Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
26 ธ.ค. 2021 เวลา 15:21 • ปรัชญา
"ละนันทิ จิตหลุดพ้น"
เมื่อไรก็ตามที่กองทุกข์ทั้งมวลดับสิ้น ดับไม่มีส่วนเหลือ
วงจรปฏิจจสมุปบาทดับรอบ
เมื่อนั้นสรรพสิ่งก็จะทำงานกันตามกลไลธรรมชาติที่แท้จริง
ที่เป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา
เป็นกระแสที่ไหลเรื่อยไปตามเหตุปัจจัย
1
ไม่มีผู้รู้ ผู้ถูกรู้
ไม่มีผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง
ปราศจากผู้กระทำกรรม หมดบุญหมดบาป พ้นดีพ้นชั่ว
เป็นเพียงสภาพธรรมตามธรรมชาติ
เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ
ที่ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
ขันธ์ทั้ง 5 ทำงานกันตามหน้าที่ที่แท้จริง
วิญญานไม่เข้าไปตั้งอาศัยในขันธ์ที่เหลือ
ไม่เข้าไปยึดถือ เป็นสุข เป็นทุกข์ ไปกับขันธ์
เพราะรู้เพราะเห็นความจริงตามความเป็นจริง
ว่านั่นไม่ใช่ตัวตนอะไร
จึงเกิดการสลัดคืน
วิญญานบริสุทธิ์ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
2
.
เมื่อถึงวันนั้น เสียงลม เสียงชม เสียงด่า เสียงเทศน์
ทุกเสียงจะคือเสียงเดียวกัน ทุกสิ่งจะเสมอภาคกัน
ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น;
ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้;
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์
มีเวทนา เป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้;
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์
มีสัญญาป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้;
2
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย !
ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ
ความเจริญ ความงอกงาม
และความไพบูลย์ของวิญญาณ
โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา
และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น,
นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ
ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ
ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ ภิกษุละได้แล้ว;
เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,
เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.
ย่อมรู้ชัดว่า “ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
- ตามรอยธรรม หน้า ๔๗
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๓/๑๐๕
ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๒)
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมี ๕ อย่าง เหล่านี้.
๕ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ๕ อย่าง คือ :-
(๑) พืชจากเหง้าหรือราก (มูลพีช)
(๒) พืชจากต้น (ขนฺธพีช)
(๓) พืชจากตาหรือผล (ผลพีช)
(๔) พืชจากยอด (อคฺคพีช)
(๕) พืชจากเมล็ด (พีชพีช)
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้
ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย
ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด
ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี
แต่ดิน น้ำ ไม่มี.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น
จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?
หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านี้แหละ
ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย
ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด
ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่
และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ๕ อย่าง เหล่านั้น
จะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?
อย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร)
พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน.
ภิกษุทั้งหลาย !
นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน)
พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย
พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้ง ๕ นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์
มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์
มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย !
วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย
มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-
เราจักบัญญัติซึ่งการมา การไป
การจุติ (การตาย) การอุบัติ (การเกิด)
ความเจริญ ความงอกงาม
และความไพบูลย์ของวิญญาณ
โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา
เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร ดังนี้นั้น
นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว.
เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน
ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.
- ภพภูมิ หน้า ๑๕
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๑๐๖-๑๐๗.
ความมีขึ้นแห่งภพ
แม้มีอยู่ชั่วขณะก็น่ารังเกียจ
ภิกษุทั้งหลาย !
คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว
ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.
(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วยมูตร ด้วยน้ำลาย ด้วยหนอง ด้วยโลหิต โดยทำนองเดียวกัน เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๔.)
ภพภูมิ หน้า ๑๙
(ภาษาไทย) เอก. อํ. ๒๐/๓๖/๒๐๓.
ละความเพลิน จิตหลุดพ้น
สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
- อินทรียสังวร หน้า ๓๒
(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๑๔๖/๒๔๕-๒๔๖.
.
อ้างอิง :
http://bhikkhukukrit.com/all/89-history-of-buddhawajana
Photo by : Unsplash
3 บันทึก
13
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สาระเน้น ๆ :)
3
13
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย