26 พ.ย. 2021 เวลา 03:47 • หนังสือ
✴️ บทที่ 6️⃣ ใช้ความเข้าใจเยียวยาชีวิต ✴️ (ตอนที่ 2)
มีคนถามผมอยู่บ่อยๆว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า “ความทรงจำ” ตอนไหนที่จริง ตอนไหนเป็นแค่จินตนาการหรือภาพเพ้อไปเอง น่าสนใจนะครับที่ในแง่ของการบำบัดแล้ว ข้อนี้ไม่สำคัญเลยครับ คนไข้อาการดีขึ้น อาการของโรคหายขาด แล้วการที่คนไข้กับนักบำบัดจะเชื่อเรื่องชาติภพหรือไม่ก็ไม่สำคัญอีกเช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้น ผลการสำรวจปี 𝟭𝟵𝟵𝟰 ของหนังสือพิมพ์ยูเอสทูเดย์ร่วมกับศูนย์ข่าวซีเอ็นเอ็นและแกลลัพโพลระบุว่า คนอเมริกัน 𝟮𝟳 เปอร์เซ็นต์เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งตัวเลขในวันนี้ต้องมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน และคนอีก 𝟵𝟬 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าสวรรค์มีจริง
แต่ในแง่ของหลักการเหตุผลแล้ว ข้อที่ว่านี้สำคัญทีเดียว ในฐานะของหมอและนักวิทยาศาสตร์ อาชีพแบบเราก็ย่อมอยากรู้ว่าการระลึกได้มันจริงแน่หรือเปล่า และจะมีวิธีแยกแยะได้อย่างไรว่าอันไหนเป็นความทรงจำของจริง อันไหนเป็นเพ้อฝันไปเอง
บางครั้งการแยกแยะก็แสนง่าย คนหนึ่งโชว์ให้เห็นจะจะเลยว่ามีอาการ 𝘅𝗲𝗻𝗼𝗴𝗹𝗼𝘀𝘀𝘆★ คือสามารถพูดภาษาต่างถิ่นที่เขาหรือเธอคนนั้นไม่เคยแม้แต่จะได้เรียน ซึ่งน่าจะเกิดจากการรู้มาตั้งแต่ชาติที่แล้ว
★หนังเรื่อง Stigmata มีฉากที่นางเอกพูดภาษาอาราเมอิก ภาษาโบราณที่ตายแล้วของฮีบรู ที่ใช้พูดในสมัยพระเยซู : ผู้แปล
หรืออีกกรณีหนึ่งคือเกิดจากการที่คนคนนั้นมีความสามารถได้เองจากญาณ อีกอย่างความสามารถที่เกิดจากอดีตชาติมักจะปรากฏขึ้นเฉพาะในช่วงถูกสะกดจิตระลึกชาติเท่านั้น อีกเบาะแสหนึ่งที่ชี้ชัดได้เลยก็คือคนคนนั้นจะบอกเล่าความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์บางยุคสมัยได้อย่างละเอียดยิบทั้งที่ตัวเองไม่เคยร่ำเรียนมาก่อนแม้แต่น้อย อาการของโรคทางจิตที่แปลกและผิดยุคเช่นการกลัวกิโยตีนอย่างแรงทั้งที่อยู่ในยุคปัจจุบัน แล้วตามด้วยการย้อนอดีตชาติไปเจอชาติภพสมัยศตวรรษที่ 𝟭𝟴 (ปี 𝟭𝟳𝟬𝟬-𝟭𝟳𝟵𝟵) ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ที่แข็งแรงได้อีกหนึ่งประการ
ยังมีลักษณะของความทรงจำแบบอื่นๆอีกหลายแบบที่น่าจะเป็นของจริง ความทรงจำประเภทนี้มักจะเหมือนจริงและภาพชัดเจนมากจนเกินกว่าจะเป็นแค่เพ้อฝันไปเองได้ คนที่ระลึกเห็นจะมีอารมณ์ร่วมไปกับเหตุการณ์อย่างเข้มข้นและเห็นตัวเขาหรือเธออยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย ฉากที่เห็นจะเหมือนกับเราดูหนังและคุ้นเคยกับมันมาก
ภาพอดีตชาติเป็นตัวสะท้อนรับแก่นเรื่องและปัญหาในชาติปัจจุบัน ปัญหาหรืออาการของโรค ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจจะดีขึ้นหรือหายขาดหลังจากจำชาติที่แล้วได้ เหตุการณ์จากอดีตที่เห็นจะต้องไม่ถูกปรับเปลี่ยนบิดเบือนโดยคำชี้นำใดๆจากนักบำบัดด้วยนะครับ เพราะเหตุการณ์ที่ระลึกได้มีชีวิตเป็นของตัวเอง รายละเอียดของภาพเหตุการณ์จากชาติปางก่อนจะชัดเจนยิ่งขึ้นทุกครั้งที่ย้อนอดีตซ้ำ
อีกคำถามหนึ่งที่ถามกันมามากคือเป็นไปได้ไหมว่าความทรงจำอดีตชาติมาจากความทรงจำจากกรรมพันธุ์ หรือ 𝗴𝗲𝗻𝗲𝘁𝗶𝗰 𝗺𝗲𝗺𝗼𝗿𝘆 หมายถึงความทรงจำทั้งหมดนี้เกิดจากยีนส์และโครโมโซมที่เรารับถ่ายต่อมาจากพ่อแม่ ซึ่งก็ถ่ายทอดมาจากปู่ย่าตายายอีกที ไล่ย้อนกลับไปถึงบรรพบุรุษสมัยโบราณเลย❓ ถึงแม้ว่าความทรงจำทั่วๆไปบางเรื่องอาจจะรับการถ่ายทอดผ่านกรรมพันธุ์ได้ แต่ตัวผมเองไม่เชื่อว่าความทรงจำอดีตชาติส่วนใหญ่จะได้มาด้วยวิธีนี้ มีเหตุผลหลายข้อที่ยกมาคัดง้างได้คือ :
1️⃣ คนไข้หลายต่อหลายคน ระลึกชาติที่เขาตายตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หรือ ตายทั้งที่ไม่มีลูก จึงยังไม่สามารถถ่ายโอนกรรมพันธุ์ใดๆได้เลย ความทรงจำของชาติภพที่ไม่มีลูกมักจะแจ่มชัดในรายละเอียดและเข้มข้นมาก
2️⃣ ความทรงจำที่เฉพาะเจาะจงในการระลึกชาติจะชัดเจนจนน่าทึ่ง เช่น คนไข้รายหนึ่งระลึกไปเห็นเหตุการณ์ในสมรภูมิรบสมัยยุคกลาง★ และพบทหารคนหนึ่งท่ามกลางทหารนับหมื่นกลางสนามรบ อาการบาดเจ็บของทหารนายนั้นสอดรับกับอาการป่วยในชาติปัจจุบันพอดี ซึ่งอาการป่วยมักจะต้องหายไปเมื่อเหตุการณ์อดีตชาติถูกรื้อฟื้นขึ้นมาให้จำได้อีกครั้ง คนธรรมดาคงจะไม่ได้เจอความชัดเจนเจาะจงมากถึงขนาดนี้แน่ถ้าเป็นเพราะความทรงจำจากกรรมพันธุ์เท่านั้น
แม้จะยกแนวคิด แบบ 𝗰𝗼𝗹𝗹𝗲𝗰𝘁𝗶𝘃𝗲 𝘂𝗻𝗰𝗼𝗻𝘀𝗰𝗶𝗼𝘂𝘀 – จิตไร้สำนึกรวมหมู่ หรือความทรงจำจากเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ (𝗿𝗮𝗰𝗶𝗮𝗹 𝗺𝗲𝗺𝗼𝗿𝗶𝗲𝘀) มาตอบ ก็ไม่น่าจะจำได้ละเอียดยิบเหมือนอย่างที่คนไข้เหล่านี้จำได้ ความทรงจำที่ผุดขึ้นมานี้ไม่ใช่การจำแบบหมวดหมู่ (𝗮𝗿𝗰𝗵𝗲𝘁𝘆𝗽𝗲𝘀) หรือเป็นประเภทกว้างๆเลย เพราะเรื่องยิบย่อยเล็กน้อยที่สุดก็จำได้ ซ้ำยังผสมอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงเปี่ยมพลังบวกไปด้วยอีก
★ 𝗺𝗶𝗱𝗱𝗹𝗲 𝗮𝗴𝗲 คือยุคทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ระหว่างสมัยโบราณกับปัจจุบัน ใช้ในความหมายบอกยุคตั้งแต่ความล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของโลกคริสต์ศตวรรษที่ 𝟱 คือ ปี 𝟰𝟬𝟬-𝟰𝟵𝟵 หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ มาจนถึงตอนเริ่มต้นยุคกึ่งกลางของศตวรรษที่ 𝟭𝟱 คือปี 𝟭𝟰𝟬𝟭-𝟭𝟱𝟬𝟬 : ผู้แปล
3️⃣ มีความทรงจำหลายเรื่องที่เกิดขึ้นนอกร่างของคนไข้ จึงไม่มีการถ่ายทอดจากกรรมพันธุ์แน่ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องราวของคนไข้ที่ผมยกมาในข้อ 𝟮 ซึ่งมาจากประสบการณ์จริงของเขาเอง เป็นความทรงจำหลังจากที่กายเนื้อของเขาตายไปแล้วเมื่อเขาลอยออกจากร่างมาและสำรวจเหตุการณ์เบื้องล่าง เขาสังเกตดูร่างที่เพิ่งละสังขารมา สภาพร่างและบาดแผล พบเห็นการรบพุ่งตลอดการรบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตั้งแต่เปิดฉากรบจนถึงวาระสุดท้าย ระหว่างที่เขาสำรวจภาพจากเหนือร่างอยู่นั้น เขาเกิดความรู้สึกจริงและรับรู้ประสบการณ์ทุกความ คิดได้จริง
(มีต่อ)
โฆษณา