Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
13 ก.พ. 2022 เวลา 12:19 • ไลฟ์สไตล์
“ฝึกในรูปแบบและในชีวิตประจำวัน ต่างกันอย่างไร ?“
“ … การปฏิบัติเบื้องต้น
ก็ให้เริ่มต้นด้วยความผ่อนคลาย ผ่อนคลายสบาย ๆ
นั่งก็สบาย ยืนก็สบาย เดินก็สบาย ผ่อนคลายสบาย ๆ
ระลึกรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เสมอ
ทำความรู้สึกตัวขึ้นมาได้เนือง ๆ
ใหม่ ๆ สติมีกำลังน้อย
รู้สึกตัวขึ้นมาประเดี๋ยวประด๋าว
เดี๋ยวใจก็เผลอไปแล้ว ไหลไปในอารมณ์ต่าง ๆ
นึกได้ก็ดึงกลับ หมั่นทำความรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เสมอ
ทำให้มาก เจริญให้มาก
การฝึกในเบื้องต้น แนะนำว่า เริ่มต้นฝึกในรูปแบบก่อน
จะช่วยให้เราตั้งสติได้ง่ายขึ้น
การฝึกในรูปแบบนั้นเป็นอย่างไร ?
ก็คือการนั่งสมาธิ
กับการเดินในรูปแบบ ที่เรียกว่า เดินจงกลมนั่นเอง
คำว่า เดินจงกลม ก็คือ เดินกลับไปกลับมาในพื้นที่ที่เรากำหนด
แล้วมันต่างจากการฝึกในชีวิตประจำวันอย่างไร ?
การฝึกในชีวิตประจำวัน เรามีสิ่งที่ต้องคิด ต้องกังวล ต้องทำต่าง ๆ มาก จะทำให้ใจเราไหลไปกับสิ่งที่เราทำ หรือสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เรากำลังตั้งใจอยู่ มันจะทำให้เราตั้งสติได้ยากนั่นเอง แต่ผู้ที่มีความชำนิชำนาญแล้วย่อมทำได้
การฝึกในรูปแบบ ก็คือ เป็นช่วงที่เราตัดภาระภายนอกออกไป เพื่ออยู่กับกายกับใจ จะทำให้เราตั้งสติได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
เปรียบเหมือนเราจะเอาไม้ไปปักในเลน ที่มีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวอยู่ มันตั้งได้ยาก กระแสน้ำย่อมพัดให้ไม้ล้มลงไปเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราเอาไม้ไปปักในเลนที่น้ำนิ่ง ๆ มันย่อมตั้งปักหลักได้ง่ายกว่านั่นเอง
เพราะฉะนั้นเบื้องต้น เราควรที่จะแบ่งเวลา ในการฝึกปฏิบัติที่มีรูปแบบ ช่วงเวลาที่เรานั่งสมาธิหรือเดินจงกลม อาจจะเริ่มจากเดินก่อน เพื่อทำความรู้สึกตัวให้ตื่นตัวขึ้นมาก่อน แล้วก็ค่อย ๆ เข้าสู่การนั่งปฏิบัตินั่นเอง
การฝึกปฏิบัติใหม่ ๆ เราจะพบว่า จิตไม่ค่อยอยู่กับตัวหรอก มันซ่านไปเยอะมากเลย ก็คิดเรื่องงานบ้าง เรื่องรถ เรื่องสารพัดสารเพ ไม่ค่อยอยู่กับตัวหรอกช่วงแรก ก็หมั่นดึงกลับ ๆ ค่อย ๆ ฝึกไป
ช่วงแรกเราจะนั่งปฏิบัติได้ไม่นาน บางทีนั่งได้ ๕ นาทีก็เบื่อแล้ว หรือว่ารู้สึกอึดอัดแล้ว หรือบางทีก็หลับไปเลยก็มี
ใหม่ ๆ ก็ค่อย ๆ ทำ เริ่มต้นจาก ๕ นาทีก่อนก็ได้ แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป็น ๑๐ นาที ๑๕ นาที อาจจะเป็นช่วงเช้ายกหนึ่ง กลางวันยกหนึ่ง เย็นยกหนึ่ง
ค่อย ๆ ฝึกไป สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าเราต้องหักโหม ฝึกตะบี้ตะบันให้มาก สิ่งสำคัญคือการที่มีความเพียร ฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอนั่นเอง
เคล็ดลับ คือ การฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอ
ฝึกแต่น้อย แต่ฝึกบ่อย ๆ แล้วฝึกเป็นประจำ
กลับได้ผลที่ดีกว่านั่นเองนะ
ช่วงแรกก็อาจจะค่อย ๆ นั่ง ๕ นาที พอแล้วก็ค่อยกลับมานั่งใหม่ ฝึกใหม่ ค่อย ๆ ฝึกไป ถ้าเราเพียรฝึกบ่อย ๆ เราจะพบว่าเราจะเริ่มค่อย ๆ นั่งได้ดีขึ้น ดีขึ้น ๆ เรื่อย ๆ นั่นเอง
บางครั้งเรานั่งขัดสมาธิไม่ถนัด เราจะนั่งเก้าอี้ก็ได้ ท่านั่งที่ถูกต้องก็คือ นั่งแล้วมันสบาย รู้สึกมั่นคง สันหลังตรง นั่งสบาย รู้สึกมั่นคง ก็ใช้ได้แล้วนะ
การปฏิบัติจะลืมตาหรือหลับตาก็ได้ ก็ค่อย ๆ ฝึกไป สิ่งสำคัญคือเราฝึกสติ คือ ความระลึกรู้สึกตัวขึ้นมานั่นเองนะ
พอเราเพียรฝึกไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวมันจะค่อย ๆ มากขึ้น ๆ นั่นเอง
ทีนี้ถ้าสามารถเริ่มเข้าสู่ช่วงที่นำฝึกได้เลย ช่วงเช้า ช่วงค่ำ จะพบว่าจะใช้เวลาฝึกค่อนข้างจะนานแล้วนะ ยืนเดิน ก็ประมาณครึ่งชั่วโมง นั่งก็ประมาณ ๔๐ นาที ถ้าเราเริ่มต้น เราก็ค่อย ๆ ฝึกเท่าที่เราได้นั่นแหละ แล้วค่อย ๆ ฝึกไป
เวลาฝึก สังเกตว่าจะมีการนำเข้าสภาวะต่าง ๆ มันเป็นผลนะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปคาดหวังว่ามันจะเกิดสภาวะตามที่นำ มันจะเกิดไม่เกิดก็ค่อย ๆ ฝึกไป ให้เราสร้างเหตุ คือทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอนั่นเอง … “
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
youtube.com
ฝึกในรูปแบบและในชีวิตประจำวัน | ธรรมให้รู้•2565 : ตอนที่ 37
เยี่ยมชม
Photo by : Unsplash
4 บันทึก
12
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เกล็ดธรรมคำครู
4
12
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย