“ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผล”
🍃 ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข้
ถ้า ธรรม ๕ ประการ
ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด
ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้
คือ เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว
🎐 ธรรม ๕ ประการ คือ
๑. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
๒. เป็นผู้ มีความสําคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่
๓. เป็นผู้ มีความสําคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่
๔. เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่
๕. มีมรณสัญญา อันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่
🍃 ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของบุคคลทั่วไป
🍂 บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม
เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ
ผู้นั้นพึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้
ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง
กล่าวคือ อรหันตผลในทิฏฐธรรม (ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว
หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิ (เชื้อ) เหลืออยู่
ธรรม ๕ ประการนั้น คือ
๑. มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายในนั่นเทียว
เพื่อเกิดปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย
๒. มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย
๓. มีความสําคัญว่าปฏิกูลในอาหาร
๔. มีความสําคัญว่าในโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี
๕. มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
…
🍂 ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญ กระทําให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว (เอกนฺต นิพฺพิท)
เพื่อความคลายกำหนัด (วิราค)
เพื่อความดับ (นิโรธ)
เพื่อความสงบ (อุปสม)
เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญ)
เพื่อความรู้พร้อม (สฺมโพธ)
เพื่อนิพพาน
🍂 ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทําให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
🍂 ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทําให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติ เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นอานิสงส์
ย่อมมีปัญญาวิมุตติ เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสงส์
ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ 🎐… ฯลฯ …
เมื่อใดภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เมื่อนั้นภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ (๑) ดังนี้บ้าง
ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ (๒) …
ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ (๓) …
ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ (๔) …
ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ (๕) …
คือ :
(๑) เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้
(๒) เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนําให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้
(๓) เป็นผู้ละตัณหาเสียได้
(๔) เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียไดั
(๕) เป็นผู้ละอัส๎มิมานะเสียได้
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา
.
รับฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Podcast ▶️