายความโน้มเอียงฝ่ายวัตถุ เพราะมันต่อต้านการใฝ่หาความสุขประเสริฐทางวิญญาณ แต่เพราะอรชุนคุ้นเคยกับจริตเหล่านี้มานาน เขาจึงสลดใจไปกับสิ่งที่ได้เห็น และเกิดสงสารญาติทางจิตเหล่านั้นที่ตนรัก
ปุถุชนไม่สงสารอหังการกระนั้นหรือ ถึงอย่างไร “นั่นก็ฉัน นั่นคือสิ่งที่ฉันเป็น” แต่คีตากำลังพูดถึง #อาตมันที่แท้_หรือวิญญาณ จึงได้เตือนศิษย์ผู้ภักดีให้ระวังการเห็นใจตามธรรมชาติซึ่งขัดกันกับวิญญาณ 🔼 เป็นการดีที่จะรู้สึกดีกับความดีในตัวของเรา 🔽 แต่จะเป็นความเลวถ้ารู้สึกไม่ดีเมื่อจะต้องทำลายล้างสิ่งที่ชั่ว
นอกเหนือจากมุนีและนักบุญแล้ว เหตุผลที่มีผู้คนเพียงจำนวนน้อยแสวงหาพระเจ้า ก็เพราะผู้คนนับล้าน ๆ ต่างเชื่อว่า ชีวิตเขาอยู่ไม่ได้ถ้าขาดความเพลิดเพลิน (ซึ่งสุดท้ายจะนำสิ่งชั่วร้ายและความทุกข์มาให้) พวกเขาเสพติดเช่นเดียวกับการเสพติดเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ คนจำพวกเดียวกันนี้ ถ้าพวกเขาจะต้องเริ่มสร้างนิสัยที่ดี เขาจะพูดว่า “เราอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่ได้ความสุขสงบจากสมาธิ ตอนนี้เราจะรู้สึกแย่มากถ้าต้องไปคลุกคลีอยู่กับสภาพแวดล้อมเดิม ๆ”
ผู้ที่ยึดมั่นอยู่กับธรรมชาติฝ่ายวัตถุ จะไม่เข้าใจว่าทำไมผัสสอินทรีย์ที่ให้ความเพลิดเพลินนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อความสุขแห่งบรมวิญญาณ พวกเขาถามว่า “พระเจ้าประทานอินทรีย์สัมผัสมาให้มนุษย์ทำไมถ้าไม่อยากให้มนุษย์มีความสุขกับมัน” (คำถามนี้คงทำให้ชาววัดผู้รักสันโดษ ‘อึ้ง’ ไปเลยทีเดียว❗)
เหตุผลทางอภิปรัชญา ที่มนุษย์ต้องควบคุมตนนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าเป็นหน้าที่ของจิตวิญญาณที่ต้องการนำความเกษมสุขมาสู่มนุษย์ เช่นเดียวกับที่บุคคลต้องลงทุนเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ให้มากขึ้น ผู้ภักดีไม่ปล่อยตัวไปกับความเพลิดเพลินทางวัตถุ ก็เพื่อจะได้รับความบริสุทธิ์เบิกบานแห่งบรมวิญญาณในสมาธิ
มนุษย์คือฉายาลักษณ์ของพระเจ้า เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ซ่อนอยู่ในเมล็ด ในตัวของมนุษย์ก็มีพรประเสริฐแห่งบรมวิญญาณแฝงอยู่ เมล็ดพันธ์ที่ถูกเผาไฟไม่อาจเพาะพันธุ์ได้ฉันใด เมื่อเมล็ดพันธุ์แห่งจิตถูกไฟแห่งความใคร่ในวัตถุเผา ทิพยพฤกษ์ แห่งความสุขก็ไม่มีโอกาสงอกได้ฉันนั้น
การควบคุมตนจึงไม่ใช่การทรมานตน แต่เป็นการนำไปสู่ความสุขทางวิญญาณ ด้วยการดึงจิตไม่ให้ไหลไปกับความไร้สาระของสุขผัสสะ เพื่อมนุษย์จะได้เข้าสู่อาณาจักรอันไพศาลแห่งความสุขไร้ที่สิ้นสุด แต่กระนั้นเล่ห์ร้ายของอหังการชั่วกลับนำมนุษย์ไปอีกทาง
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา