Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
24 ต.ค. 2021 เวลา 15:20 • ปรัชญา
"สมาธิมี 2 แบบ"
1) จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข สำหรับพักผ่อน
2) จิตตั้งมั่น สำหรับเจริญปัญญา ทำได้ 2 แบบ
1. รูปฌาน ( วิธีมาตรฐานสูงสุด )
2. อาศัยสติรู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฏ
( อนุโลมอนุเคราะห์ให้คนซึ่งเข้าฌานไม่ได้ )
" ... เบื้องต้นฝึกรักษาศีลให้ดี
แล้วก็ฝึกสมาธิให้ดี สมาธิมี 2 อันที่เราจะฝึก
อันหนึ่งฝึกให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข
ได้พักผ่อน ไม่ได้น้อมไป
รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ มีสติ มีจิตตั้งมั่นอยู่
แล้วก็อยู่ในอารมณ์อันเดียว
ให้จิตมันรวมลงไปเอง
จิตมันรวมสงบลงไป สงบ สว่างขึ้นมา
ผ่องใส แต่ไม่สะอาด
สงบ สว่าง แต่ยังไม่สะอาด
ตัวที่ทำให้สะอาดคือตัวปัญญา
1
สมาธิอีกอันหนึ่งก็คือ สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น
เอาไว้เจริญปัญญา
วิธีฝึกจิตให้ตั้งมั่นทำได้ 2 แบบ
แบบที่หนึ่งเข้าฌาน จนถึงฌานที่ 2 วางวิตก วิจารลงไป
ตราบใดที่ยังมีวิตก ยังมีวิจารอยู่
จิตผู้รู้ยังไม่เกิดขึ้นในฌาน
พอวางวิตก วางวิจาร นี้มันของนอก
จิตมันทวนเข้ามามีปีติ มีความสุข
มันเห็นปีติเกิด ความสุขเกิด จิตเป็นคนรู้คนดู
2
จิตไม่ตรึก จิตไม่ตรอง ตรึกก็คือนึกถึง
จิตไม่นึกถึงอารมณ์กรรมฐาน
จิตไม่เคล้าเคลีย เรียกว่าวิจาร
จิตไม่เคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน
จิตวางอารมณ์กรรมฐาน
มันทวนกระแสเข้ามาที่ตัวรู้ ตัวรู้มันจะเด่นดวงขึ้นมา
ฉะนั้นในฌานที่ 2 ในพระไตรปิฎกท่านจะเขียนไว้
ถึงฌานที่ 2 จะเกิดเอโกทิภาวะขึ้น
เราไปเรียนบางทีเราละทิ้งพระสูตรกัน
เอาแต่อภิธรรม
พอละวิตกได้ได้ฌานที่ 1
ละวิจารได้ได้ฌานที่ 2
ละปีติได้ได้ฌานที่ 3
ละสุขได้ได้ฌานที่ 4
จิตไปทรงอุเบกขาอยู่เป็นฌานที่ 5 อะไรอย่างนี้
ค่อยๆ ละไปทีละตัวๆ อันนั้นเรียนตามทฤษฏี
1
เรียนการปฏิบัติต้องดูจากพระสูตร
พอวางวิตกวิจารมันจะเกิด เอโกทิภาวะขึ้น
ภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ก็คือภาวะของจิตผู้รู้นั่นเอง
จิตมันตั้งมั่นเป็นหนึ่งขึ้นมา นั่นเป็นวิธีที่หนึ่ง
วิธีมาตรฐานสูงสุดในการฝึกให้ได้ตัวผู้รู้
...
อีกวิธีหนึ่งอนุโลมอนุเคราะห์ให้คนซึ่งเข้าฌานไม่ได้
อาศัยสติรู้ทันสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
อย่างความฟุ้งซ่านความคิดมันเกิดขึ้น
เรามีสติรู้ทันว่าจิตหลงคิด จิตคิดจะดับ จิตรู้จะเกิด
จะเกิดเป็นขณะๆ ไป
จิตโกรธขึ้นมา เรามีสติรู้ว่าจิตโกรธ
จิตโกรธจะดับจิตรู้จะเกิด
จิตมีความสุขเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน
ถ้าเป็นความสุขที่เกิดจากราคะ มันจะดับ
แต่ถ้ามันเป็นความสุขที่เป็นกุศล ไม่จำเป็นต้องดับ
เพราะจิตมันเป็นกุศลมันมีความสุขอยู่ด้วยตัวของมันเองได้
ทันทีที่รู้ว่าจิตมีความสุข
จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ขึ้นมาอัตโนมัติ
ฉะนั้นหัดรู้สภาวะไว้ ร่างกายขยับอย่างนี้
รู้สึกถึงร่างกายที่เคลื่อนไหว ผู้รู้มันก็เกิดขึ้นมา
ฉะนั้นจิตผู้รู้วิธีที่สองนี้
ก็คือการที่อาศัยสติรู้ทันสภาวะ
สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
รูปกำลังเคลื่อนไหวเรามีสติอยู่ ตัวรู้มันจะเกิด
แต่ตัวนี้จะพลาดง่าย
รูปเคลื่อนไหวสติระลึกปุ๊บเพ่งปั๊บเลย
อันนี้ตัวรู้ไม่เกิด มันเกิดตัวเพ่ง
ต้องระวังขยับแล้วรู้สึก ขยับแล้วรู้สึก
เห็นท้องพอง เห็นท้องยุบ มีสติรู้ท้องพอง มีสติรู้ท้องยุบ
จิตลงไปเพ่งอันนี้ตัวรู้ไม่เกิด
จะเกิดสมาธิชนิดที่หนึ่ง สงบไปเฉยๆ
หรือบางทีฝึกให้มันเครียดจัดๆ
ทำกรรมฐานให้เครียดจัด ในที่สุดจิตดับ
อันนั้นก็เป็นสมาธิชนิดที่ไม่ดีเลย เป็นพรหมลูกฟัก
สงบก็ไม่สงบ จิตมันหายไป ใช้ไม่ได้
จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ถึงจะแยกขันธ์ได้
สิ่งเหล่านี้เราก็ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ทำความเข้าใจ
หลวงพ่อเทศน์เรื่องเหล่านี้เอาไว้มากมาย
พวกเราไปทบทวนไปฟังดู
เพื่อเราจะได้มีสมาธิที่ถูกต้อง
สมาธิที่จิตสงบในอารมณ์อันเดียวเอาไว้พักผ่อน
เวลาเราเดินปัญญาไปจิตมันจะเหนื่อย
แล้วกลับมาทำความสงบมาอยู่กับพุทโธ
อยู่กับลมหายใจไป หรืออยู่กับท้องพองยุบ
อยู่กับการเคลื่อนไหวร่างกาย อะไรก็ได้ที่เราถนัด
อยู่แล้วมีความสุขก็ใช้ได้หมด เป็นสมาธิที่จิตสงบ
1
อีกอันหนึ่งก็คือรู้ทันสภาวะไป จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้
จะเห็นอย่างร่างกายเคลื่อนไหวจิตเป็นคนรู้
ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน จิตเป็นคนรู้
ร่างกายหยุดนิ่งจิตเป็นคนรู้
ร่างกายหายใจออกหายใจเข้า จิตเป็นคนรู้
ค่อยๆ แยกขันธ์ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ มันถึงจะแยกขันธ์ได้
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้แยกขันธ์ไม่ได้จริงหรอก
ชอบพูดกันเรื่อยเปื่อย คนนั้นได้ญาณโน้นญาณนี้
ได้นามรูปปริจเฉทญาณอะไรอย่างนี้
จิตไม่ได้เป็นผู้รู้ไม่สามารถแยกขันธ์ได้
หลวงตามหาบัวท่านถึงพูดฟันธงเลยว่า
“ถ้าแยกธาตุแยกขันธ์ไม่ได้
อย่ามาคุยอวดเราว่าเจริญปัญญา”
ตรงแยกธาตุ แยกขันธ์ได้ จิตมันต้องตั้งมั่น
เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้เอง
หลวงพ่อภาวนาหลวงพ่อได้ตัวผู้รู้
ตั้งแต่ยังไม่เจอหลวงปู่ดูลย์
ได้มาแต่เด็กๆ ตั้งแต่ 10 ขวบ
ไฟไหม้ข้างบ้าน ตกใจแล้วเห็นว่าตกใจ
มันย้อนมาเห็นความตกใจแทนที่จะไปเห็นไฟไหม้
ย้อนมาเห็นจิตที่ตกใจ
จิตที่ตกใจดับปุ๊บตัวรู้เด่นดวงขึ้นมาเลย
โอ๊ย ตัวนี้เคยเห็นมาแล้ว ตอนนั่งสมาธิเราก็เห็นอยู่
1
มาเจอหลวงปู่ดูลย์ท่านสอนเดินปัญญา
พอจิตมันตั้งมั่นแล้วมันเดินปัญญาได้ง่ายไม่ยากแล้ว
ของเราที่มันยังเดินปัญญากันไม่ได้จริง
เพราะจิตยังไม่ตั้งมั่นจริง
ฉะนั้นเราต้องฝึกให้จิตเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ขึ้นมา
อันนี้ก็ไม่ใช่หลวงพ่อโมเมเอาเอง
ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อ
ท่านก็สอนเรื่องสมาธิ 2 อย่างนี้
คือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
1
ถัดจากหลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อไปเรียนกับหลวงปู่เทสก์
เรียนกับหลวงปู่ดูลย์อยู่ซักค่อนปี
แล้วขึ้นไปกราบหลวงปู่เทสก์
ตอนนั้นเราไปด้วยความมั่นใจแล้วว่าเราภาวนา
ครูบาอาจารย์บอกภาวนาเป็นแล้ว
ถึงออกไปดูครูบาอาจารย์องค์อื่น
หาประสบการณ์
หลวงปู่เทสก์จะสอนอยู่เรื่อยๆ เรื่องฌานกับสมาธิ
เรื่องจิตกับใจ ท่านสอนอยู่ 2 อันนี้เป็นหลักเลย
ฌานกับสมาธิ ก็คือสมาธิ 2 ชนิด
สมาธิอันหนึ่งมันเพ่งอารมณ์
หลวงปู่เทสก์ท่านเรียกว่าฌาน
ถ้าภาษาปริยัติจริงๆ ก็เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน
การเพ่งอารมณ์
1
ส่วนสิ่งที่ท่านเรียกว่าสมาธิ
ภาษาปริยัติเขาเรียก ลักขณูปนิชฌาน
จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
แล้วก็เห็นสภาวธรรมเกิดดับเปลี่ยนแปลงไป
เห็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฏ
1
ท่านก็สอน คนไปฟังก็ฟังไปอย่างนั้น
ไม่ค่อยเข้าใจที่ท่านบอกกัน
ไม่ลงมือทำจริงๆ ไม่รู้เรื่องหรอก
ท่านสอนเรื่องฌานกับสมาธิ แล้วสอนเรื่องจิตกับใจ
จิตยังเป็นส่วนของขันธ์อยู่
คือตัววิญญาณในขันธ์ 5 นั่นล่ะ
แล้วภาวนาเรียนรู้ขันธ์ 5 แจ่มแจ้งในขันธ์ 5
จิตปล่อยวางขันธ์ 5 ได้
มันก็จะเข้ามาที่หลวงปู่เทสก์เรียก ใจ
ตัวนี้หลวงตามหาบัวท่านเรียก 'ธรรมธาตุ'
สมเด็จพระญาณสังวรฯท่านเรียก 'วิญญาณธาตุ'
หลวงปู่เทสก์เรียกว่า 'ใจ'
ท่านพุทธทาสเรียกว่า 'จิตเดิมแท้'
หลวงปู่ดูลย์เรียกว่า 'จิตหนึ่ง'
หลวงปู่บุดดาท่านเรียกว่า 'ใจเดียว'
คือสภาวะอันเดียวกัน
แต่ภาษาที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้เรียกก็แตกต่างกันไป ... "
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
16 ตุลาคม 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
รักษาศีล ฝึกสมาธิ เจริญปัญญา
ลงมือปฏิบัติจริงๆ ทิ้งไม่ได้เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา พอเราฝึกรักษาศีลให้ดี สมาธิมันก็ฝึกง่าย ศีลเสียสมาธิก็ไม่มี แตกหมด
Photo by : Unsplash
29 บันทึก
38
14
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
29
38
14
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย