12 ม.ค. 2022 เวลา 02:57 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣4️⃣ ยกระดับจิตสู่ญาณ ✴️ (ตอนที่ 2)
ผมเคยสอนคนไข้คนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจสาวให้เจริญสมาธิ มีอยู่ครั้งหนึ่งเราเพิ่งเริ่มต้นไปได้สักครู่ เธอก็พูดขึ้นมาเลยว่า “ฉันเพิ่งเห็นภาพต้นไม้ที่สวยที่สุดในโลกเลยค่ะ❗”
“คุณเห็นต้นไม้ขึ้นอยู่ตรงไหนครับ” ผมถาม
“ตรงหน้าบ้านฉันเองค่ะ” เธอตอบ ต้นไม้เขาโตตระหง่านอยู่ตรงนั้นของเขามาตั้งนานแล้วละ ยามใดที่เรารู้จักทำจิตให้เงียบสงบ ยามนั้นเราถึงจะได้เห็นสิ่งที่งามที่สุดในโลก★
★ ผมขอแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวนิดนึงครับตรงนี้ ตอนที่ผมไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม 8 วัน ครั้งหนึ่งที่วัดป่าสุคะโต ประมาณวันที่ 4 (ซึ่ง 4 วันที่ผ่านมาตั้งแต่ตื่นจนหลับ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม จะมีสติรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา) ผมทำสมาธิอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนจิตสงบเป็นสมาธิในตอนบ่าย (ผมนั่งลืมตาอยู่) ผมเห็นสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวต่างไป เห็นใบไม้เปล่งประกายระยิบระยับ เห็นแสงแดด พื้นดิน ฯลฯ เป็นประกายสวยงามสุดๆ โลกที่เห็นด้วยตาในระหว่างจิตเป็นสมาธินั้นต่างไปอย่างสิ้นเชิง — แอดมิน
ในสัมมนาเวิร์กชอปของผม ผมชอบสอนวิธีการเจริญสมาธิวิธีหนึ่งที่ง่ายที่สุดและใช้เวลาแค่ 𝟮 นาทีเอง นาทีแรกผมจะนำสมาชิกกลุ่มให้หลับตาลง หายใจลึกๆ และผ่อนคลาย 𝟰𝟱 วินาที หลังจากนี้ไปผมจะบอกให้กลุ่มทำจิตให้เงียบจริงๆ ไม่ต้องคิดอะไรเลย แน่นอนครับคนส่วนใหญ่จะบอกว่าทำยาก ‘จิตของเราเกลียดความว่าง’ เราก็เลยชอบใส่ความคิดพื้นๆเข้าไปให้มันเต็มเข้าไว้ เช่น :
“ปวดหลังจัง”
“ได้ยินเสียงคนไอด้วย”
“เราไม่น่ากินไอ้นั่นเป็นข้าวเช้าเล้ย”
ความคิดพวกนี้ไม่ได้มาจากแรงบันดาลใจของจักรวาลเลย เราไม่ต้องเก็บเรื่องแบบนี้มาคิดเลยในตอนที่เราอยากให้จิตของเราเงียบ เป็นอุเบกขาและเป็นผู้เฝ้าดู
ระหว่างนาทีที่ 𝟮 ผมจะนำกลุ่ม ให้วาดภาพตัวเองนั่งอยู่_ณ_ก้นสระน้ำที่สวยงาม สมาชิกกลุ่มยังสามารถหายใจได้ราบรื่นเป็นปรกติที่สุด
🛑 ผมบอกกลุ่มว่า “ทุกครั้งที่เกิดความคิดขึ้นมา ให้ใส่ความคิดนั้นลงในฟองอากาศ แล้วเห็นฟองนั้นลอยขึ้นไปบนผิวสระแล้วหายไปนะครับ จากนั้นให้ดึงจิตของคุณกลับมาสู่สภาวะเงียบอีก ถ้ายังคิดเรื่องอื่นอีกก็ให้ใส่ในฟองอากาศแล้วปล่อยให้ลอยขึ้นแล้วหายไปเหมือนเดิม ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆเลยครับ”
🛑 สำหรับคนที่กลัวน้ำ ผมจะบอกให้เขาวาดภาพตัวเองนั่งอยู่กลางทุ่งที่สวยงาม แล้วแทนที่จะใช้ฟองอากาศ ผมให้ใช้บอลลูนลมร้อนแทน
𝟭 นาทีเต็ม ที่สมาชิกกลุ่มใช้กลวิธีฟองอากาศหรือบัลลูน
พวกเขาเริ่มเข้าสู่สมาธิแล้ว
💥 วิธีนี้เรียกว่า 𝗯𝘂𝗯𝗯𝗹𝗲 𝗺𝗲𝗱𝗶𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 – การเข้าสมาธิแบบฟองอากาศ★ ซึ่งคุณจะกำหนดถ้อยคำขึ้นมาแทนก็ได้ กำหนดจิตจ่ออยู่กับคำคำนั้น เมื่อ ไหร่ที่จิตของคุณวอกแวก ก็แค่ค่อยๆนำจิตมาสนใจจับอยู่ที่คำคำนั้นอย่างนุ่มนวลและไม่ต้องตำหนิตัวเอง เท่านั้นเองครับ
💥 คำที่คุณใช้อาจเป็นคำกลางๆ อย่างคำว่า ‘หนึ่ง’ ก็ได้ หรืออาจจะใช้ภาษาสันสกฤตที่เรียกกันว่า 𝗺𝗮𝗻𝘁𝗿𝗮 หรือ ‘มนต์’ หรือใช้คำที่มีความหมายต่อความรู้สึกมากๆ เช่น คำว่า ‘รัก’ แล้วให้คุณสังเกตตนดูว่าพอใช้คำนี้แล้วเกิดความรู้สึกอะไรที่พุ่งขึ้นมา
💥 จะใช้วัตถุทางสายตาแทนคำก็ได้นะครับ อย่างเทียนหรือดอกไม้ หรือคุณจะใช้วิธีโบราณอย่างการกำหนดลมหายใจก็ได้ ด้วยการนับลม หายใจเข้าและลมหายใจออกเป็น 𝟭 ครั้ง
ลองทำ “สมาธิฟองอากาศ“ ดูนะครับ แล้วคุณจะแปลกใจถึงผลลัพธ์ของมัน
★ 𝗯𝘂𝗯𝗯𝗹𝗲 𝗺𝗲𝗱𝗶𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 คือการใช้อุบายหนึ่งนำจิตเข้าสู่สมาธิ อุบายที่พระบ้านเราท่านใช้สอนฆราวาสคือท่อง "พุทโธ" กับลมหายใจเข้าออก หรือท่อง "ยุบหนอ" เมื่อหายใจออกแล้วท้องแฟบ "พองหนอ" เมื่อหายใจเข้าแล้วท้องพองเพื่อให้รู้ว่าทำถูกต้องแล้ว นั่นก็เรียกว่า "มนต์” หรือ 𝗺𝗮𝗻𝘁𝗿𝗮 เช่นกัน
การสวดมนต์จึงเป็นการทำภาวนาบารมีอีกรูปแบบหนึ่ง ช่วยให้จิตรวมศูนย์สู่สภาวะสู่สมาธิ แม้ไม่รู้ความหมายของบทสวดที่เป็นภาษาละติน หรือบาลีก็ตาม แต่เสียงของถ้อยคำที่สละสลวยของบทสวดมนต์จะทำให้จิตเกิดความนิ่งและสงบ ณ ขณะนั้น ทำให้ไม่วอกแวกได้ แต่เดี๋ยวนี้หนังสือสวดมนต์ของพุทธมีคำแปลไทยที่แพร่หลาย ซึ่งยิ่งสำหรับชาวพุทธจะได้เข้าใจคำแปลได้ลึกซึ้งขึ้น เช่น บทสวดคาถาชินบัญชร เป็นต้น
อุบายการเข้าสมาธิอีกแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เป็นวิธีที่แพร่หลายมากคือให้ใช้สติจับลมหายใจที่ผ่านเข้าออกรูจมูกโดยไม่ต้องท่องคำใดๆ เรียกว่า 𝗯𝗿𝗲𝗮𝘁𝗵𝗶𝗻𝗴 𝗺𝗲𝗱𝗶𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 หรืออานาปานสตินั่นเอง
การพัฒนาสมาธิไปจนถึงขั้นฌาน (ซึ่งความจริงแล้วคำว่า 𝗺𝗲𝗱𝗶𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 แปลตรงตัวว่าการเข้าสมาธิถึงระดับฌาน) ก็จะเพิ่มการ "เพ่ง" ที่เราเรียกว่า ‘กสิณ’ นั่นเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องอภินิหารบุญญาบารมีเฉพาะเกจิอาจารย์หรือคนนั่งทางในเลย เป็นเพียงการนำธรรมชาติมากำหนดให้จิตจดจ่อและฝึกให้สายตาชินกับสิ่งนั้นจนมองเห็น "ชัดแจ้ง" ในวัตถุที่เราจับจ้องมองหรือสัมผัส ก่อให้เกิดจิตนิ่งระดับสมาธิลึกและเห็นสิ่งที่ละเอียดที่สุดเกินกว่าจะมองได้ด้วยตาธรรมดา เช่น การนำเอาไฟของเทียนมากำหนดจิตเรียกว่า ‘กสิณไฟ’ เอาน้ำในแก้วหรือดินมากำหนดการฝึกเพ่งก็เรียกว่า ‘กสิณน้ำ’ ‘กสิณดิน’ ถ้าเราใช้ลมหายใจก็เรียกว่า ‘กสิณลม’ : ผู้แปล
(มีต่อ)
โฆษณา