Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2021 เวลา 14:16 • ปรัชญา
"กรรมฐานของมหาบุรุษ ที่จริงหมายถึงอะไร ? "
" … หากพูดถึงอานาปานสติ
เรียกว่าในสายการปฏิบัติ ไม่มีใครไม่เคยได้ยิน
ก็ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก เรื่องอานาปานสติ
เมื่อเข้าสู่สายการปฏิบัติ มีเพื่อนฝูง มีวงการ
วัดวาอาราม การปฏิบัติ
ก็จะได้ยินเรื่องของอานาปานสติอยู่เนือง ๆ
เรามักก็จะได้ยินคนเขาพูดกันว่า
อานาปานสติ เป็นกรรมฐานของมหาบุรุษ
เคยได้ยินไหม เป็นกรรมฐานของมหาบุรุษ
เราปุถุชนจะไปฝึกได้ยังไง
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเจริญอานาปานสติ
จนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็เลยเรียกว่าเป็นกรรมฐานของมหาบุรุษนั่นเอง
แล้วก็เป็นกรรมฐานที่ละเอียดอ่อน
คนทั่วไปจะฝึกยาก
ตั้งสติอยู่กับลมนี่ยาก ใจชอบไหลไป
หลงไปได้ง่ายนั่นเอง
ก็ได้ยินมาตลอดว่า
อานาปานสติเป็นกรรมฐานของมหาบุรุษ
แต่จริง ๆ แล้วอยากจะบอกว่า
อานาปานสติก็เป็นกรรมฐานของเรา ๆ ท่าน ๆ
ของคนทั่วไป ลูกเล็กเด็กแดง ตาสีตาสา
ก็ฝึกได้ เรียนรู้ได้
เป็นกรรมฐานของปุถุชนเนี่ยแหละ
แต่เมื่อฝึกฝน ทำให้มาก เจริญให้มาก
สามารถเปลี่ยนจากใจที่เป็นปุถุชน
คือหลงโลก หลงอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ
พลิกมาเป็นใจให้ตื่นรู้ เบิกบาน
เกิดพุทธสภาวะ
เข้าถึงความเป็นมหาบุรุษได้นั่นเอง
คำว่า มหาบุรุษ ในความหมายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็คือ ผู้ที่มีใจหลุดพ้น หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาอุปาทาน
ไม่ติดข้องอยู่ในโลกนั่นเอง
ซึ่งอานาปานสติ
สำหรับผู้ที่ฝึกฝนอย่างดี สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ให้เข้าสู่ความเป็นมหาบุรุษได้นั่นเอง
ดั่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
แล้วพระองค์ยังตรัสอีกว่า
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
สติปัฏฐาน ๔ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้ ให้บริบูรณ์ได้
โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
จิตหลุดพ้นได้ เข้าถึงความเป็นมหาบุรุษได้นั่นเอง
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
พระองค์ก็ตรัสต่อว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
ไปสู่ป่าก็ดี สู่โค้นไม้ก็ดี สู่เรือนว่างก็ดี
ก็คือหาที่สงบสงัด
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
ฝึกหัดอยู่ว่าเป็นผู้รู้กายทั้งกาย หายใจเข้า
ศึกษาอยู่ว่าเป็นผู้รู้กายทั้งกาย หายใจออก
สำเหนียก ก็คือการศึกษา
สำเหนียกอยู่ว่าทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าจะทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก
…
การเจริญอานาปานสติ ก็คือการอาศัยลมหายใจ
เป็นอุปกรณ์ของการพัฒนาสติ
ปลุกการตื่นรู้ขึ้นมา
ก็เริ่มต้นจากการตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
การรู้ธรรมเฉพาะหน้าในอานาปานสติ
ก็คือมีสติระลึกรู้ถึงการหายใจนั่นเอง
หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้
หายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกยาวก็รู้
หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจออกสั้นก็รู้
ก็คือปล่อยให้ลมหายใจมันเป็นธรรมชาตินี่แหละ
เราแค่มีสติไว้กับกาย กับลมหายใจ
ระลึกรู้ถึงการหายใจเข้า หายใจออก นั่นเอง
ใหม่ ๆ ตั้งสติอยู่กับลมหายใจได้แว๊บนึง
เดี๋ยวจิตมันก็ไปละ หลงไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ก็ให้พากเพียร ตั้งสติไว้กับลมหายใจ
ระลึกรู้ถึงลมหายใจขึ้นมาอยู่เสมอ … "
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ค่ำ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔
ณ ยุวพุทธ ฯ ศูนย์ ๔
นาทีที่ 1.17 - 8.07
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก :
youtube.com
กายานุปัสสนา | อานาปานสติ 16 ขั้น ตอนที่ 1
เยี่ยมชม
Photo by : Unsplash
5 บันทึก
9
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
5
9
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย