“เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยวิธีลัด”
🍃 เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาน ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ซึ่งเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง
บุคคล ย่อมไม่กําหนัดยินดี ในจักษุ
ย่อมไม่กําหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ
ย่อมไม่กําหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม
เมื่อบุคคลนั้นไม่กําหนัดยินดีแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว
ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่
ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป
และ ตัณหา อันเครื่องนํามาซึ่งภพใหม่
ประกอบอยู่ด้วย ความกําหนัด
ด้วยอํานาจแห่งความเพลิน
ทําให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป
ความกระวนกระวาย ทางกายและทางจิต ก็ละไป
ความแผดเผา ทางกายและทางจิต ก็ละไป
ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิต ก็ละไป
บุคคลนั้นย่อมเสวยความสุข ทั้งทางกายและทางจิต
ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ
ความดําริของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสังกัปปะ
ความเพียรของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาวายามะ
สติของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสติ
สมาธิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสมาธิ
ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ ของเขา
บริสุทธิ์อยู่แล้วแต่เดิม
(ดังนั้นเป็นอันว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ
มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่ ในบุคคลผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น)
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า
อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘) แห่ง บุคคลผู้รู้ผู้อยู่เห็นอยู่เช่นนั้น
ย่อมถึงซึ่งความบริบูรณ์ แห่งภาวนา
ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อเขาทําอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญอยู่อย่างนี้
สติปัฏฐานสี่ ... สัมมัปปธานสี่ ... อิทธิบาทสี่ ... อินทรีย์ห้า... พละห้า... โพชฌงค์เจ็ด ...
ย่อมถึงความงอกงามบริบูรณ์ได้แท้.
ธรรมสองอย่างของเขา คือ สมถะและวิปัสสนา
ชื่อว่าเข้าคู่กันได้อย่างแน่นแฟ้น...
(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ(กาย) และมนะ(ใจ)
ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน)
.
รับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Podcast ▶️