24 ธ.ค. 2021 เวลา 03:29 • หนังสือ
✴️ บทที่ 🔟 ผู้เยียวยา✴️ (ตอนที่ 5)
หลักจิตวิเคราะห์ (𝗽𝘀𝘆𝗰𝗵𝗼𝗮𝗻𝗮𝗹𝘆𝘀𝗶𝘀) นั้น ‘ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ’ (𝘂𝗻𝘀𝗽𝗶𝗿𝗶𝘁𝘂𝗮𝗹) อย่างสิ้นเชิง มันเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ที่ขาดชีวิต มันไม่สอนอะไรเลยเรื่องความเป็นอมตะ เรื่องดวงวิญญาณที่ยังอยู่แม้ร่างจะแตกดับไปแล้ว ไม่ได้สอนคุณค่าแห่งการมีชีวิตเลย มันหยุดอยู่ตรงแค่ป่วยเป็นอะไร ทำไมจึงป่วย การรักษาที่ได้ผลจริงๆเกิดขึ้นเพราะนักจิตบำบัดเชื่อมกับคนไข้ได้ถึงระดับที่เกิดความอาทรและเมตตาอย่างแท้จริงเท่านั้น สายสัมพันธ์เองแหละครับที่เป็นตัวเยียวยา
ชีวจิตเวชศาสตร์ก็เข้าตาจนด้วยเหมือนกัน ยาขนานใหม่ที่ช่วยแก้อาการหดหูซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน อาการจิตเภท ไม่ใช่จุดจบหรอก แต่เป็นทางพาคนที่กินยาไปสู่จุดจบต่างหาก มีจิตแพทย์ตั้งมากมายเอาแต่จ่ายยา แล้วไม่ช่วยอะไรอย่างอื่นอีกเลย เป็นความสูญเปล่าอย่างใหญ่หลวงจริงๆครับ ตัวยาจริงๆแล้วสามารถช่วยให้คนไข้เข้าถึงการ บำบัดแบบ 𝗽𝘀𝘆𝗰𝗵𝗼-𝘀𝗽𝗶𝗿𝗶𝘁𝘂𝗮𝗹 𝘁𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝘆 คือบำบัดจิตและวิญญาณที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ได้ แต่การมุ่งแต่จ่ายยาแล้วทิ้งการบำบัดไปเลยเหมือนการทิ้งเนื้อแท้ของการรักษาคนไข้ไปหมดทั้งกระบวน
แล้วไหนจะยังหนังสือแนว "พัฒนาตนเอง หรือ 𝘀𝗲𝗹𝗳-𝗵𝗲𝗹𝗽" หลายร้อยเล่มเต็มตลาดก็เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้อีก ผมเองก็อยากให้การบำบัดมันดูง่ายดาย เป็น “𝗾𝘂𝗶𝗰𝗸-𝗳𝗶𝘅 แก้ได้ในฉับพลัน” อย่างในหนังสือเหมือนกัน แต่เผอิญมันไม่ใช่ครับ การจะเข้าถึงภาวะที่เป็นสุข พอใจ เบิกบานนั้น บอกเลยว่ายาก แล้วพอไปถึงได้แล้ว การรักษาให้อยู่ในสภาวะความสุข พอใจ เบิกบานนั้นไว้ให้คงอยู่ยิ่งท้าทายกว่า
การเดินออกจากนิสัยเดิมๆเป็นงานที่หนัก การค้นหาเข้าไปข้างในที่จะเข้าใจตัวเอง ที่จะสนับสนุนการรู้จักถอยห่างออกมาแล้วมองให้เห็นจริง★ เหล่านี้ล้วนเป็นภารกิจแสนยาก ทั้งต้องใช้ความอดทนและการฝึกตนเยอะเลยครับ เส้นทางเดินที่แสนทรหดแถมยาวนานอีก แต่ช่างแสนคุ้มค่า
★ “การถอยห่างออกมาแล้วมองให้เห็นจริง” คือหัวใจของคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกเทคนิค “𝗱𝗲𝘁𝗮𝗰𝗵𝗺𝗲𝗻𝘁” นั่นเอง : ผู้แปล
การจะมีความสุขแท้ได้ต้องอาศัยความเข้าใจชีวิตและเข้าใจความตาย เข้าใจธรรมชาติแห่งจิตวิญญาณที่เปี่ยมล้นด้วยรัก ด้วยการให้อภัยครับ การที่เรารู้จักทบทวนความคิดความรู้สึกตนเอง การปฏิบัติสมาธิ การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรัก มีความกรุณา และการรู้จักทำบุญทำทาน นี่ต่างหากครับคือขั้นตอนไปสู่เส้นทางนั้น การฝึกให้รู้จักยกโทษให้ตนเองและผู้อื่น การมุ่งมั่นหมั่นทำความดีไม่ใช้ความรุนแรง ตั้งหน้าสลายความโกรธ ความกลัว ความโลภ การยึดเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง การทะนงตนแบบผิดๆ นี่ก็อีกขั้นตอนครับ
นักจิตบำบัดหลายท่านปฏิเสธไม่ยอมใช้เทคนิคย้อนจิต โดยเฉพาะการย้อนจิตสู่อดีตชาติ ทั้งที่แพทย์ตั้งมากมายมีเอกสารหลักฐานบันทึกไว้รายแล้วรายเล่าว่าอาการทางกายและทางจิตดีขึ้น ช่วงโรคทุเลาจนถึงหายขาดเร็วขึ้นทันตา ไม่ว่าจะย้อนอดีต 𝟭 ครั้งหรือ 𝟭𝟬 ครั้งก็ตาม ผลของการบำบัดโดยการย้อนอดีตนั้นคงอยู่นาน และถึงขั้นเปลี่ยนแปลงชีวิตไปเลย แล้วการเติบโตทางจิตวิญญาณ ปัญญาธรรม และสันติสุขภายในก็จะเกิดตามมาพร้อมกับอาการที่ดีขึ้นอีกด้วย
ผมเชื่อว่ามี 𝟮 เหตุผลหลักๆเลยที่ว่าทำไมสถาบันของแพทย์หรือการบำบัดจิตยังลังเลไม่กล้าแม้แต่จะประเมินคุณค่าวิธีรักษาแบบใหม่ๆ ที่เร็วปลอดภัยและไม่แพง อย่าว่าแต่ยอมรับเลยครับ เหตุผลแรกคือ ‘กลัว’ เหตุผลที่สองคือ ‘เงิน’
เราต่างรู้กันดีว่า การกลัวสิ่งที่เราไม่รู้จักนั้นปิดกั้นความคิดคนมานักต่อนักแล้ว พวกเขากลายเป็นคนที่ไม่อยากจะเสี่ยงเพื่อลองสิ่งใหม่ๆดูบ้างเลย นักจิตบำบัดที่กลัวการเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ทั้งที่เทคนิคนั้นไม่แพง แถมเร็วและได้ผลดีกว่ามาก อย่างนี้เท่ากับกำลังสร้างความเสียหายให้แก่คนไข้และแก่ตัวเองอยู่นะครับ ก็เพราะมัวแต่กลัว สัญชาตญาณที่อยากจะช่วยคนไข้เลยหายหมด คำถามตรงๆยังคงเดิม : เขากลัวทำไม❓
เหตุผลเรื่องเงินก็เพราะว่าผลลัพธ์ที่เร็วมาก และหายจากอาการป่วยไปได้อีกนานนั่นไงครับ เพราะกลัวอย่างนี้ก็เลยลดคุณค่าสุขภาพจิตให้เหลือแค่เรื่องธุรกิจ รักษาน้อยครั้งลง ตัวเลขน้อยตาม หมายถึงว่ารายได้ก็จะหดหายไปด้วย
การรักษาแบบ 𝘀𝗽𝗶𝗿𝗶𝘁𝘂𝗮𝗹 𝗽𝘀𝘆𝗰𝗵𝗼𝘁𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝘆 หรือ “การบำบัดจิตโดยรักษาจิตวิญญาณ” อย่างนี้สามารถนำความเบิกบานและความสุขมาสู่ทั้งนักบำบัดและคนไข้มากมายจนชนะความกลุ้มและความกลัว
อย่างที่ผมเกริ่นไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าเทคนิคการรักษาแบบแผนโบราณกับแบบ 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗹𝗲𝗺𝗲𝗻𝘁𝗮𝗿𝘆 𝗵𝗲𝗮𝗹𝗶𝗻𝗴 (รักษาแบบช่วยเสริม) กำลังครอบงำสถาบันการแพทย์และกลับมาแพร่หลายใหม่ตามศูนย์ดูแลสุขภาพทั่วไป การบำบัดโรคโดยวิธีการ ‘จัดกระดูก’ (𝗰𝗵𝗶𝗿𝗼𝗽𝗿𝗮𝗰𝘁𝗶𝗰) ‘สะกดจิตบำบัด’ (𝗵𝘆𝗽𝗻𝗼𝘁𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝘆) ‘ฝังเข็ม’ (𝗮𝗰𝘂𝗽𝘂𝗻𝗰𝘁𝘂𝗿𝗲) ‘สมุนไพร’ (𝗵𝗲𝗿𝗯𝗮𝗹 𝗺𝗲𝗱𝗶𝗰𝗶𝗻𝗲𝘀) ‘สมาธิแบบ 𝗯𝗶𝗼𝗲𝗻𝗲𝗿𝗴𝗲𝘁𝗶𝗰𝘀’ ‘โยคะ’ ‘นวด’ และการรักษาแบบทางเลือกอย่างอื่นอีกหลายวิธีกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นกระแสหลักไปแล้ว
แล้วท้ายที่สุด การผสมผสานระหว่างการใช้วิธีแบบแพทย์แผนปัจจุบันตามธรรมเนียมเดิมให้เข้ากับวิธีเสริมจนเกิดสมดุล จะส่งผลให้นักสุขบำบัดได้เยียวยาคนคนหนึ่งหมดทั้งร่างกาย จิต และจิตวิญญาณ (𝗯𝗼𝗱𝘆, 𝗺𝗶𝗻𝗱 𝗮𝗻𝗱 𝘀𝗽𝗶𝗿𝗶𝘁)
สายลมแห่งการแผ่ขยายนี้อาจไม่ใช่พายุเฮอริเคนที่ถาโถม หากเป็นสายลมที่ปัดเป่าสิ่งเก่าให้จากไป ระหว่างการใช้วิธีแบบแพทย์แผนปัจจุบันกับแบบแผนโบราณจะต้องสอดคล้องกลมกลืน ถึงตรงนั้นเราก็จะสามารถสร้างโปรแกรมการรักษาที่คิดขึ้นให้ตรงกับอาการของโรคและความต้องการของคนไข้เฉพาะรายได้เลย
✨ หากนักบำบัดของเรา จะแผนโบราณหรือแผนไหนก็ตามสามารถเปิดใจกว้างยอมรับเทคนิค “ของคนอื่น” บ้าง หากพวกเขาฝึกฝนศิลปะแห่งการเยียวยาด้วยดวงใจที่เมตตา ด้วยความชำนาญ และการมีสติเอาใจใส่แล้วละก็ ที่สำคัญที่สุดคือถ้าพวกเขาดูแลจิตวิญญาณได้ดีพอๆกับดูแลร่างกาย เมื่อนั้นแหละที่เราจะได้เป็นสุขกับสุขภาพในระดับสุดยอดได้อย่างแท้จริง ✨
(จบ — บทที่ 10)
โฆษณา