Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2021 เวลา 05:24 • ปรัชญา
"กิเลสซ้อนกิเลสของนักปฏิบัติ"
" ... ตรงนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนควรเรียนรู้เลยนะ
เรื่องของสิ่งที่เรียกว่า "มหาบุรุษวิตก"
ข้อแรกเลย ความมักน้อย
ความมักน้อย เป็นอย่างไร ?
เป็นกิเลสข้อแรกเลยที่ต้องละ ก็คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักน้อย
ก็ไม่ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นผู้มักน้อย
คือ ไม่โอ้อวดนั่นเอง
เป็นกิเลสตัวหยาบเลย
แล้วนักปฏิบัติส่วนใหญ่จะเจอตัวนี้ก่อนเลย
คือ ความโอ้อวด
1
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษ
ก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าตัวเองเป็นผู้สันโดษ
เป็นผู้สงัด
ก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นผู้สงัด
เป็นผู้มีความเพียร
ก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นผู้มีความเพียร
เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
ก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นผู้มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้มีจิตมั่นคง
ก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นผู้มีจิตมั่นคง
เป็นผู้มีปัญญา
ก็ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นผู้มีปัญญา
เพราะฉะนั้น อันนี้กิเลสตัวเป้ง
ของนักปฏิบัติส่วนใหญ่
พอปฏิบัติถึงจุดหนึ่ง ก็จะต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้นะ
เพราะฉะนั้น เราปูให้ถูกต้องแต่แรกเลย
คุณธรรมข้อแรกคือ ความมักน้อย
ไม่ได้ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นรู้คุณธรรมของตนนั่นเองนะ
เพราะฉะนั้น อันนี้ก็จะเน้นเรื่องนี้ให้มากขึ้น
เพื่อให้พุทธบริษัทเราได้เรียนรู้
เพราะว่าที่ผ่านมาจะเห็นมากในการปฏิบัติต่าง ๆ
หลายคนก็จะเริ่มเจอกิเลสตัวนี้แต่ไม่รู้ตัว
พอถึงจุดหนึ่งเรารู้ธรรมะมาก
เราก็ไปโต้เถียงบ้าง ไปข่มเขาบ้าง
คือถ้าเราไม่มีคุณสมบัติข้อแรก
คือความมักน้อยนี่
กิเลสตามมาเพียบเลย
1
ความโอ้อวด มานะทิฏฐิ ความถือตัวถือตน
เรื่องความยึดมั่นถือมั่น
มันเป็น กิเลส ที่พองโตในสายการปฏิบัตินั่นเอง
แต่ถ้าเรารู้ตั้งแต่แรก
เราเพียรชำระตรงนี้ออก ขัดเกลา
เป็นผู้มักน้อย รอดตัวได้
ไม่งั้นปฏิบัติไปกิเลสซ้อนกิเลส
ตัวเองนี่แหละที่จะหลอกตัวเอง
ไม่มีใครหลอกเราได้ร้ายกาจเท่า
จิตของเราเองที่หลอกตัวเอง
เพราะฉะนั้น คุณธรรมมหาบุรุษวิตกนี่
พยายามตรึกนึกอยู่ตลอดเวลา
ทบทวนเรื่องของความเป็นผู้มักน้อย
การปฏิบัติเป็นไปเพื่อการขัดเกลาตนเอง
การใช้ศัพท์ธรรมะที่โลดโผนอย่าไปใช้
พูดเรื่องเรียบ ๆ ง่าย ๆ ธรรมดา
ธรรมะ เป็นเรื่องของความเรียบง่าย
เป็นธรรมดา
คืนสู่ความเป็นกลางของธรรมชาติ
ยิ่งเป็นชีวิตคฤหัสถ์ฆราวาสข้างนอก
ปฏิบัตินี่คนอื่นยังไม่รู้เลยว่าเราเป็นนักปฏิบัติ
ใช้ชีวิตปกตินั่นเอง
ถ้าเรายังปฏิบัติแล้วเรายังต้องวางท่า
ให้คนอื่นเขารู้สึกว่าเรานี่เป็นนักปฏิบัตินะ
เป็นผู้มีศีลมีธรรมนะ
นี่กิเลสข้อแรกเลย
กิเลสตัวหยาบ ความเป็นผู้มีความปรารถนามาก
คือ โอ้อวด มีมายา
ก็จะตามมาด้วยความถือตัวถือตนต่าง ๆ
สุดท้ายก็ กิเลสซ้อนกิเลส
ใจเราเอง
ที่มันหลอกตัวเองอยู่เสมอ
ทุกคนมีกิเลสที่ต้องขัดเกลาอยู่แล้ว
พระองค์ได้วางแบบแผน
ของการขัดเกลาไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
เราก็เรียนรู้ฝึกฝนขัดเกลา
สิ่งนี้จะนำมาถูกเน้นมาก
เพราะว่าต้องวางให้ถูกตั้งแต่แรก
แล้วก็เน้นถึงความเป็นแก่น
การปฏิบัติจะได้ตรงทางตรงธรรม
ไม่หลุดออกไปนั่นเอง ... "
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
กิเลสซ้อนกิเลสของนักปฏิบัติ | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 205
Photo by : Unsplash
4 บันทึก
14
11
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
4
14
11
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย