Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“เศรษฐกิจไทย” คาดว่าจะฟื้นตัวได้หลังกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง
📌 ผลกระทบของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ปี 2564 หลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รัฐบาลไทยก็ได้มีมติให้ยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศแบบไม่ต้องกักตัวภายใต้โครงการ Test & Go และ Sandbox สำหรับ 63 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ที่ต้องการเดินทางมาประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเข้าระบบกักตัวเต็มรูปแบบตามเดิม
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าประเทศไทยได้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทั้งสิ้นจำนวนกว่า 230,500 คนในช่วงเดือนธันวาคม โดยถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และทั้งปี 2564 ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้นประมาณ 430,000 ราย ยังคงน้อยกว่าปี 2563 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวราว 6.7 ล้านคน (เนื่องจากไตรมาสแรกปี 2563 ประเทศไทยยังไม่ได้มีมาตรการปิดประเทศ จึงทำให้นักท่องเที่ยวยังคงเดินทางมาในจำนวนมาก)
รูปที่ 1: จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.2 สูงสุดในรอบ 9 เดือน และเพิ่มขึ้นจาก 44.9 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าจะมีโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน แพร่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ทำให้ประชาชนคลายความกังวลลง
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมกราคม 2565 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.2 จาก 49.0 ในเดือนก่อนหน้า เพราะผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อราคาต้นทุนที่อาจปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (ราคาน้ำมันดิบ Brent อยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ในช่วงที่ผ่านมา) นอกจากนั้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการบางกลุ่ม โดยเฉพาะในธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม หรือภาคบริการอื่น ๆ
รูปที่ 2 : ดัชนีความเชื่อมั่น
📌 ภาคการผลิตของไทย
อ้างอิงจากข้อมูลของ IHS Markit ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 55 ในเดือนมกราคม 2565 ปรับลดลงจาก 57.7 ในเดือนธันวาคม 2564 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ที่ 56.7 และขยายตัวได้ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน ซึ่งโดยปกติแล้วหากดัชนี PMI สูงกว่า 50 จะชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ การชะลอตัวลงของการผลิตนั้นเป็นผลมาจากปัญหาด้าน Supply Chain การขาดแคลนแรงงาน และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเกือบ 1 ล้านรายต่อวันในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา
ในยูโรโซน ดัชนี PMI ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 59 สูงสุดในรอบ 5 เดือนและสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 57.5 แม้ว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะขัดขวางการผลิตในโรงงานหลายแห่ง โดยการผลิตขยายตัวได้ในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ในขณะที่เวลาการจัดส่งสินค้าโดยรวมเฉลี่ยลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2564
PMI ของจีนลดลงมาอยู่ที่ 49.1 ในเดือนมกราคม 2565 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนยังคงประสบกับปัญหาการล็อกดาวน์จากโควิด-19 ทั่วประเทศ ผลสำรวจจาก Reuters ระบุว่าดัชนีคาดว่าจะลดลงเหลือ 50.4 จาก 50.9 ในเดือนธันวาคม ซึ่งจะยังคงชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ การที่ดัชนีออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์เช่นนี้ทำให้ตลาดมองว่ารัฐบาลจีนอาจต้องออกมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น
ทางด้านภาคการผลิตของประเทศไทย เริ่มกลับมาขยายตัวได้ในเดือนมกราคม โดยดัชนี PMI พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 51.7 เพิ่มขึ้นจาก 49.5 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง และอัตราการฉีดวัคซีนที่มากขึ้น โดยผู้ประกอบการไทยได้มีการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนสินค้า ส่งผลทำให้สต็อกวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบหลายเดือน
รูปที่ 3: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Manufacturing PMI)
แหล่งที่มา: Markit PMI, Macrobond
📌 ภาพรวมเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กลับมาเปิดระบบลงทะเบียน Test & Go สำหรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสสามารถลงทะเบียนเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว
ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขใหม่นักท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ทั้งหมด 2 ครั้งด้วยกัน ในวันแรกและวันที่ 5 ของการเดินทางเข้าไทย แต่ผู้เดินทางสามารถเดินทางมาได้จากทุกประเทศทั่วโลก (จากเดิมกำหนดไว้ที่เพียง 63 ประเทศ)
เศรษฐกิจไทยในระยะถัดไปคาดว่าจะฟื้นตัวได้จากการเปิดประเทศ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง และการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงแก่ประชากรไทย กระทรวงการคลังยังคงตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP ไทย ในปี 2565 นี้ที่ 4% และมีการปรับเพิ่มประมาณการปี 2564 เป็น 1.2% จากเดิม 1% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุนหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและมาตรการสนับสนุนทางการคลังที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่วนทางธนาคารเรามองว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ 4.5% และยังคงประมาณการปี 2564 ที่ 1% ตามเดิม
ในส่วนของนโยบายทางด้านการเงิน แบงก์ชาติมีแนวโน้มที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ต่อไปตลอดทั้งปี 2565 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวยังไม่ได้เต็มที่มากนัก โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ค่าเงินบาทคาดว่าจะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ราว 32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
รูปที่ 4: ค่าเงินบาท เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
#เศรษฐกิจไทย #ประเทศไทย #ตลาดหุ้นไทย #ค่าเงินบาท #อุตสาหกรรม
#Bnomics #Global_Economic_Update #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
⏬ Download PDF File
https://www.bnomics.co/wp-content/uploads/2022/02/BBL_070222.pdf
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ผู้เขียน :
ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ :
ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
ตลาดหุ้น
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทย
6 บันทึก
5
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
6
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย