12 ก.พ. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์กรุงปักกิ่ง ใจกลางการปกครองของจีน 800 ปี
1
ในหน้าประวัติศาสตร์ของทั่วโลก มีเมืองจำนวนไม่มากเท่านั้น ที่ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงประเทศยาวนานใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับที่กรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของจีน
5
ด้วยระยะเวลาในฐานะเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ที่แทบจะยาวนานต่อเนื่องประมาณ 800 ปี ทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าใจที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์จีนอย่างสมบูรณ์ โดยไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของกรุงปักกิ่งด้วย
ในบทความนี้ Bnomics จึงจะมาเล่าเรื่องของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยากจะมีเมืองหลวงใดในโลกมาเทียบได้
5
📌 ประวัติศาสตร์ยุคก่อนเป็นเมืองหลวง
3
ร่องรอยการใช้ชีวิตของมนุษย์ในบริเวณปักกิ่งเริ่มขึ้นมาเป็นเวลานับแสนปีแล้ว จากการค้นพบหลักฐานโครงกระดูกของ “มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man)” ที่มีการประเมินกันว่า ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 770,000 – 230,000 ปีที่แล้ว ถือเป็นหลักฐานที่แสดงการใช้ชีวิตของมนุษย์กลุ่มแรกๆ ของโลก
(เกร็ด: บางคนอาจจะบอกว่า มนุษย์ปักกิ่ง ไม่ใช่เผ่าพันธุ์เดียวกับมนุษย์ปัจจุบันอย่างสมบูรณ์ แต่เป็นแค่เพื่อนที่ใกล้กัน เพราะ มนุษย์ปักกิ่งจัดอยู่ในสปีชีส์โฮโมอีเร็กตัส (Homo Erectus) แต่มนุษย์ในปัจจุบันจัดอยู่ในสปีชีส์โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapien) ที่จะมีช่วงเวลาการใช้ชีวิตที่เหลื่อมๆ กัน )
แต่ด้วยลักษณะการใช้ชีวิตของผู้คนในอดีต ที่ยังไม่ได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกเหตุการณ์อย่างชัดเจน ทำให้มีช่วงเวลาที่ประวัติศาสตร์ของปักกิ่งหายไป ไม่แน่ชัด
จนถึงยุครณรัฐ (Warring States) หรือประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว ที่แผ่นดินจีนแบ่งเป็นรัฐเล็กๆ 7 รัฐ รบราแย่งที่ดินกันอยู่ ก็มีหลักฐานแสดงความสำคัญของพื้นที่กรุงปักกิ่งยุคแรก
1
ที่ตอนนั้นเป็นเมืองหลวงของหนึ่งในรัฐย่อยที่สำคัญอย่าง “รัฐเยียน” โดยในสมัยนั้นรัฐเยียนยังไม่ได้ใช้ชื่อเมืองหลวงว่า ปักกิ่ง แต่ใช้ชื่อว่า “จี้ (Ji)”
แต่รัฐเยียนก็คงอยู่ได้ไม่นาน เพราะพ่ายแพ้สงครามกับรัฐฉิน ที่ต่อมาก็ได้ตั้งเป็นราชวงศ์แรกที่รวบรวมแผ่นดินจีนได้เบ็ดเสร็จ นั่นคือ “ราชวงศ์ฉิน (221 – 207 ปีก่อนคริสตกาล)”
1
ในยุคของราชวงศ์ฉินต่อเนื่องเรื่อยมาอีกหลายร้อยปี พื้นที่ของปักกิ่งในปัจจุบัน ก็ยังมักจะถูกเรียกว่า “เยียน” ตามชื่อรัฐผู้ปกครองในสมัยรณรัฐอยู่ และก็ไม่ได้ถูกใส่ใจมากเท่าใดนัก
3
และมีหลายช่วงเวลาที่ถูกผลัดกันปกครองทั้งจากราชวงศ์ของจีนเอง และบางช่วงก็ยังถูกปกครองจากผู้บุกรุกทางเหนือด้วย
จนกระทั่งในสมัยของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 907) พื้นที่บริเวณนี้ก็ถูกยึดครองกลับมา และถูกให้ความสำคัญมากขึ้นอีกครั้ง ในฐานะเป็นเมืองกันชน ป้องกันการรุกรานจากดินแดนภาคเหนือของจีน และทำหน้าที่เป็นเส้นทางการติดต่อการค้าด้วย
3
อย่างไรก็ดี มันก็ไม่สามารถป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่นได้ตลอดรอดฝั่ง ทั้งจากชาวแมนจูและชาวมองโกลที่ผลัดกันเข้ามาครอบครองพื้นที่นี้และแผ่นดินจีนได้ในบางช่วง โดยยอดนักรบผู้พิชิตจากทางเหนือที่คนทั่วไปรู้จักกันดี ก็คือ “เจงกิส ข่าน”
📌 เริ่มแรกของฐานะเมืองหลวง
ในยุคสมัยของเจงกิส ข่าน หรือก็คือ สมัยราชวงศ์หยวน (หรือจะเรียกว่า ราชวงศ์มองโกลก็ได้) นี่เอง ที่บทบาทของพื้นที่บนสุดบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของจีน หรือ ปักกิ่งในปัจจุบัน ขยับขึ้นมาถูกใช้เป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ ที่ปกครองทั้งแผ่นดินจีนครั้งแรก
3
โดยหลานชายของเจงกิส ข่าน ที่ถูกแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน อย่าง “กุบไล ข่าน” ได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงออกมาจากเมือง Karakorum ในดินแดนมองโกล และมาตั้งอยู่ที่ในจีนแทน ตั้งชื่อว่า “Dadu” แปลว่า “เมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่ (Great Capital”)
📌 ที่มาของชื่อ ปักกิ่ง (Peking หรือ Beijing)
เล่ามาถึงตรงนี้ เรายังไม่รู้ที่มาของชื่อ “ปักกิ่ง” กันเลย ซึ่งชื่อนี้เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ที่เป็นผู้เอาชนะราชวงศ์หยวนนั่นเอง
แต่ในช่วงเริ่มแรกของรัชสมัยของจักรพรรดิหงอู่ ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์หมิง ก็ไม่ได้ใช้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวง แต่ย้ายเมืองหลวงไปที่ นานกิง (หรือบางคนอาจจะเรียกว่า หนานจิง) ซึ่งเป็นมณฑลที่อยู่ทางตอนใต้ของเมืองหลวงเดิมของราชวงศ์หยวน และตั้งชื่อให้กับเมืองหลวงเดิมว่า “เป่ยผิง (Beiping)” ที่แปลว่า เมืองแห่งความสงบด้านเหนือ (Northern Peace)
3
และได้แต่งตั้งลูกชายที่มีชื่อว่า “จูตี้” เข้าไปปกครองที่เป่ยผิง ซึ่งต่อมาจูตี้ก็ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ที่สามของรางวงศ์หมิง จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ เมืองที่ตนปกครอง และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ปักกิ่ง” ที่แปลว่า “เมืองหลวงทางเหนือ (Northern Capital)”
3
(เกร็ด: คำว่า นานกิง ที่จริงก็มีความหมายว่า “เมืองหลวงทางใต้ (Southern Capital”) จากการที่ย้ายเมืองหลวงมาทางใต้จากเดิมในตอนแรกนั่นเอง)
1
📌 พื้นที่และการออกแบบเมืองในยุคราชวงศ์และจักรวรรดิ
สิ่งที่น่าสนใจของปักกิ่งอย่างหนึ่ง ก็คือ ดินแดนเมืองหลวงแห่งนี้ มีรากฐานแตกต่างจากเมืองหลวงส่วนใหญ่ของโลก ณ เวลานั้นไม่น้อย
กล่าวคือ ปกติเมืองหลวงจะเป็นเมืองที่ทำเกษตรกรรมได้ดี มีแม่น้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ไหลผ่าน หรือ เป็นดินแดนที่ทำการค้าขายได้มากมายกว่าดินแดนอื่นในอาณาจักร แต่บทบาทของปักกิ่งในตอนนั้น กลับเป็นเหมือนเมืองที่เป็นศูนย์กลางในการปกครองและคอยบริโภคสินค้าที่ส่งมาจากเมืองอื่น
ทำให้ในสมัยราชวงศ์หยวน ที่มีการใช้บริเวณนี้เป็นเมืองหลวง ต้องมีการขุดลอกคูคลองที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุยให้กลับมาใช้งานได้ดี เพื่อให้สามารถส่งสินค้าและอาหารมาจากดินแดนทางใต้ได้สะดวก
โดยคลองนี้ มีชื่อว่า “The Grand Canal” ทำหน้าที่เชื่อมทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเหลือง เป็นคลองมนุษย์สร้างที่มีความยาวมากที่สุดในโลก (1,776 กิโลเมตร) และได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกด้วย
1
และประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของปักกิ่ง ก็คือ การปกป้องเขตพระราชวัง โดยมีการวางรากฐานการสร้างป้อมปราการและกำแพงเมืองป้องกัน ตั้งแต่ในสมัยของราชวงศ์หยวน และก็ได้ถูกต่อเติมมาในสมัยราชวงศ์หมิง
1
ความพิเศษของกำแพงเมืองปักกิ่ง คือ มันจะมีทั้งกำแพงเมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก จึงทำให้บางคนเรียกปักกิ่งว่าเป็น “เมืองสองกำแพง (Two Walled Cities)”
แล้วก็ยังมีกำแพงส่วนที่เป็นเขตพระราชฐาน ข้างในก็ยังมีกำแพงส่วนของพระราชวังต้องห้ามด้วย แสดงถึงการให้ความสำคัญในการปกป้องหัวใจในการบริหารราชการแผ่นดินและองค์จักรพรรดิ
 
แม้ในปัจจุบัน กำแพงส่วนใหญ่ได้ถูกทำลายเพื่อไปสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น แต่ก็ยังคนมีบางส่วนที่รักษาไว้ เพื่อให้ชาวจีนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชื่นชมร่องรอยทางประวัติศาสตร์ได้
📌 ปักกิ่งในยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจากที่มีการย้ายเมืองหลวงไปสู่นานกิงเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปักกิ่งก็ได้กลับมามีบทบาทในฐานะเมืองหลวงอีกครั้ง และก็ถูกพัฒนาไปจากเดิมอย่างมาก
เริ่มจากการวางผังเมืองที่ส่งเสริมเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ
  • 1.
    โซนกลาง ที่เป็นพื้นที่เขตพระราชฐานและพระราชวังต้องห้าม ที่ได้ทำถูกอนุรักษ์และเปิดเป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ และก็ยังพื้นที่ของหน่วยงานรัฐบาล
  • 2.
    โซนชานเมือง ที่มีการตั้งโรงงานการผลิต โรงเรียน พื้นที่อาศัย รวมถึงห้างร้านต่างๆ เป็นการปฏิรูป บทบาทของปักกิ่งแบบเดิมที่เป็นผู้แค่ผู้บริโภค แต่ปรับมาเป็นผู้ผลิตและย่านการค้าที่ทันสมัยตามโลกด้วย
  • 3.
    โซนรอบนอก ที่เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร และการใช้งานด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ทำให้ปักกิ่งสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านอาหาร ที่ระบบชลประทานสมัยใหม่ก็ทำให้ปักกิ่งปลูกพืชพันธ์ได้มากกว่าเดิม ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปักกิ่งกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับสองประเทศ ไม่ใช่แค่เมืองแห่งการบริหารอีกต่อไป
การเติบโตอย่างต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ก็ยังดึงดูดให้มีประชากรอพยพเข้ามาสู่ปักกิ่งเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
จากที่ในสมัยราชวงศ์และจักรวรรดิ ปักกิ่งจะมีประชากรอยู่ที่ประมาณ 700,000 – 1,200,000 คน ก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 20 ล้านคนในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ความทันสมัยและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของปักกิ่ง ก็ได้มีโอกาสแสดงออกสู่สายตาของชาวโลก ผ่านการจัดโอลิมปิกเมื่อปี 2008 ซึ่งเป็นเหมือนสัญญาณให้นานาชาติเห็นว่า ปักกิ่งและจีนกำลังจะกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ในเวทีโลกอีกครั้ง...
#จีน #เศรษฐกิจจีน #ประวัติศาสตร์จีน #ปักกิ่ง #Beijing #Peking
#Bnomics #All_About_History #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
หนังสือ Sapien A Brief History of Humankind by Yuval Noah Harari

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา