9 ม.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำความรู้จัก Martin Luther King Jr. กับความฝันของการปราถนาให้อเมริกาเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง
“All men are created equal” หรือ “มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน” คือประโยคทองคำที่ถูกจารึกไว้ในหนังสือคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาในปี 1778 โดย Thomas Jefferson หนึ่งใน Founding Fathers ของสหรัฐฯ
2
ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในชีวิตของตนเอง การมีเสรีภาพ และการแสวงหาความสุขในชีวิต
4
แต่ทว่า ตลอดช่วงเวลานับร้อยปี หลังจากที่คำประกาศดังกล่าวถูกลงนามโดยเหล่า Founding Fathers ประโยคที่ว่านั้นกลับดูเหมือนเป็นเพียงอุดมคติที่ดูเลือนลางต่างจากสภาพความเป็นจริงในสังคมยิ่งนัก
สภาพสังคมของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมา นั้นเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ การให้โอกาสที่ไม่เท่าเทียมกัน ตั้งแต่ระหว่างชาย-หญิง และยิ่งชัดขึ้นไปอีก ก็คือระหว่างคนผิวขาว-คนผิวสี
แม้ในช่วงเวลาประมาณ 80 กว่าปีให้หลัง จะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ระหว่างกลุ่มรัฐทางใต้ที่สนับสนุนระบบทาส และรัฐทางเหนือที่สนับสนุนการเลิกทาส จนรัฐบาลของ Abraham Lincoln คว้าชัย และสามารถผ่านกฎหมายเลิกทาสได้สำเร็จ
แต่หลังจากนั้น สิทธิของคนผิวสี หรือคนแอฟริกัน-อเมริกัน ก็ยังคงห่างไกลจากอุดมคติที่ถูกจารึกไว้ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเท่าเทียมกันอยู่ดี
แม้จะได้รับอิสรภาพแล้ว แต่ชาวแอฟริกัน-อเมริกันก็ยังถูกกีดกันจากสังคมอยู่ดี และถูกพรากโอกาสในการลืมตาอ้าปาก ประกอบอาชีพ เพื่อหาเงินเลี้ยงตัวเอง เฉกเช่นคนอเมริกันผิวขาว
สิ่งที่พวกเขาเผชิญคือความไม่เท่าเทียมในขั้นที่เล็กที่สุดในการดำรงชีวิตประจำวันด้วยซ้ำ แม้แต่การขึ้นรถเมล์ เข้าห้องน้ำ ก็ยังถูกจำกัดให้นั่งเฉพาะที่นั่งของคนผิวสี ซึ่งอยู่ท้ายสุด ห้องน้ำพิเศษของคนผิวสี การไปรับประทานอาหารก็จะต้องเข้ารับบริการจากหลังร้านด้วยซ้ำ ไม่มีสิทธิในการนั่งในร้านเฉกเช่นคนอื่นๆ
3
หรือแม้แต่การเลือกที่อยู่อาศัย เลือกบ้านตัวเองก็ตาม ก็ยังถูกกีดกันว่าห้ามคนผิวสีไปอาศัยอยู่ในย่านที่ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวอีกด้วย
1
นอกจากนี้ โอกาสที่ถูกพลัดพรากไปยังรวมถึงโอกาสทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะเข้าตลาดแรงงานได้เท่าเทียมคนอื่นๆ ได้รับการศึกษาเฉกเช่นคนอื่น หรือได้รับบริการทางการแพทย์ ที่เท่าเทียมเช่นคนอื่น
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่า เหตุใดในอดีตถึงมีคนผิวสีจำนวนมากที่ตกอยู่ใต้เส้นความยากจน หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ มีเงินไม่พอประทังชีวิตในแต่ละวัน ก็เพราะว่าโอกาสที่ถูกหยิบยื่นให้ไม่เท่ากันนั่นเอง
1
จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่เป็นดั่งเปลวเทียนแห่งความหวังนั้นถูกจุดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 เมื่อ Martin Luther King Jr. (MLK) ชายหนุ่มผิวสีจากเมือง Atlanta รัฐ Georgia ผู้ซึ่งเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมให้กับคนผิวสีตั้งแต่สมัยยังอยู่มัธยม ได้ออกมานำขบวนเรียกร้องสิทธิคนผิวสีเป็นครั้งแรก
2
โดยในปี 1955 เกิดเหตุการณ์ไล่เลี่ยกันที่ว่ามีหญิงผิวสีสองคนไม่ยอมสละที่นั่งของตัวเองบนรถบัสในเมือง Montgomery ให้กับคนขาว ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ส่งผลให้ทั้งสองคนต่างถูกจับกุมในฐานะผู้กระทำผิด
Martin Luther King Jr. ได้ออกมาเรียกร้องความอยุติธรรมดังกล่าว โดยการพาบอยคอตต์ ไม่ใช้บริการรถบัส ผลที่ตามมาคือ MLK ก็ถูกข่มขู่ต่างๆ นานา และถึงกับโดนวางระเบิดบ้าน
แต่ในที่สุด การเรียกร้องดังกล่าวก็เป็นผลสำเร็จ หลังศาลสูงสหรัฐฯ ตัดสินให้ยกเลิกข้อกำหนดดังกล่าว และทำให้คนผิวสีสามารถนั่งตรงไหนของรถบัสได้ไม่ต่างจากคนผิวขาวเลย
นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังทำให้ MLK ได้รับการยกย่อง และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางโดยคนทั้งประเทศอีกด้วย
หลังจากนั้นไม่นาน MLK ก็ได้ร่วมกับเพื่อนๆ นักสิทธิมนุษยชนของเขา จัดตั้ง Southern Christian Leadership Conference (SCLC) ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนให้กับชาวผิวสีอย่างมากในช่วงต่อมา
ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่ MLK มองว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับการแบ่งแยกเชื้อชาติ (Racial segregation) ก็คือผ่านการประท้วงอย่างสันติอสิงหา ปราศจากความรุนแรง โดนหยิบรูปแบบมาจากการเดินขบวนเรียกร้องอิสรภาพของมหาตมะ คานธี
การเดินขบวนเรียกร้องสิทธิของ SCLC นำโดย MLK ได้มีส่วนสำคัญในการเรียกร้องสิทธิหลายเหตุการณ์หลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็น การประท้วงร่วมกับนิสิตนักศึกษาที่เมือง Atlanta บ้านเกิดของเขาในปี 1960 การเดินขบวนในเมือง Albany รัฐ Georgia ปี 1961 การประท้วง ณ เมือง Birmingham ปี 1963
แต่ทว่า การประท้วงเหล่านี้ก็มาจากต้นทุนที่สูงยิ่งสำหรับเขา เขาเผชิญกับแรงข่มขู่ การถูกจับตามองโดย FBI การทำร้ายร่างกาย การถูกจองจำ นับครั้งไม่ถ้วน
แต่ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาก็ยังคงเดินหน้าต่อไป ด้วยความหวังว่าชีวิตของชาวแอฟริกัน-อเมริกันจะต้องดียิ่งขึ้นในวันข้างหน้า
ต่อมา หนึ่งในการประท้วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา และในประวัติศาสตร์คงจะเป็นการประท้วงที่กรุงวอชิงตันในปี 1963 หรือที่เรียกกันว่า March on Washington ที่ซึ่งเขาได้ให้สุนทรพจน์ที่ขนานนามว่าเป็นหนึ่งในสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์
เขาได้ให้สุนทรพจน์เกี่ยวกับความฝันของเขา ความฝันที่ว่าวันหนึ่งสหรัฐอเมริกาจะสามารถบรรลุอุดมคติที่ถูกจารึกไว้บนคำประกาศอิสรภาพได้อย่างแท้จริงว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเท่าเทียมกัน”
3
ความฝันที่ว่าวันหนึ่งลูกหลานของนายทาส และลูกหลานของทาสในอดีต จะสามารถร่วมวงรับประทานบนโต๊ะเดียวกันได้อย่างฉันมิตร
2
ความฝันที่ว่าวันหนึ่ง แม้แต่ในเมืองที่เต็มไปด้วยความอยุติธรรม และการแบ่งแยกเชื้อชาติ จะพลิกผัน กลายเป็นพื้นที่ของอิสรภาพและความยุติธรรมแทน
2
และความฝันที่ว่าวันหนึ่ง ลูกๆ ทั้งสี่คนของเขาจะเติบโตมาในประเทศที่แต่ละคนถูกตัดสินว่าเป็นอย่างไร จากสิ่งที่เขาทำ ไม่ใช่จากสีผิวบนตัวเขา
2
การเดินขบวนในเมืองหลวง และสุนทรพจน์ในครั้งนั้น ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่อย่างมาก สำหรับขบวนการเรียกร้องสิทธิให้กับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน
หลังจากนั้นไม่นาน ความฝันของ MLK ก็ใกล้กลายเป็นจริง เมื่อในปี 1964 สภาคองเกรสฯ ได้ผ่าน Civil Rights Act ซึ่งเป็นการยุติการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ และการเหยียดผิวทั่วทั้งอเมริกา
(นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคม 1964 MLK ยังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพอีกด้วย ทำให้เขาเป็นคนที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้นที่ได้รับรางวัลดังกล่าว)
และหลังจากที่ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson ได้ให้การสนับสนุนกฎหมาย Voting Rights Act ซึ่งให้สิทธิในการหยั่งเสียงแก่ชาวแอฟริกัน-อเมริกันในช่วงต้นปีต่อมา ก็เปรียบเสมือนกับอีกหนึ่งความฝันความปราถนาของเขาให้เข้าสู่ความเป็นจริงไปได้อีกอย่างแล้ว
โดย MLK ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ว่า How Long, Not Long? เพื่อสื่อถึงความพยายามที่ต้องเหนื่อยตรากตรำในการเรียกร้องสิทธิที่ผ่าน ก็สำเร็จในที่สุด และไม่มีอะไรที่นานเกินรอ
การเรียกร้องความยุติธรรมของ MLK ยังไม่ได้จำกัดเฉพาะสิทธิของชาวแอฟริกัน-อเมริกันเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการเรียกร้องให้ยุติสงครามเวียดนาม และการต่อสู้ความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ (Economic injustice) อีกด้วย
1
ทั้งนี้ แนวคิดที่ MLK สนับสนุนนั้นค่อนข้างเอนเอียงไปทางสังคมนิยม ทางรัฐสวัสดิการ และเขาเห็นว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ควรจะนำงบประมาณมหาศาลที่ใช้ไปกับกองทัพ และการทำสงครามในเวียดนาม มาใช้กับลงทุนในโครงการลดความยากจนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในประเทศเสียดีกว่า
1
ท้ายที่สุดแล้ว เฉกเช่นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงโลกจำนวนไม่น้อยที่เมื่อมีคนรัก ก็ย่อมมีคนชังเป็นธรรมดา Martin Luther King Jr. ถูกลอบสังหารในวันที่ 4 เมษายน 1968 หลังจากวันเกิดของเขาเพียงแค่ไม่กี่เดือน เท่านั้น
2
แม้ว่าแพทย์จะพยายามผ่าตัด เพื่อช่วยชีวิตของเขา แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ โดยผลผ่าชันสูตรศพยังเผยอีกว่า แม้ตัวเขาจะมีอายุเพียงแค่ 39 ปี แต่ด้วยความเครียดและแรงกดดันอย่างมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หัวใจของเขามีสภาพไม่ต่างอะไรจากหัวใจของคนอายุ 60 เลย
2
แม้ว่า MLK จะได้จากไปเร็วอย่างน่าใจหาย แต่เขาก็ได้ทิ้งมรดกชิ้นสำคัญไว้ให้กับชาวแอฟริกัน-อเมริกันทุกคนในสหรัฐฯ ซึ่งก็คือ ประเทศที่ดีกว่าเดิม และทำให้อเมริกาเป็นอเมริกาที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง ดั่งที่ปรากฎในคำประกาศอิสรภาพ
2
หลังจากที่ MLK เสียชีวิตไม่กี่ปี ประธานาธิบดี Ronald Reagan ก็ได้ลงนามประกาศให้ทุกวันจันทร์ที่สามของเดือนมกราคมเป็นวัน Martin Luther King Jr. เพื่อยกย่องคุณปูการที่เขาได้ทำ
4
ผู้เขียน : เอกศิษฎ์ น้าวิไลเจริญ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
โฆษณา