14 ก.พ. 2022 เวลา 02:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ศัพท์ S&T ทันโลก ตอน 6
โพรไบโอติกส์, พรีไบโอติกส์ และซินไบโอติกส์ (ตอน 2)
"พรีไบโอติกส์"
คำว่า “พรีไบโอติกส์ (prebiotics)” นี้ มีนักวิทยาศาสตร์ชื่อ มาร์เซล รอเบิร์ตฟรอยด์ (Marcel Roberfroid) นิยามไว้ค่อนข้างชัดเจนดีในวารสารชื่อ Journal of Nutrition ฉบับเดือน มี.ค. 2007 ว่าเป็น
ส่วนประกอบในอาหารที่ได้จาการหมักด้วยวิธีการที่คัดสรรมาแล้ว จนทำให้เกิดการเปลี่ยนอย่างจำเพาะทั้งในแง่ขององค์ประกอบและการทำหน้าที่ของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านมีสุขภาพดี
-  มาร์เซล รอเบิร์ตฟรอยด์
สารพวกพรีไบโอติกส์จึงมีหน้าที่ไปกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของจุลินทรีย์หรือทำให้พวกมันทำหน้าที่ได้ดีขึ้น จนทำให้สิ่งมีชีวิตเจ้าบ้านมีสุขภาพที่ดีขึ้นไปด้วยในที่สุด
จุลินทรีย์ทั้งหมดในทางเดินอาหารของเราเรียกรวมๆ ว่าเป็น ไมโครไบโอม (microbiome) ซึ่งมีความจำเพาะของระบบนิเวศรอบตัวมันสูงมาก เรียกว่าต่างกันไปในแต่ละคนขนาดที่มีคนเสนอว่าเอามาทำ “ลายพิมพ์” ทำนองเดียวกับลายนิ้วมือก็ยังได้
Flat vector created by macrovector - www.freepik.com
สารพรีไบโอติกส์ไม่ได้จำกัดแค่จำพวกที่ทานเข้าไปนะครับ มีครีมมอยเจอร์ไรเซอร์ (moisturizer) บางชนิดในต่างประเทศที่ใช้ทามือ ซึ่งอ้างว่าเป็นพรีไบโอติกส์เพราะช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์บนผิวหนังด้วย ในกลุ่มพรีไบโอติกส์ที่กินได้นั้นปกติจะเป็นสารจำพวกเส้นใย (fiber) ที่ย่อยไม่ได้ในทางเดินอาหารส่วนบน แต่แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยได้ จึงไปกระตุ้นการเติบโตหรือการทำงานของแบคทีเรียได้
Photo by Calum Lewis on Unsplash
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์คือ พวกมันมีสมบัติเป็นอาหารกึ่งยา ตัวอย่างของพรีไบโอติกส์คือ เพกติน (pectin) บีตา-กลูแคนส์ (beta-glucans) อิโนลิน (inulin) และทรานส์-กาแล็กโตโอลิโกแซกคาไรด์ (trans-galactooligosaccharide) ฯลฯ
ยังมีอีกคำหนึ่งที่มาแรงแม้จะยังไม่ฮิตเท่ากับโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ก็ตาม นั่นก็คือ ซินไบโอติกส์ (synbiotics) ... อ่านได้ตอนหน้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา