“เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย … สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น”
ข้อสังเกต : เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย
จะบัดเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
คือ ความเป็นกฏตายตัวแห่งธรรมดา
คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย
สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ
ซึ่งธรรมธาตุนั้น
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้
ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
ท่านทั้งหลายจงมาดู
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี
เพราะวิญญานเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญานย่อมมี
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารย่อมมี
...
เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อันเป็นตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
เป็นอวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็นอนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย
สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น
ธรรมนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น
.
อ้างอิง :
อิทัปปัจจยตาในปฏิจจสมุปบาท