Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
4 ก.พ. 2022 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
The Economics of grief : การวัดมูลค่าของความเศร้าโศกด้วยเศรษฐศาสตร์
ตอนนี้ฉันรู้แล้วว่าความตายมันง่ายนิดเดียว การมีชีวิตอยู่ต่อให้ได้ต่างหากที่ยาก
(I realize now that dying is easy. Living is hard.)
13
การสูญเสียคนที่เรารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียลูก เป็นความทุกข์ทรมานที่สุดที่ชีวิตคนๆ หนึ่งจะประสบพบเจอ แต่อย่าลืมว่าความสูญเสียมันไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงแค่ในวันที่คนที่เรารักจากไป มันยังคงอยู่ไปเรื่อยๆ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และการทำงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่หลายคนอาจไม่ทันนึกถึง
2
วันนี้ Bnomics จะเล่าถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความเศร้าโศกเมื่อต้องสูญเสียคนที่รัก ผ่านหนังเรื่อง If I Stay เรื่องราวของมีอา ฮอลล์ (แสดงโดย โคลอี เกรซ มอเรตซ์) ที่ต้องเลือกว่าจะจากไป หรือจะมีชีวิตอยู่ต่อ ในวันที่ทั้งครอบครัวของเธอประสบอุบัติเหตุ และเธอเป็นเพียงคนเดียวที่มีโอกาสรอดชีวิต
1
📌 การวัดมูลค่าของความเศร้าโศกเมื่อต้องสูญเสียลูก
ต้องขอบอกก่อนว่าอันที่จริงแล้วชีวิตคนเราคงไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ แต่การประเมินมูลค่าของความโศกเศร้าเมื่อสูญเสียลูกนั้น เป็นการวัดในเชิงของผลิตภาพ สุขภาพ และการทำงานของพ่อแม่ ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรหลังเกิดความสูญเสียครั้งนั้น
งานวิจัยชื่อว่า The Economics of Grief ที่ถูกตีพิมพ์ลงใน IZA Institute of Labor Economics ได้ทำการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลระยะยาวของพ่อแม่ชาวสวีเดน ที่ลูกเสียชีวิตในช่วงระหว่างปี 1993 - 2003 โดยมุ่งไปที่การเสียชีวิตอย่างไม่ตั้งใจ เช่น อุบัติเหตุจราจร, การจมน้ำ หรือการพลัดตก เพื่อหาผลกระทบต่อพ่อแม่ในระยะยาวด้วยเศรษฐมิติ โดยพิจารณาข้อมูลทั้งในเรื่องของรายได้, การจ้างงาน, การใช้สวัสดิการว่างงานและลาป่วย, การสมรส, และสุขภาพของพ่อแม่ เพื่อให้เห็นภาพว่าการสูญเสียลูกนั้นส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผลทางเศรษฐกิจนั้นก็ไปส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ อย่างไร
📌 ผลต่อการทำงานและรายได้ของพ่อแม่หลังการสูญเสียลูก
การลดลงของรายได้นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่พ่อแม่ตัดสินใจออกจากตลาดแรงงานไป และอีกส่วนหนึ่งมาจากการที่พ่อแม่ลาป่วยบ่อยๆ (อาจเนื่องมาจากปัญญาทางจิตใจ) จากงานวิจัยพบว่าการเสียชีวิตของลูกนั้นส่งผลกระทบทางลบโดยทันทีกับรายได้ของพ่อแม่ ซึ่งอันนี้ไปเรื่องที่มองเห็นได้ง่ายอยู่แล้ว จากการที่พ่อแม่อาจจะต้องหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เพื่อมาจัดการธุระต่างๆ ให้เรียบร้อย
ทีนี้งานวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมว่ารายได้ในระยะยาวหายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ซึ่งก็พบว่า 6 ปีภายหลังจากการสูญเสีย มูลค่าของผลกระทบนี้สำหรับคนที่เป็นแม่ จะอยู่ที่ประมาณ 2,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี (คิดเป็น 12% ของรายได้) ในขณะที่สำหรับพ่อจะอยู่ที่ 2,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยเมื่อเทียบสัดส่วนกับเงินได้ก่อนหน้าการสูญเสีย จะคิดเป็นราวๆ 10% ของรายได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจนำไปสู่ผลกระทบที่ถาวรเลยคือการออกจากงานไปเลย
จากงานวิจัยพบว่าสำหรับแม่ โอกาสที่จะออกจากงานเพิ่มขึ้น 2.1% ในระหว่างปีที่สูญเสียลูก และจะเพิ่มขึ้นไปถึง 6.3% ภายในสองปีต่อมา ซึ่งก็ไปในแนวทางเดียวกับพ่อคือ โอกาสที่จะออกจากงานเพิ่มขึ้นเป็น 2% ในปีนั้นๆ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.7% ในอีกสองปีต่อมา
1
นอกจากนี้ การออกจากงาน หรือการที่รายได้ลดลงมากหลังจากการสูญเสีย ยังก่อให้เกิดผลทางลบในด้านอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพที่แย่ลง และความสัมพันธ์ในชีวิตแต่งงานที่สั่นคลอน
2
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ระหว่างการสูญเสียลูกชายกับลูกสาว หรือระหว่างการสูญเสียลูกที่ยังเล็กกับลูกที่โตแล้ว ผลกระทบต่อรายได้ของพ่อแม่ดังที่กล่าวมาข้างต้นจะเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ งานวิจัยนี้ก็ได้ให้คำตอบมาแล้วว่า สำหรับแม่นั้นไม่ว่าจะสูญเสียลูกเพศใด ก็มีผลกระทบไม่ต่างกัน ในขณะที่ผลกระทบต่อพ่อจะมีแนวโน้มมากกว่า หากลูกที่เสียไปเป็นเพศชาย
📌 เมื่อสูญเสีย ความสัมพันธ์ในชีวิตแต่งงานจึงเสียศูนย์
1
การสูญเสียลูกนั้นอาจส่งผลต่อความมั่นคงของชีวิตแต่งงาน งานวิจัยจึงได้ศึกษาต่อถึงอัตราการหย่าร้างที่เกิดหลังการสูญเสียลูก ก็พบว่าสำหรับแม่ มีความเสี่ยงที่จะหย่าเพิ่มขึ้น 3.3% ในปีที่สูญเสียลูก และเพิ่มขึ้นเป็น 5.3% เมื่อผ่านไป 6 ปี ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกับพ่อ ที่ 6 ปีหลังการสูญเสียลูก โอกาสที่จะยังคงอยู่กับภรรยาคนเดิมลดลงไป 3.6% ผลลัพธ์นี้จึงชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียลูก ส่งผลกระทบต่อชีวิตแต่งงาน (อาจมาจากแนวคิดที่ว่าพอลูกตายไปแบบไม่คาดคิด ส่งผลให้ผลประโยชน์จากการแต่งงานลดน้อยลง)
1
และเมื่อเจาะลึกลงไปดูต่อว่า พ่อแม่ที่ออกจากงานหลังสูญเสียลูก กับพ่อแม่ที่ยังทำงานต่อ มีอัตราการหย่าร้างต่างกันอย่างไร ผลก็ออกมาว่า ไม่ว่าพ่อแม่จะออกจากงานหรือไม่ออกจากงานหลังเหตุการณ์ความสูญเสียนั้นก็ตาม ทั้งคู่มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่เป็นสามีภรรยาต่อน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่ที่ออกจากงาน จะมีโอกาสหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
📌 สุขภาพกายและสุขภาพใจที่ย่ำแย่
การสูญเสียลูก ย่อมเกิดผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของพ่อแม่อยู่แล้ว แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น งานวิจัยนี้จึงโฟกัสถึงโอกาสที่พ่อแม่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามหลังการสูญเสียลูก โดยผลการวิจัยพบว่าในปีถัดมาหลังจากการสูญเสีย แม่มีโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 23.7% ส่วนสำหรับพ่ออยู่ที่ 12.1% และทั้งคู่มีโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาเนื่องจากอาการทางจิตใจเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าผลกระทบสำหรับแม่จะกินเวลานานกว่า ในขณะที่สำหรับพ่อจะถูกกระทบเพียง 2 ปี หลังจากการการสูญเสีย
2
ทั้งหมดที่กล่าวมา สิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้พยายามฉายภาพให้ทุกคนเห็นคือ “ชีวิตหลังผ่านความสูญเสีย ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป”
การสูญเสียลูก ส่งผลให้พ่อแม่หลายคนมีรายได้ลดลง และมีแนวโน้มที่จะออกจากงาน ทั้งยังส่งผลทางลบต่อความสัมพันธ์ในชีวิตแต่งงาน และกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งไม่ว่าลูกที่เสียชีวิตจะอายุเท่าไหร่ เป็นลูกคนที่เท่าไหร่ หรือครอบครัวมีขนาดแค่ไหน ผลกระทบจากความสูญเสียนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกัน
ความสูญเสียมันไม่ได้จบแค่ในวันที่คนๆ หนึ่งจากไป แต่คนที่ยังอยู่ข้างหลังยังต้องใช้ชีวิตต่ออย่างยากลำบาก ดังนั้นการมีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุและลดการเสียชีวิต คงเป็นทางที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุสะเทือนใจเช่นนี้ แต่หากเหตุเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ควรทำได้คือการมีนโยบายที่คอยเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มพ่อแม่ที่สูญเสียนี้ ไม่ให้ความเศร้านั้นทำให้เสียศูนย์จนต้องออกจากตลาดแรงงานไป และตามมาด้วยผลกระทบทางลบอื่นๆ ไม่รู้จบจนกลายเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว
4
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
1
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
https://ftp.iza.org/dp7010.pdf
(The Economics of Grief โดย Gerard J. van den Berg, Petter Lundborg และ Johan Vikström)
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐกิจ
ชีวิต
64 บันทึก
30
5
61
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
64
30
5
61
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย