จากพัฒนาการทางอำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเริ่มขยับเข้ามาเกี่ยวข้องกับบทบาทการเมืองอย่างเป็นทางการมากขึ้น ถึงแม้จะยังไม่ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างนัก แต่นักกฎหมายรัฐธรรมนูญ New Sin Yew ได้แสดงความกังวลถึงอนาคตของสถาบันกษัตริย์มาเลเซียเอาไว้ว่า สถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญมาเลเซียได้ขยายขอบเขตของอำนาจถึงขีดสุดแล้วในช่วงที่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และอาจจะกลายเป็นแบบอย่างให้สถาบันกษัตริย์ในอนาคตใช้อำนาจเกินขอบเขตปัจจุบันไปอีกมากได้
กฎหมายฉบับนี้จึงยังคงถูกใช้ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองอย่างต่อเนื่องเมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้ต้องหาในคดีที่เกิดขึ้นจากกฎหมายฉบับดังกล่าว ส่วนมากคือนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล นักกิจกรรม สื่อมวลชน ไปจนถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย จนทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงข้อกฎหมายดังกล่าวของกลุ่มนักศึกษาและองค์กรนักกฎหมายมาเลเซียในปี 2014[18] ขณะที่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Civil Society Organisations (CSO) และ The International Federation of Journalists (IFJ) ได้ออกมาร่วมเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบกฎหมาย รวมไปถึงการยกเลิกกฎหมาย Sedition Act 1948 ในเดือนกันยายนปี 2021 ด้วยเช่นกัน[19]
ไม่ใช่แต่เพียงในแง่มุมกฎหมาย แต่การกล่าวร้ายถึงคณะผู้ปกครองไม่ว่าจะเจ้าผู้ปกครองรัฐทั้ง 9 หรือพระราชาธิบดี สำหรับประชาชนทั่วไปก็อาจจะถูกลงโทษทางสังคมได้เช่นกัน โดยในปี 2019 บริษัทสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าอย่าง Tenaga Nasional Berhad (TNB) ได้สั่งพักงานพนักงานผู้หมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ลงบนอินเทอร์เน็ต พร้อมระบุไว้ในแถลงการณ์ของบริษัทว่า “ในฐานะที่เป็นบริษัทที่มีคุณค่าสูงและมีความซื่อสัตย์ เราจะไม่อดทนอดกลั้นหากพนักงานของเรากระทำเช่นนี้”[20] และการลาออกของแพทย์ผู้วิพากษ์วิจารณ์อดีตราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ภายใต้แถลงการณ์ของสมาคมคลินิค The Mediviron Group of Clinics ที่ออกมาแสดงความเสียใจต่อการแสดงออกของแพทย์คนดังกล่าวที่ทำร้ายความรู้สึกของชาวมาเลเซียทั้งชาติ[21]
[7] Dzulkifli, Fatimah Zainab and Mohd Zameri, Nasrul Dadziruddin. (2010). The functions of constitutional monarchy in Malaysian political system: The perceptions of Malay community. In: Proceedings Seminar on Nasional Resilience (SNAR 2010) “Political Managements and Policies in Malaysia”, 13-15 July 2010, Bayview Hotel Langkawi. Institute of Tun Dr. Mahathir Mohamad’s Thoughts, Universiti Utara Malaysia, Sintok, pp. 353-369. ISBN 983-44865-3-2, http://repo.uum.edu.my/3182/