Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
21 พ.ย. 2021 เวลา 11:30 • ธุรกิจ
เราจะกินอะไรกันในอีก 20 ปีข้างหน้า?
5
หากย้อนเวลากลับไป แนวคิด "Future of Food" หรือ อนาคตของอาหาร เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 15 ปีที่แล้ว เมื่อมีการแนะนำอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ในสหรัฐอเมริกา ตอนนี้ในปี 2561 คำถามว่าเราจะกินอะไรและอย่างไรในอนาคตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
8
"Future of Food" หรือ อนาคตของอาหาร
ตามรายงานของ CSIRO ประเทศออสเตรเลีย ความต้องการอาหารทั่วโลก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 14% ต่อทศวรรษ ซึ่งหมายความว่า การผลิตอาหารจะต้องเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของอัตราในปัจจุบันเพื่อให้ทันการเติบโตของประชากร แล้วเราจะกินอะไรในอีก 20 ปีข้างหน้า และเราจะเลี้ยงคนมากกว่า 1 หมื่นล้านคนทั่วโลกภายในปี 2050 ได้อย่างไร
3
1
ด้วยสถานการณ์โควิดที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ อาหารการกิน ระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น
4
Bnomics จะมาชวนคิดกันว่า “แล้วพวกเราจะควรจะกินอะไรกันดีในอีก 20 ปีข้างหน้า” หรือจะมีแหล่งโปรตีนทางเลือกอย่างอื่น นอกจากเนื้อสัตว์อีกหรือไม่ Bnomics จะมาพาดูกัน
4
📌 High Protein Insects : แมลงแหล่งอาหารโปรตีนสูง
5
หลายๆ ท่านอาจยังไม่เคยชินกับเบอร์เกอร์ แป้ง และขนมขบเคี้ยวนั้น ทำมาจากแมลง แต่การกินแมลงหรือที่เรียกว่า Entomophagy อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกหลักของการบริโภคอาหารในอนาคต ซึ่งอันที่จริงแล้ว การบริโภคแมลงนั้น สามารถพบเห็นได้ทั่วไปอยู่แล้วในประเทศไทย จีน บราซิล เม็กซิโก และบางประเทศในแอฟริกา
5
เพื่อวัตถุประสงค์เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร การทำฟาร์มแมลง ถือเป็นแนวทางที่ยั่งยืนในการจัดหาแหล่งอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประชากรโลก ซึ่งแมลงที่ได้ความนิยมในการบริโภค โดยทั่วไปแล้วจะเป็นจิ้งหรีด ตั๊กแตน และหนอนใยอาหาร กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลายในด้านผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูง
7
นวัตกรรมนี้สามารถเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาได้ใน 2 ด้าน
1) จัดการกับสงครามการขาดสารอาหารในประเทศด้อยพัฒนา
2) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอาหารในประเทศตะวันตก ที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก
3
📌 Mealworm-based burgers : เบอร์เกอร์จากหนอนใยอาหาร ที่ได้รับความนิยมในสวิตเซอร์แลนด์
1
หนอนใยอาหาร ได้มีการวางจำหน่ายมาสักพักแล้วในสวิตเซอร์แลนด์ บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติสวิสชื่อ Essento ได้พัฒนาเบอร์เกอร์แมลง เพื่อการบริโภคของมนุษย์ หนอนใยอาหาร เป็นแมลงที่มีรสชาติคล้ายกับฟาลาเฟลและเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น เช่น โปรตีน กรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามิน และเส้นใย กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของสวิสฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดไว้ในเดือนพฤษภาคม 2017 อนุญาตให้ขายอาหารที่มีแมลงสามประเภท ได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด และหนอนใยอาหาร
4
1
ปัจจุบันการลงทุนส่วนใหญ่มุ่งสู่การลงทุนในธุรกิจแมลง เพื่อพัฒนาเป็นอาหารสัตว์อื่นๆ Mars Petcare ได้ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแมวที่มีแมลงเป็นพื้นฐาน คือ Lovebug และแมลงก็ยังมีการตอบรับที่ดี ในการเป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสำหรับปศุสัตว์
1
ล่าสุดบริษัทฝรั่งเศส Ÿnsect ระดมทุนได้มากถึง 225 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเปิดฟาร์มแมลงที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเมือง Amiens ซึ่งในเร็วๆ นี้จะมีการผลิตโปรตีน 100,000 ตันต่อปี
2
นอกจากนี้บริษัท Entocycle ของอังกฤษ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจำนวน 10 ล้านปอนด์ เพื่อสร้างฟาร์มตัวอ่อน Black Soldier Fly (หนอนแมลงวันลาย) นอกกรุงลอนดอน แมลงไม่เพียงแต่เป็นอาหารสำหรับคนในอนาคต แต่ยังสามารถใช้เพื่อเป็นอาหารของสัตว์ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้อีกด้วย ปัจจุบัน ประมาณ 33% ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกถูกใช้เป็นอาหารปศุสัตว์
1
📌 Allergen-free nuts : ถั่วเสือ ทางออกสำหรับคนแพ้ถั่ว
นอกจากแมลงแล้ว หากคุณหรือบุตรหลานของคุณแพ้ถั่ว เรามีทางเลือกอื่นที่มีคุณสมบัติทางโภชนาการของถั่ว โดยไม่มีปัญหาการแพ้ นั่นก็คือ ถั่วเสือ อัลมอนด์ดิน หรือ Chufa ส่วนชื่อในทางวิทยาศาสตร์คือ Cyperus esculentus พืชตระกูล กกหรือวัชพืช ซึ่งพบได้แพร่หลายในยุโรปตอนใต้ แอฟริกา และมาดากัสการ์ รวมถึงในตะวันออกกลางและในทวีปอินเดีย โดยเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวันของชาวแอฟริกาตอนเหนือและสเปน ในแอฟริกาเหนือ ผู้คนจะเน้นรับประทานอาหารแบบธรรมชาติ ในขณะที่ในสเปน ถั่วเสือนั้นจะถูกนำมาทำเป็นนมที่เรียกว่า “Horchata de chufa”
3
ถั่วเสือนั้นมีลักษณะคล้ายกับถั่วอัลมอนด์ มีรสชาติหวาน ขึ้นชื่อในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเส้นใยสูง กรดโอเลอิก วิตามินซีและอี และแร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ไม่เพียงแต่ประโยชน์ทางโภชนาการ นักโภชนาการยังกล่าวว่าถั่วเสือนั้นช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งได้อีกด้วย
5
📌 Plant-based meat Substitutes : สารทดแทนเนื้อสัตว์จากพืช
หลังจากที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจถึงผลกระทบจากการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีต่อระบบนิเวศทั่วโลกและความหลากหลายทางชีวภาพ เรากำลังก้าวไปสู่จานอาหารค่ำที่ปราศจากเนื้อสัตว์หรือไม่? เทรนด์นี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว The health-conscious generation หรือรุ่นที่ใส่ใจสุขภาพ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับออกมาเรียกร้องให้มีผลิตภัณฑ์ที่สะอาด (Clean Labeling) ซึ่งส่งผลให้หลายบริษัทก็ค่อยๆ คิดค้นและผลิตอาหารที่มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ อย่างเช่น
1
Beyond Meat: บริษัทในลอสแองเจลิสที่ทำเบอร์เกอร์จากพืชเป็นรายแรก และได้ขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ ไส้กรอกจากพืช เนื้อไก่ทำจากโปรตีนถั่วเหลืองและถั่ว และเนื้อวัวบดโปรตีนถั่ว
1
Fry Family: บริษัทจากแอฟริกาใต้ ซึ่งคล้ายกับบริษัท Beyond Meat ที่มีผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากพืชมากกว่า 15 ชนิด
Impossible Foods: บริษัท Start Up จากแคลิฟอร์เนีย ที่ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ จากการสร้างเบอร์เกอร์ที่ทำจากพืชที่ให้เสียงและความรู้สึกและมีเลือดออกเหมือนเบอร์เกอร์เนื้อปกติ และล่าสุด Impossible Burger ของบริษัทยังได้รับการรับรองเป็นโคเชอร์
1
นวัตกรรมจากพืชทั้งหมดเหล่านี้ จะช่วยลดความจำเป็นในการเลี้ยงและฆ่าโค (วัว) และปศุสัตว์อื่นๆ เพื่อการบริโภคของมนุษย์ และอาจจะช่วยลดการทารุณสัตว์ได้มาก เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จากการเปลี่ยนไปใช้สิ่งทดแทนจากพืชจะส่งผลให้ใช้น้ำน้อยลงถึง 15 เท่า ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และรักษาพื้นที่ป่าที่สวยงามของเราจากการถูกทำลายต่อไป
11
อย่างไรก็ตาม เรายังควรพิจารณาการบริโภคอาหารแปรรูปน้อยลงและการปรุงอาหารสดใหม่มากขึ้น ด้วยอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย ดังคำกล่าวที่ว่า “การมีชีวิตที่ยืนยาว ไม่ได้สำคัญเท่ากับการมีสุขภาพที่ดี”
4
#FutureofFood #FoodSecurity #BeyondMeat #CleanEnery #GMO #London #LoveBug #Sustainability #AllPlantProtein #Climatechange #GlobalWarming #Vitamins #Insects
1
ผู้เขียน : กุลเชษฐ์ เสงี่ยมพงษ์ Tech & Innovation Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference:
https://www.theguardian.com/food/2021/may/08/if-we-want-to-save-the-planet-the-future-of-food-is-insects
https://www.prescouter.com/2018/05/the-future-of-food-what-will-we-be-eating-in-20-years/
https://naturallysavvy.com/eat/tiger-nuts-are-a-great-alternative-for-those-with-nut-allergies/
อาหารสุขภาพ
โปรตีนจากแมลง
ธุรกิจอาหาร
157 บันทึก
94
15
178
157
94
15
178
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย