12 ธ.ค. 2021 เวลา 11:37 • ไลฟ์สไตล์
"สติจะตัดภพชาติในปฎิจจสมุปบาทได้อย่างไร ? "
" ... คำว่าภพและชาติคืออะไรในปฏิจจสมุปบาท ?
การฝึกสติสามารถตัดภพชาติได้อย่างไร ?
ในวงจรของปฏิจจสมุปบาท
ตั้งแต่สภาวะที่เรียกว่า รู้ ที่เป็นอมตธรรม
จากนั้นถูกประดุจเมฆหมอกก็คืออวิชชาเข้าบดบัง
จากนั้นก็จะเกิดสังขารความปรุงแต่งขึ้น เป็นวังวนขึ้นมา
ณ วังวนมันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า วิญญานขันธ์ขึ้นมา
แล้วก็จะเกิดนามรูป
พอนามรูปเกิด ก็จะเกิดสฬายตนะขึ้นมา
อายตนะทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จากนั้นก็เกิดผัสสะขึ้นมา การกระทบ
แล้วก็เกิดเวทนาขึ้นมา
พอเวทนาเกิด ถ้าไม่มีสติก็จะเกิดอาการยึดติด
เข้าไปติดที่เรียกว่า อุปาทานขึ้นมา
เกิดตัณหาความทะยานอยาก แล้วก็เกิดอุปาทานขึ้นมา
พออุปาทานเกิดก็คือเกิดภพขึ้นมา
แล้วก็เกิดชาติ การเกิด
ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าการเกิดเป็นชีวิตช่วงอายุขัย
แต่มันเป็นกระบวนการปฏิจจสมุปบาท
ที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ขณะจิตเลย
วงจรตรงนี้มันเกิดขึ้นในทุก ๆ ขณะจิต
ถ้าไม่มีสติมันจะเกิดแบบนี้
เกิดภพเกิดชาติในทุก ๆ ขณะจิต
จิตมันเกิดดับตลอดเวลาอยู่แล้ว
แต่เมื่อใดที่เรามีสติ รู้สึกตัวขึ้นมา
ในขณะที่รู้สึกตัวมันจะตัดกระบวนการตรงนี้
ในเบื้องต้น มันจะตัด พอรู้สึกตัวปุ๊บ
จากที่พอมันเกิดเวทนา มันจะเกิดตัณหาอุปาทานปุ๊บ
มันตัดเลย ในขณะนั้นนะ
4
เพราะฉะนั้นเราจะเหลือแต่สิ่งที่เรียกว่า สักแต่รู้ สักแต่รู้สึกขึ้นมา
จากแทนที่จะเกิดความชอบ ความชัง
เกิดความยึดติดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตน
เป็นภพเป็นชาติปุ๊บ พอรู้สึกตัวปุ๊บ มันหลุดออก ๆ
มันก็หลุดออก ณ ขณะ ๆ นั้น
1
กระบวนการตรงนี้มันก็จะตัดไปเรื่อย ๆ เมื่อมีสติรู้สึกตัว
เมื่อฝึกเจริญสติมาก ๆ ขึ้น มีกำลังขึ้น
จนเกิดสติตั้งมั่นขึ้นมา ทีนี้มันตัดที่สฬายตนะเลย
จากปกติพอจิตเกิดตามอายตนะ
เกิดทางตาเกิดการเห็น เกิดทางหูเกิดการได้ยิน
เกิดทางจมูกเกิดการได้กลิ่น เกิดทางลิ้นเกิดการลิ้มรส
เกิดทางกายเกิดสัมผัสทางกาย
แต่พอสติมีกำลังมาก ยังไม่ทันเกิดตามอายตนะ
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
มันเกิดที่ใจแล้วมันตัดเลย
มันตัดโชะเลย
จึงเกิดสภาวะที่เรียกว่า จิตตั้งมั่นขึ้นมา
จิตตั้งมั่นเพราะว่าจิตมันไม่ไปเกิดตามอายตนะ
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
มันเกิดที่ใจแล้วดับเลย ๆ
ก็จะเข้าสู่ระดับสิ่งที่เรียกว่า รูปาวจร สัมมาสมาธิ
ในสัมมาสมาธินี่
เค้าไม่ได้ใช้อายตนะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้ว
ใช้ที่ใจอย่างเดียว
ตรงนี้ถ้ากำลังทรงตัว ความเป็นทิพย์จะเริ่มเกิด
คำว่าหูทิพย์ ตาทิพย์
จริง ๆ แล้วไม่ใช่มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์หรอก
ใจที่มันเป็นทิพย์ มันรับรู้ได้
ถ้าฝึกสติละเอียด จะพบว่า หลับตาก็มองเห็น
มันไม่ได้ใช้ตาเนื้อแล้ว
มันใช้ใจที่รับรู้ต่าง ๆ เหมือนพรหม เทวดา
นั่นคือสภาวะระดับรูปาวจรเป็นต้นไป
แล้วตรงนี้เป็นเรื่องของศีล 8 โดยธรรมชาติด้วย
ที่เรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์
ในขณะที่จิตตั้งมั่น จิตจะสงัดจากกามและอกุศลธรรม
งดดูการละเล่น งดเลยเวลาวิกาลทานอาหาร
แต่ว่าจิตเรายังข้องอยู่กับกามารมณ์ อยากนู่นอยากนี่เป็นไง ?
ศีล 8 บริสุทธิ์ไหม ? ... ยัง
แต่พอฝึกสติจนสติตั้งมั่นปุ๊บ ต่อให้ไม่ถือศีล 8
จิตก็ไม่ข้องกับกามารมณ์
ประพฤติพรหมจรรย์โดยธรรมชาติเลย
เพราะฉะนั้นศีลโดยสภาวธรรม
มันไม่ใช่การสมาทานแบบนี้
แต่คือโดยธรรมชาติของสภาวธรรมเลย
เมื่อมีสติ การคิดดี พูดดี ทำดีก็เกิดขึ้น
ศีลคือความเป็นปกติของกาย วาจา ใจ ก็เกิดขึ้น
การไม่เบียดเบียนก็เกิดขึ้น
แต่พอสติตั้งมั่นปุ๊บ ศีล 8 การประพฤติพรหมจรรย์
ก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเลย
มันเป็นโดยสภาวธรรม โดยธรรมชาติเลย
ฉะนั้นในขณะที่มีสติ
มันจะตัดภพตัดชาติแบบนี้ในทีละขณะจิต
ส่วนมันจะตัดลงไปละเอียดเท่าไหร่
ขึ้นอยู่กับความละเอียดของกำลังสติ
มันจะตัดไปเรื่อย ๆ
จนที่สุดแล้วมันตัดแม้กระทั่ง การก่อกำเนิดอวิชชา
เพราะฉะนั้นอริยสัจ 4 มีทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
เบื้องต้นก็คือชั้นต้น ๆ แบบนี้
จิตมันเกิดเวทนา แล้วเกิดอุปาทานตัณหาขึ้นมา
แต่เบื้องปลายคืออะไร มันละกันที่อวิชชา ดับที่ต้นเหตุ
พอดับต้นเหตุปุ๊บ ก็หมดไปทั้งยวง
กองสังขารที่เข้ามายึดอยู่ สลายไปหมดเลย
เพราะฉะนั้นอุปาทานในขั้นสุดท้ายก็คือ
อวิชชาที่หุ้มอมตธรรมอยู่นั่นเอง
แรงยึดติดตรงนี้มันเป็นยางเหนียว
นี่แหละตัณหาอุปาทานเบื้องปลาย
ตัณหาอุปาทานเบื้องต้นนี่ ละง่าย
แต่เบื้องปลายเป็นยางเหนียว ห่อหุ้ม
พระพุทธเจ้าทรงอุปมาเหมือนฟองไข่
มันหุ้มอยู่ ต้องกระเทาะออก
มันเป็นยางเหนียวที่มันหุ้มอยู่
ตรงนี้เขาเรียกว่า ติดดี นั่นแหละ
พอละเอียดปุ๊บ จิตผู้รู้เด่นดวง บริสุทธิ์ ว่าง สว่างจ้า
ก็ยิ้มกระหยิ่มในใจว่าบริสุทธิ์แล้ว
แต่ตัวอวิชชาทั้งแท่งเลย
1
ต้องเปลื้องตัวนี้ ที่ครูบาอาจารย์บอก พบผู้รู้ทำลายผู้รู้
1
ฉะนั้นสภาวะรู้ที่มีอัตตาตัวตน กับไร้อัตตาตัวตน
มันต่างกันอย่างนี้
ถ้าเป็นโลกิยธรรมมันยังมีผู้ยึดถืออยู่ ยังมีตัวเราอยู่
แต่ถ้าเป็นโลกุตตระ มันไร้ในท่ามกลาง
เป็นแค่ รู้ โดยธรรมชาติเลย ... "
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
Photo by : Unsplash
* ตัณหาอุปาทาน คือ เบื้องปลายในวงจร
แต่เวลาละ จะเกิดการละที่นี่ก่อนเป็นเบื้องต้น
วิถีจิตจะสวนทางกับผู้คนในโลก
ที่เรียกว่าทวนกระแสโลก พบกระแสธรรม
ทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท
อวิชชา คือเหตุตั้งต้น เบื้องต้นของวงจร
แต่จะถูกละเป็นอันดับสุดท้าย คือถูกละเป็นเบื้องปลาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา