15 ก.พ. 2022 เวลา 11:11 • ปรัชญา
“การละอวิชชาโดยตรง”
🍃 ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น
ภ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!  
ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอ
ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?
พ : ภิกษุ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่แล ...ฯลฯ...
ภ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!  
ธรรมอย่างหนึ่ง นั้นคืออะไรเล่าหนอ ...ฯลฯ...?
พ : ภิกษุ! อวิชชานั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น
ภ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!  
เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?
พ : ภิกษุ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว
ย่อมมีอยู่ว่า
“สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น
(ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา) (สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย)” ดังนี้.
ภิกษุ!  ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้
ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น
ดังนี้แล้ว ไซร้
ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง
ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง
ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ภิกษุนั้นย่อมเห็นซึ่ง นิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง
โดยประการอื่น
ย่อมเห็นซึ่ง (จักษุ) โดยประการอื่น
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยประการอื่น
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยประการอื่น
(โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน)
ภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
🍃 การเห็นซึ่งความไม่เที่ยง
ภ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ!  
ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอ
ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?
พ: ภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่ง (จักษุ)
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุวิญญาณ ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุสัมผัส ...ฯลฯ...
เมื่อภิกษุ รู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งเวทนา
อันเป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
(โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน )
ภิกษุ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
.
รับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Podcast ▶️
โฆษณา