Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2021 เวลา 03:12 • ปรัชญา
"ความว่าง ความสงบ มีกี่ระดับ ?"
" ... ความว่าง ความสงบ นั้นเป็นสภาวธรรม
มีทั้งระดับโลกิยธรรม และระดับโลกุตตรธรรม
ก็คือเป็นทางเรื่องของสมาธิก็มี
เป็นเรื่องของธรรมชาติที่พ้นออกไปก็มี
ในส่วนของระดับโลกิยธรรม
เนื้อของความว่าง ของความสงบมีเยอะมาก
ถ้าแจกแจงสภาวะมีหลายระดับมากเลย
ในเรื่องของความว่างก็ดี
ในเรื่องของความสงบก็ดี
แต่ถ้าว่าโดยหลักก็ การเดินสมาบัติทั้ง 8
ถ้าเข้าถึงอุเบกขาก็เข้าถึงความสงบแล้ว
ในระดับของฌานที่ 4
ถ้าเข้าถึงอรูปฌาน
ตั้งแต่อากาสานัญจายตนะเป็นต้นไป
ก็เริ่มเข้าถึงความว่างแล้ว
ในระดับของอรูปฌาน
หลัก ๆ ก็มีอยู่ 4 เนื้อสภาวธรรมในอรูปฌาน
ไม่ว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะ
วิญญานัญจายตนะ อากิญจายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
แต่ถ้าลงไปในเรื่องรายละเอียดของสภาวธรรมนี่
แตกออกไปเยอะมาก ไม่ใช่มีแค่ 4
4 นี้คือเนื้อหลัก ๆ เท่านั้น
แต่ถ้าผู้เดินสภาวะได้ละเอียดจริง ๆ
จะพบว่าเยอะมาก
นี่ก็ยังเป็นส่วนโลกิยธรรมหรือสมาธิทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้นเราจะไม่สามารถใช้มาตรวัดได้เลยว่า
ความว่าง ความสงบเป็นสิ่งที่เราพ้นแล้ว
เพราะว่ามีทั้งระดับโลกิยธรรม
และระดับของโลกุตรธรรม
ในสภาวะระดับโลกุตรธรรม
ก็มีแต่เรื่องของความว่าง
เนื้อของความสงบ ที่พ้นออกไปอีก
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะแจกแจง
ลงในรายละเอียดได้เลย
แต่ผู้ปฏิบัติจะรู้แจ้งได้ด้วยใจของตนเองนั่นเอง
ในระดับโลกุตรธรรม มันเป็นเรื่องของผลแล้ว
สิ่งที่จะแนะนำกันได้ก็คือ มรรควิถีที่ถูกต้อง นั่นเอง
ก็คือวิธีที่จะสลัดคืนสู่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์
ส่วนผล ไม่ใช่สิ่งที่เราจะนำมาแจกแจง
แต่ผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติด้วยมรรควิถีที่ถูกต้อง
ตรงทางตรงธรรม
ย่อมได้รับผลที่ถูกต้องเป็นธรรมดา
เมื่อได้รับผลที่ถูกต้อง
สิ่งนั้นมันก็จะแจ้งแก่ใจของผู้ที่ปฏิบัติ
ได้ด้วยตัวของตัวเอง
เรื่องของความลึกซึ้งในระดับโลกุตรธรรม
เรื่องของเนื้อธรรมชาติที่เป็นความว่าง
เนื้อที่มันเป็นความนิ่งสงบ
เป็นกลางอย่างยิ่งต่าง ๆ นี่เป็นเรื่องของผลทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ก็จะกล่าวคร่าว ๆ เท่านั้นว่า
เรื่องของความว่างก็ดี ความสงบก็ดี
มีทั้งระดับโลกิยธรรม และระดับโลกุตรธรรมนั่นเอง
การที่จะเข้าถึงระดับโลกุตรธรรมได้
ก็ต้องผ่านมรรควิถีที่ถูกต้อง
ตรงทางตรงธรรม ที่เรียกว่า ทางสายกลาง
หรือทางสายเอก
ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8
สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ใช่ผล
แต่คือการสร้างเหตุที่ถูกต้อง
เมื่อเราสร้างเหตุถูก
เหมือนเราจะเดินทางไปที่ ที่เราไม่เคยไป
แต่ถ้าเราเดินในเส้นทางที่ถูกต้อง
มันย่อมไปถึงผลโดยธรรมชาตินั่นเอง
สิ่งที่เราให้ความสำคัญ คือการสร้างเหตุที่ถูกต้อง
ตรงทางตรงธรรม
นี่คือสิ่งที่ทุกคนพึงให้ความสำคัญ
ถ้าเราคิดว่าเราปฏิบัติแล้วมันว่าง มันสงบ
และตกลงมันยังไงกันแน่ ?
ให้เข้าใจว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องของผล
ให้พิจารณาว่า
เราเดินในเหตุที่ถูกต้องหรือเปล่า ?
ละความสุดโต่ง 2 อย่าง
การประกอบตนด้วยการพัวพันในกามคุณอารมณ์ต่าง ๆ
การประกอบตนให้ลำบาก
เดินในทางสายกลางที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8
มีสัมมาทิฏฐิ
มีสัมมาสังกัปปะ การดำริที่ถูกต้อง
มีสัมมาวาจา การพูดที่ถูกต้อง
เรื่องของการพูด
เราได้อยู่ในวิถีของสัมมาวาจาหรือเปล่า ?
งดเว้นจากการพูดปด
งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยงให้เกิดความแตกแยก
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
แค่เรื่องของการพูด
เราอยู่ในสัมมา คือวิถีที่ถูกต้องหรือเปล่า ?
การว่าร้าย การพูดร้าย
ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น หลักมรรควิถีที่ถูกต้อง
เป็นกรอบที่ชัดเจนเลย
ว่าเรายังอยู่ในวิถีที่ถูกต้องหรือเปล่า ?
เราจะไม่สามารถคิดเข้าข้างตัวเองได้เลย
เพราะว่ากรอบวิธีชัดเจนมาก
สัมมาวาจา การพูดที่ถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ การกระทำที่ถูกต้อง
สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง
สัมมาวายามะ ความเพียรที่ถูกต้อง
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
อันนี้ชัดเจนมากเลย
ก็ต้องทบทวนตัวเองอยู่เสมอ
ว่าเรายังเดินในเส้นทางที่ถูกต้องอยู่ไหม ?
ถ้าเกิดการเบียดเบียน
เกิดความอาฆาตพยายาท
หรือจมอยู่กับเรื่องกามคุณอารมณ์
ก็รู้แล้วว่าเราหลุดออกไปแล้ว
ก็ดึงตัวเองกลับมา
หมั่นดึงตัวเองอยู่เสมอ เดินในวิถีที่ถูกต้อง
สร้างเหตุที่ถูกต้องอยู่เนือง ๆ
เมื่อเราเดินในวิถีที่ถูกต้อง
สร้างเหตุที่ถูกต้องอยู่เนือง ๆ ผลย่อมถูกต้อง
เป็นเรื่องธรรมชาตินั่นเอง ... "
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
ความว่าง ความสงบ มีกี่ระดับ ? | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 219
Photo by : Unsplash
1 บันทึก
10
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
1
10
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย