8 ธ.ค. 2021 เวลา 12:59 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 3
เรื่อง “ปีนผาหาผู้สืบทอด”
เครดิตภาพ: Pixabay by Entity
มีพระอาจารย์ท่านหนึ่ง เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา จึงคิดจะหาผู้สืบทอดเป็นเจ้าอาวาสต่อไป
วันหนึ่งพูดกับศิษย์สองคนซึ่งหมายตาไว้แล้วว่า จะให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้สืบทอดต่อไป
ศิษย์คนหนึ่งชื่อว่าฮุ่ยหมิง อีกคนหนึ่งชื่อว่าเฉิงเหยียน
พระอาจารย์พูดขึ้นว่า “พวกเจ้าสองคนหากใครมีความสามารถปีนจากหน้าผาของหลังวัดขึ้นไปข้างบนได้ คนนั้นจะได้เป็นเจ้าอาวาสต่อไป”
ศิษย์ทั้งสองจึงเดินไปที่หน้าผา หน้าผานั้นสูงชันและมีแง่งหินขรุขระตลอดทั้งหน้าผา
3
ฮุ่ยหมิงซึ่งมีร่างกายที่แข็งแรงกว่า มีความมั่นใจในตัวเองอย่างเต็มเปี่ยม แต่ก็ปีนขึ้นไปได้ไม่นาน ก็ลื่นตกลงมา
เขาจึงเพิ่มความระมัดระวังในการปีนมากขึ้น แต่ที่สุดก็ลื่นไหลตกลงมาอีกหลายครั้ง แต่ที่สุดเขาก็รวบรวมพลังที่มีอยู่ปีนขึ้นไป
แต่เมื่อปีนได้ครึ่งทางก็รู้สึกหมดแรง และบริเวณนั้นก็ไม่มีที่ที่จะให้หยุดพักได้ ที่สุดก็พลัดตกลงมาอีก คราวนี้ตกลงมา ศีรษะกระแทกถูกก้อนหิน จนสลบแน่นิ่งไป
1
ฝ่ายเฉิงเหยียน ขณะที่เริ่มต้นก็เหมือนกับฮุ่ยหมิง พยายามใช้แรงอย่างมากมายในการปีน แต่ก็ต้องปีนแล้วลื่นไหลลงมาหลายครั้ง
1
ครั้งหนึ่งขณะที่ปีนอยู่กลางหน้าผาแล้วมองลงไปข้างล่าง เห็นลำธารที่ไหลไปยังอีกฝั่งของเขาได้
จึงได้ตัดสินใจลงมาที่ด้านล่าง ปัดเสื้อผ้าที่เลอะดินทรายออก แล้วเดินไปที่ลำธาร แล้วเดินทวนกระแสน้ำขึ้นไป ผ่านป่าเขา แล้วไม่ต้องเปลืองแรงแต่อย่างใด ก็ไปถึงยอดเขาได้
2
เมื่อเขาเดินมาหาพระอาจารย์ ทั้งคู่ก็นึกว่าจะต้องถูกพระอาจารย์ต่อว่าอย่างแรงว่ารักตัวกลัวตาย ใจไม่กล้าแล้วยังอ่อนแอ แล้วจะถูกขับไล่ออกจากสำนักไป
5
แต่พระอาจารย์กลับพูดว่า “เฉิงเหยียน เจ้าได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสคนต่อไป”
3
ทุกคนต่างมองหน้ากันไปมา ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
เฉิงเหยียนเลยอธิบายให้ศิษย์ร่วมสำนักฟังว่า หน้าผาที่อยู่หลังวัดไม่สามารถจะปีนขึ้นไปได้ แต่เมื่อมองจากกลางหน้าผา ก็จะเห็นทางเล็กๆที่จะเดินขึ้นไปได้
พระอาจารย์มักพูดบ่อยๆว่า “ผู้มีปัญญาจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม ผู้รู้จะเดินเกมไปตามเหตุ”
5
พระอาจารย์พยักหน้าด้วยความพอใจพูดว่า “หากเป็นผู้อยากได้หน้าอยากได้ชื่อ ในจิตก็จะมีแต่ทางตันของหน้าผา ฟ้าไม่ได้วางกรงขังไว้ แต่จิตเราสร้างกรงขังไว้เอง ในกรงขังแห่งความอยากมีชื่อเสียง แย่งชิงกันอย่างลำบากยากเย็น อย่างเบาก็แค่เกิดความทุกข์กังวล อย่างหนักอาจจะต้องบาดเจ็บ และอย่างหนักอาจจะต้องร่วงหล่นลงจนร่างเละ”
7
หลังจากนั้นพระอาจารย์ก็ให้บาตรและจีวรแก่เฉิงเหยียน และพูดกับทุกคนว่า “การปีนหน้าผา เป็นการทดสอบสภาพจิตของพวกเจ้า ไม่ให้หลงวนเข้าไปอยู่ในตาข่ายแห่งชื่อเสียงเกียรติยศ ในจิตที่ไม่กังวลสิ่งใด สามารถเดินไปตามครรลองที่เป็นไปได้ คือคนที่ข้าปรารถนา"
1
สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
1. การรู้จักยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือถ้าจะให้เรียกเป็นศัพท์ในปัจจุบัน ตรงกับคำว่า AQ: Adversity Quotient หรือความฉลาดในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ ยืดหยุ่นในการรับมือปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามา ดังนั้นการฝึกความฉลาดด้านนี้ส่วนใหญ่จะผ่านทางงานอดิเรกหรือไลฟสไตล์มากกว่าได้จากห้องเรียนหรือคำสอนโดยตรง คือเจอสถานการณ์จริงๆ เช่น การท่องเที่ยวแนวผจญภัย แคมป์ปิ้ง เป็นต้น
9
2. ทางออกหรือวิธีการแก้ปัญหา บางทีเราสามารถค้นพบได้ด้วยตนเอง ถ้าเราเปิดใจมองมันแบบให้ถี่ถ้วนและทั่วถึง หรือจะให้เรียกเป็นภาษาแบบไม่ทางการก็คือ “อย่าดันทุรัง” เหมือนแบบในเรื่องดังกล่าว เฉิงเหยียนปีนขึ้นได้กลางทางและได้มองลงมาเห็นลำธารเพื่อนำพาไปสู่จุดหมายได้
4
ถ้าหากมองในมุมมองธุรกิจ บางทีทางออกหรือการแก้ไขปัญหาอาจจะอยู่ที่หน่วยเล็กๆที่เรามักมองข้ามไป โดยที่เราไม่พยายามที่จะมองให้ทั่ว ซึ่งหน่วยเล็กๆที่ว่าอาจเป็นตัวชะลอความสำเร็จของธุรกิจก็เป็นไปได้สูง หรือจะเรียกกันว่า “ปัญหาคอขวด” หรือ “Bottleneck” น้ำไหลช้าเพราะโดนบีบจำกัดที่บริเวณคอขวดนี้
3. ชื่อเสียงและเกียรติยศ ทำให้เราลืมตัว สร้างกรอบหรือกรงทางจิตใจอย่างที่พระอาจารย์กล่าวในเรื่องนี้ เพื่อที่จะชิงเด่นชิงได้กับผู้อื่น ต้องเหนือกว่าผู้อื่น สิ่งนี้ทำให้เราไม่หลุดพ้นอยู่ในกรงดังกล่าว เหมือนถูกขังไว้ ถ้าเราขจัดเรื่องความอยากมีหน้ามีตาได้แล้ว เป้าหมายย่อมไปถึงได้ เหมือนเราได้พ้นจากกรงทางจิตใจนี้แล้ว
5
ดังนั้นจงฝึกความมีไหวพริบซึ่งเป็นทักษะสำคัญหนึ่งของชีวิตครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา