Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิต ∙ อิคิ ∙ 生き : ใช้ชีวิตแบบที่อยากมีชีวิต
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2021 เวลา 11:35 • หนังสือ
======================
“สัปดาห์ละบทสองบท” || วันพุธ
======================
💶• MON€Y LECTURE
✍🏻• ลงทุนศาสตร์ เขียน
🔖• บทที่ 1 เงินคือสิ่งสำคัญของชีวิต 📝• บันทึกใจความแบบดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป พร้อม Note ของ ตัวเองที่จดบันทึกความคิดที่ได้จากการอ่าน
[ MON€Y LECTURE ]
======== ปฐมนิเทศ ========
เราใช้เวลาประมาณหนึ่งส่วนสี่ของชีวิตไปกับการเรียนหลายสิบปี แต่เรามีโอกาสได้เรียนวิชาบริหารการเงิน [ ส่วนบุคคล ] ในชั้นเรียนอย่างจริงจังน้อยมาก ดังนั้นเมื่อมาใช้ชีวิตจริง ๆ หลายคนกลับตกม้าตาย
เราหนีเรื่องเงินไม่ได้ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกทุนนิยม ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุก ๆ คนไม่ควรมองข้าม
[ อิคิ ∙ 生き’s Memo ] อิคิ ∙ 生き เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ถ้าเราหนีเรื่องเงินไม่ได้ เราก็ควรที่จะต้องมีทักษะในการบริหารเงินมาทดแทน เพื่อเราจะได้อยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างผาสุขตามอรรถภาพที่เราต้องการ
[ MON€Y LECTURE ]
================
ทำไมเราต้องรู้เรื่องเงิน
================
จริง ๆ แล้วการเงินส่วนบุคคลก็เหมือนกับการทำธุรกิจ ในการก่อตั้งธุรกิจเราควรต้องทราบว่าเราจะตั้งบริษัทไปเพื่ออะไร การเงินส่วนบุคคลก็เช่นเดียวกัน เราควรต้องเริ่มต้นที่จุดประสงค์ก่อนว่าจุดมุ่งหมายของเราคืออะไร
[ อิคิ ∙ 生き’s Memo ]
อิคิ ∙ 生き เห็นด้วยกับผู้เขียนค่ะ ชีวิตก็เหมือนกับธุรกิจ การที่เรารับรู้ว่าชีวิตของเรานั้นมีอยู่เพื่อการใด อะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิตสำหรับเรา จะทำให้เราสามารถบริหารการเงินได้ดียิ่งขึ้น
เราจะได้ทราบว่า เป้าหมายด้านการเงินของเราคืออะไรบ้าง แต่ละเป้าหมายมีมูลค่าที่เหมาะสมเท่าไหร่ [ อิคิ ∙ 生き ใช้คำว่าเหมาะสม เพราะความเหมาะสมของเราแต่ละคนย่อมไม่เท่ากันค่ะ ] ที่สำคัญเราจะได้ประมาณการณ์ได้ว่าเราต้องใช้เวลาหาเงินนานแค่ไหน
การมีวัตถุประสงค์ในชีวิตที่ชัดเจน จะทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายด้านการเงินที่ชัดเจนตามไปด้วย ส่ิงนี้จะทำให้เราบริหารทรัพยากรชีวิตได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะทรัพยากรที่เรียกว่าเวลาและความสัมพันธ์กับผู้คน
ที่สำคัญเมื่อเราไปถึงจุดหมายปลายทางแล้วเราจะได้ไม่พบกับความว่างเปล่าและบอกกับตัวเองได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ!!!!
[ MON€Y LECTURE ]
หัวใจหลักของการทำธุรกิจมี 3 ข้อ ได้แก่
1. สร้างกำไร
2. สร้างกระแสเงินสด
3. อยู่รอดได้
[ MON€Y LECTURE ]
==========
① สร้างกำไร
==========
ไม่ว่าบุคคลหรือบริษัท เป้าหมายพื้นฐานระดับแรกที่เราต้องคำนึงถึงย่อมเป็นเรื่องกำไร หากเป็นการเงินส่วนบุคคล จะเขียนสมการได้ดังนี้
กำไรสุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย
หากเราหารายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย กำไรหรือเงินเก็บของเราจะเพิ่มพูนในระยะยาว ในทางกลับกันถ้าเราหารายได้ได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย ทุนรอนของเราก็จะค่อย ๆ ร่อยหรอจนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน
ส่ิงแรกที่เราต้องรู้คือ เรามีกำไร หรือในแต่ละเดือนเรามีเงินเหลือหรือไม่ นี่คือเหตุผลสำคัญที่เราต้องจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย เพราะตัวเลขเหล่านี้จะทำให้เรารู้สถานะทางการเงินของเราได้ว่า ในแต่ละเดือนเรามีกำไรหรือไม่ หรือต้องใช้เวลาแค่ไหนเราถึงจะกลับมามีกำไรได้
การสร้างกำไรจึงเป็นการมุ่งหมายส่วนต่าง สะสมเงินเก็บที่มาจากการมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เพื่อเป้าหมายในชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว การเรียนรู้วิธีบริหารเงินจึงเป็นการวางเป้าหมายให้ชัดเจน และหาทางวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย
[ MON€Y LECTURE ]
================
② สร้างกระแสเงินสด
================
จริง ๆ แล้วแม้ธุรกิจจะขาดทุนแต่ถ้ายังมีแหล่งกระแสเงินสดก็ยังอยู่รอดได้นานหลายปี แต่ถ้าธุรกิจขาดกระแสเงินสดอาจล่มสลายได้เพียงไม่กี่เดือน
[ อิคิ ∙ 生き : ปัจจุบันนี้หากหลาย ๆ ท่านติดตามข่าวคงได้ยินว่าประเทศที่ก่อหนี้จำนวนมาก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาต้องทำเรื่องขยายเพดานหนี้เป็นระยะ และแม้จะมีหนี้สินมากแต่ก็ยังเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกได้ ]
กระแสเงินสดจึงเป็นตัวแทนของสภาพคล่อง เป็นตัวแทนของความลื่นไหลสำคัญในชีวิต ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องบริหารเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด
กระแสเงินสดคงเหลือ = กระแสเงินสดเข้า - กระแสเงินสดออก
กระแสเงินสดคงเหลือในแต่ละเดือนของเราควรเหลือเพียงพอในระดับที่กินข้าวได้ หากเหลือแบบปริ่ม ๆ ก็จะทำให้เราหายใจหายคอไม่สะดวก
จริง ๆ แล้วการมีกำไรกับการสร้างกระแสเงินสดนั้นแตกต่างกัน เราสามารถกู้หนี้ยืมสินเพื่อเสริมกระแสเงินสดในยามวิกฤตได้เช่นกัน แม้ว่าการกู้ยืมเงินจะไม่ใช่รายได้ก็ตาม
หนังสือแนะนำว่าเราควรแยกกำไรออกจากกระแสเงินสดเสมอ เพื่อเข้าใจการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว และเข้าใจสภาพคล่องที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต หากเราบริหารกำไรให้สูงมาก ๆ กระแสเงินก็มักดีไปด้วย
[ อิคิ ∙ 生き’s Memo ]
อิคิ ∙ 生き มักจะเปรียบเทียบกระแสเงินสดเป็นเหมือนลมหายใจเช่นเดียวกับผู้เขียนค่ะ ถ้าเราหายใจด้วยตัวเองไม่ได้ แต่พอจะหยิบยืมเครื่องช่วยหายใจได้ เราก็จะยังพอประคองชีวิตตัวเองให้อยู่ต่อไปได้ แม้จะต้องหายใจติด ๆ ขัด ๆ บ้างก็ตาม
1
หลาย ๆ ครั้ง เมื่อพูดถึงเรื่องกระแสเงินสด หลาย ๆ คนอาจเข้าใจผิดว่าต้องมาจากเงินของตัวเองเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วถ้าสมมุติเกิดเหตุการณ์กระทันหัน ทำให้สภาพคล่องเราหดหาย และถ้าเราเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ เครดิตดี เจ้าหนี้ก็คงเต็มใจจะปล่อยกู้ ให้เราได้ต่อลมหายใจได้บ้าง
ดังนั้นสภาพคล่องไม่จำเป็นต้องมาจากเงินของเราเท่านั้นนะคะ อาจมาจากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้ยืมได้ เช่นกัน แต่เราก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ค่ะว่า สำหรับสภาพคล่องในชีวิตประจำวันการใช้เงินตัวเองนั้นเป็นวิธีที่ยั่งยืนและสบายใจที่สุด เพราะอย่างน้อยก็ไม่มีต้นทุนดอกเบี้ย ไม่มีเจ้าหนี้มาทำให้เรานอนไม่เต็มอิ่มค่ะ
และที่สำคัญ เราควรหยิบยืมในเฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น และ เรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญนะคะ เผื่อวันใดเราต้องไปตกระกำลำบาก อย่างน้อยด้วยเครดิตที่เรามีก็จะช่วยต่อชีวิตของเราให้ดำรงต่อไปได้
[ MON€Y LECTURE ]
==========
③ อยู่รอดได้
==========
วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนอันดับหนึ่งของโลกกล่าวว่า เราต้องรอจนถึงตอนน้ำลงเท่านั้นถึงจะได้รู้ว่าใครกำลังแก้ผ้าว่ายน้ำ
ผู้เขียนอธิบายประโยคข้างต้นว่า . . .
ในยามน้ำขึ้น [ เศรษฐกจิดี สภาพการเงินปกติ ] เราไม่มีทางรู้เลยว่าใครกำลังใช้ชีวิตอย่างประมาทอยู่หรือไม่ เศรษฐกิจอันดีงามก็เหมือนน้ำที่ท่วมอยู่ บดบังความจริงที่ซ่อนมิดอยู่ใต้น้ำ แต่เมื่อน้ำลง เศรษฐกิจย่ำแย่ เราจะรู้ได้เลยว่าใครกำลังแบกความเสี่ยงมหาศาลอยู่ เหมือนคนแก้ผ้าเล่นน้ำกับคนที่สวมชุดว่ายน้ำอย่างดี เมื่อมีน้ำเรี่ยคออยู่ ภาพที่เห็นบนผืนน้ำก็คงไม่ต่างกัน
ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ - หนี้สิน
เราควรมีความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกเสมอ เพราะสภาพโครงสร้างการเงินที่ดีจะช่วยให้เราผ่านวิฤตได้ การคำนวณหาความมั่งคั่งสุทธิจะช่วยให้เรามองตัวเองอย่างเป็นธรรมได้เสมอว่า เรามีความมั่นคงด้านสถานะทางการเงินมากแค่ไหน
แค่กู้ซื้อสินทรัพย์ก้อนใหญ่ เช่น บ้านหรือรถยนต์ ความมั่งคั่งก็ติดลบแล้ว
หนี้สินก็คือมูลค่าสินทรัพย์ที่กู้บวกด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นการเลือกกู้เลือกผ่อนให้ถูกที่ถูกเวลาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
[ อิคิ ∙ 生き’s Memo ]
อิคิ ∙ 生き มักจะชวนผู้คนสอบถามตัวเองว่า . . . สิ่งของหรือสินทรัพย์ที่เราครอบครอง มันเป็นของเราจริง ๆ เท่าไหร่
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเพิ่งซื้อรถ คันละ 1 ล้านบาท ดาว์น 200,000 บาท ที่เหลือกู้ยืมเอา แม้เราจะได้รถมูลค่า 1 ล้านบาทมาครอบครอง แต่เราเป็นเจ้าของรถคันนี้แค่ 20% ค่ะ ที่เหลืออีก 80% เจ้าหนี้เราเป็นเจ้าของนะคะ นี่ยังไม่รวมดอกเบี้ยที่เราต้องจ่าย หากนำมารวมสัดส่วนความเป็นเจ้าของเราก็จะลดลงอีกค่ะ
ดังนั้นในสภาพน้ำท่วม เศรษฐกิจยังดีอยู่ รายได้ของเราก็คงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นถ้าไม่มีเงินสำรอง ก็คงไม่เป็นไรค่ะ เพราะยังไงเดือนหน้าก็ได้เงินเดือน มีเงินมาจับจ่ายใช้สอย จ่ายหนี้ตามปกติ
แต่ถ้าเกิดวิกฤตการณ์อย่าง COVID-19 หลาย ๆ คนรายได้หดหายอย่างฉับพลัน หากใครไม่มีเงินสำรองก็คงเปรียบได้เหมือนกับคนแก้ผ้าอยู่ใต้น้ำอย่างที่คุณปู่วอร์เรนได้กล่าวไว้ค่ะ พอรายได้หดฉับพลัน เราก็เหลือแต่กายเปลือยเปล่าทันทีทันใด
ดังนั้น อิคิ ∙ 生き คิดว่า แม้ในยามปกติ เราก็ควรที่จะใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล ที่สำคัญต้องสำรองเงินไว้ในยามฉุกเฉินด้วยนะคะ เมื่อวิกฤตมาเยื่ยมเยือนอย่างน้อยเราก็ยังเหลือเสื้อผ้าให้ใส่และจะได้ไม่กลายเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือยกันนะคะ
[ MON€Y LECTURE ]
===============
เพื่อสำเร็จการศึกษา
===============
จริง ๆ แล้วการบริหารการเงินส่วนบุคคลนั้นเป็นศาสตร์ที่กว้างใหญ่มาก ๆ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการสรุปเฉพาะแก่นสำคัญที่สุดเท่านั้น
ผู้เรียนจะได้ประเด็นทั้งการสร้างกำไร สร้างกระแสเงินสด และอยู่รอดได้แบบครบถ้วน อีกทั้งยังเน้นการสร้างแผนการเงินเฉพาะตัวที่นำไปใช้ได้จริง
ในตอนท้ายบทจะมีแบบฝึกหัดให้ลองทำ ซึ่งผู้เขียนกล่าวว่าไม่ควรข้ามเป็นอันขาด เพราะต่อให้เรียนมากแค่ไหน หากไม่ลงมือปฏิบัติจริงเราก็จะไม่สามารถวางแผนการเงินได้ดี
[ MON€Y LECTURE ]
================
สำหรับคนที่อยากได้
เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
================
การศึกษานั้นไม่มีวันจบ ถ้าอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วชอบเราอาจหาหนังสือวิชาการด้านนี้มาอ่านเพิ่มได้ วัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็เพื่อปลุกไฟแห่งความชอบที่จะศึกษาด้านการเงินของพวกเราให้ตื่นขึ้นค่ะ
หนังสือทิ้งท้ายบทที่ 1 ไว้ว่า . . . เราทุกคนควรมีเงินออมประมาณ 6 - 12 เท่าของค่าใช้จ่ายจำเป็นด้วยนะคะ
[ MON€Y LECTURE ]
==============
แบบฝึกหัดท้ายบท
==============
1. คุณคิดว่าจะเรียนหลักสูตร Money Lecture วันละกี่นาที [ ใครที่อดทนรอ อิคิ ∙ 生き สรุปสัปดาห์ละบทสองบทไม่ไหว อิคิ ∙ 生き แนะนำให้เพื่อน ๆ ไปซื้อหนังสือมาอ่านก็เลยก็จะเป็นผลดีกับเพื่อน ๆ เช้นกันค่ะ ]
2. คุณคิดว่าจะเรียนหลักสูตร Money Lecture ภายในเวลากี่วัน
3. คุณคิดว่าตัวเองจะทำตามเป้าหมายในคำตอบข้างต้นได้หรือไม่ เพราะอะไร
#สัปดาห์ละบทสองบท #อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สัปดาห์ละ. . .บท 2 บท
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย