อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของผู้บริโภคเอง การที่ Standard Oil สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้มาก จนสามารถเพิ่มกำลังการผลิตไปถึงจุดที่ทำให้ประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
กิจการของ Carnegie Steel เจริญเติบโตไปได้ดีอย่างมากจนทำให้นายทุนแบงก์อย่าง John Pierpont Morgan หรือ JP Morgan เห็นว่า ถ้าสามารถบูรณาการรวมธุรกิจเหล็กของสหรัฐฯ เข้าด้วยกัน โดยมี Carnegie Steel เป็นหัวเรือจักรสำคัญ จะทำให้อุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก ต้นทุนโดยรวมจะต่ำลง ราคาถูกลง ในขณะที่แรงงานก็มีค่าแรงที่สูงขึ้น
JP Morgan
ทำให้ในช่วงต่อมา JP Morgan จึงได้เข้าซื้อบริษัท Carnegie Steel ของ Andrew Carnegie และบริษัทต่างๆ เพื่อควบรวมเป็นบริษัทเดียวภายใต้ชื่อว่า United States Steel Corporation ซึ่งได้กลายเป็นบริษัทแรกในโลกที่มีมูลค่าบริษัทสูงเกินหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังคงเปิดกิจการมาจนถึงปัจจุบัน
อีกเจ้าพ่อธุรกิจผูกขาดคนสำคัญในช่วงยุคดังกล่าวก็คือ Henry Ford ซึ่งแม้ว่าเขาจะไม่ได้มีการใช้วิธีการสกปรกในการเข้าฮุบคู่แข่งถึงขั้นของ Rockefeller แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาเป็นเจ้าพ่อผูกขาดคนสำคัญอีกคน
เนื่องจากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 นั้น รถยนต์ Ford ของเขาก็แทบจะครองตลาดรถยนต์สหรัฐฯ ทั้งหมด เรียกว่าเป็นผู้ผลิตรายเดียวเลยก็ว่าได้
โดย Henry Ford นั้น ก็ได้ออกแบบและผลิตรถยนต์โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ ผ่านกระบวนการผลิตที่เรียกว่าระบบสายพานการผลิตแบบฟอร์ด (Ford Assembly Line) จึงทำให้สามารถผลิตรถยนต์ปริมาณมากในต้นทุนต่ำ และนำมาขายให้กับผู้บริโภคในราคาถูก ทุกคนทั่วไปจับต้องได้
เหมือนเช่น Ford ในช่วงหนึ่ง ที่ผลิตแต่รถยนต์ Ford Model T เป็นเวลาเกือบ 20 ปี จนกระทั่ง สุดท้าย ยอมพัฒนาโมเดลใหม่ขึ้นมา เมื่อยอดขายของ Model T ตกลง จากการที่คู่แข่งคนใหม่อย่าง General Motors ก็แข็งแกร่งขึ้นมาเรื่อยๆ