Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2021 เวลา 12:09 • การศึกษา
คิดจะซื้อบ้าน รู้จักมาตรการ LTV หรือยัง?
LTV คืออะไร? น่าจะเป็นคำถามกับใครหลายๆ คนแน่นอนนะคะ ถ้างั้นมาทำความรู้จักกับคำนี้กันก่อนเลยค่ะ
มาตรการ LTV ก็คือ เกณฑ์ที่กำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือกำหนดว่าผู้กู้จะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเท่าไรนั่นเองค่ะ
LTV ย่อมาจาก loan-to-value ratio ซึ่งหมายถึง อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน
ตัวอย่าง >> หากบ้านราคา 2 ล้านบาท และกำหนดให้ LTV = 90% นั่นหมายความว่าเราจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เพียง 1.8 ล้านบาท (2 ล้าน x 90%) และต้องวางเงินดาวน์อีก 2 แสนบาทสำหรับส่วนที่เหลืออีก 10% ของราคาบ้านนั่นเอง
มาตรการ LTV มีชื่อที่เป็นทางการว่า “หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย”
มีหลักการสำคัญคือการกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำของการกู้สินเชื่อใหม่และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ให้เข้มขึ้นเพื่อที่จะสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้นสำหรับการผ่อนบ้านพร้อมกัน 2 หลังขึ้นไป หรือบ้านที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ดังนั้นมาตรการ LTV จึงส่งผลกับคนที่ผ่อนบ้าน 2 หลังพร้อม ๆ กัน หรือกู้ซื้อบ้านที่ราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปค่ะ
LTV เป็นมาตรการสำคัญที่เป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับกลุ่มคนที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะซื้อด้วยเงินกู้แล้วผ่อนจ่าย
แต่ในการกู้เงินซื้อบ้านนั้น ธนาคารอาจไม่ได้ปล่อยเงินกู้ให้เต็ม 100% ของราคาบ้านเสมอไป ผู้ซื้ออาจต้องวางเงินดาวน์ก่อน ซึ่งมาตรการ LTV นี้เองที่เป็นตัวกำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ (หรือเรียกว่ากำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำที่ผู้กู้จะต้องจ่าย) โดยพิจารณาจากราคาบ้านและจำนวนสัญญาที่กู้เป็นหลัก
เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา สภาวะตลาดสินเชื่อบ้านเริ่มพบว่าตัวเลขหนี้เสีย (NPL) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็พบว่ามีผู้กู้จำนวนหนึ่งที่กู้ซื้อบ้านหลายหลังพร้อม ๆ กัน
ซึ่งเกิดจากการที่ธนาคารพาณิชย์มีการหย่อนมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อบ้านลงเพื่อการแข่งขัน ส่งผลให้คนสามารถกู้เงินซื้อบ้านหลายหลังพร้อมกันได้ง่ายขึ้น
จึงนำไปสู่การเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการเทียม ไม่ใช่ความต้องการซื้อบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง ซึ่งหากอยู่ในสภาวะเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ อาจเกิดภาวะฟองสบู่แตกและส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้
ดังนั้น การออกมาตรการ LTV ก็เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อบ้านให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่กระตุ้นให้ประชาชนก่อหนี้เกินตัว รวมถึงการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกินควร จะสนับสนุนให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไปได้
ประโยชน์ของมาตรการ LTV
ในภาพรวมแล้วจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจไทย และยังมีส่งผลดีกับกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
📌 ผู้ที่กู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง >> ซื้อบ้านได้ในราคาที่เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดลง
📌 ผู้ที่กู้ซื้อเพื่อเก็งกำไร >> จะประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีขึ้น ไม่ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป รวมถึงลดความเสี่ยงที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อไว้จะปรับตัวลงแรงในอนาคตอันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตก
📌 ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ (เจ้าของโครงการ) >> สามารถประเมินความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงได้ดีขึ้น และวางแผนการลงทุนได้เหมาะสมมากขึ้น
📌 สถาบันการเงิน >> ลูกหนี้มีคุณภาพดีขึ้น ลดภาระการกันสำรองหนี้เสีย
อ่านถึงตรงนนี้แล้ว ก็หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจกับมาตรการ LTV กันมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่กำลังจะซื้อบ้านด้วยนะคะ 😊
2
Cr. ธนาคารแห่งประเทศไทย
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷
4 บันทึก
20
35
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
4
20
35
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย