Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทย์-ชีวะ-ชีวิต
•
ติดตาม
18 ก.พ. 2022 เวลา 07:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ศัพท์ S&T ทันโลก ตอน 8
สตาร์ตอัป (Startup) ตอน 1
คำที่มาแรงสักพักใหญ่ๆ แล้วคือ คำว่า “สตาร์ตอัป (Startup)” มีการตีฆ้องร้องป่าวของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐว่า จะสนับสนุนและผลักดันให้สตาร์ตอัปเติบโต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้น “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” ซึ่งหมายถึง อาการที่ประเทศเพิ่มรายได้ต่อหัวประชากรไม่ได้ เพราะไม่มีแรงผลักจากผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่เป็นมูลค่าเพิ่ม จากงานแบบเดิมๆ ที่เน้นการใช้แรงงานราคาถูกหรือขายผลผลิตราคาถูก และการเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาใช้เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม
แต่สตาร์ตอัปคืออะไรกันแน่ และจะช่วยประเทศได้มากขนาดนั้นหรือไม่ ลองมาดูกันครับ
สตาร์ตอัปคืออะไรกันแน่?
คำว่าสตาร์ตอัปอาจย้อนกลับไปได้ถึงยุค “ฟองสบู่ดอทคอม (dot-com bubble)” ในราว ค.ศ.1997-2000 โดยบอกว่าบริษัทดอทคอมทั้งหลายก็เป็นสตาร์ตอัปในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง
มาดูความหมายแบบทางการนิดนึงก่อน หน่วยงานบริหารธุรกิจขนาดเล็กของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Small Business Administration) นิยามสตาร์ตอัปว่าเป็น
ธุรกิจที่มักต้องอาศัยเทคโนโลยีและมีศักยภาพการเติบโตได้มาก
U.S. Small Business Administration
อันนี้ก็จะเห็นได้ว่าเน้นเรื่องเทคโนโลยีกับการเติบโตเป็นหลัก บางครั้งเราจึงเห็นคนใช้คำว่า “เทคสตาร์ตอัป (Tech Startup)” เพื่อเน้นย้ำว่า เป็นสตาร์ตอัปที่แนบแน่นกับเทคโนโลยีเป็นพิเศษ
https://pixabay.com/illustrations/startup-start-up-growth-hacking-1993900/
นิยามอีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นของกูรูด้านธุรกิจสองคนคือ สตีฟ แบล็งก์ (Steve Blank) และบ๊อบ ดอร์ฟ (Bob Dorf) ที่สรุปว่ามันคือ
องค์กรที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการค้นหาโมเดลธุรกิจที่ทำซ้ำได้และปรับขนาดได้ (scalable
Steve Blank & Bob Dorf
จะเห็นว่าแตกต่างกับแบบแรกคือ ไม่ได้พูดถึงเทคโนโลยีหรือการเติบโตเลย แต่เน้นตรงต้องค้นหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่มีสเปกพิเศษคือ “ทำซ้ำได้” และ “ปรับขนาด” ได้
คงเริ่มเห็นนะครับว่า นิยามเน้นกันไปคนละเรื่องเลย
สิ่งที่แบล็งก์กับดอร์ฟเน้นย้ำก็คือ สตาร์ตอัปต้องไม่ใช่รูปแบบของบริษัทขนาดย่อส่วนของบริษัทที่ใหญ่กว่า แต่มันควรจะเป็นองค์กรแบบชั่วคราวที่ทำหน้าที่ค้นหาผลิตภัณฑ์หรือตลาดซึ่งเหมาะกับโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
The Startup Curve graph https://yourstory.com/mystory/d90c9e8f6b-the-startup-curve-journey-of-an-entrepreneur/amp
ลองดูกันอีกสักแบบครับ
อันนี้เป็นนิยามโดย พอล เกรแฮม (Paul Graham) “สตาร์ตอัป คือบริษัทที่ออกแบบให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว การเป็นบริษัทเกิดใหม่ไม่ได้ทำให้เป็นสตาร์ตอัป อีกทั้งสตาร์ตอัปก็ไม่ใช่งานที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเท่านั้น .... สิ่งสำคัญที่สุดมีเพียงเรื่องเดียวคือ “การเติบโต” ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเกี่ยวข้องกับสตาร์ตอัปล้วนเกี่ยวข้องและเป็นผลมาจากการเติบโตของมันทั้งสิ้น”
เกรแฮมคิดว่าสตาร์ตอัปเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหายากๆ ที่ธุรกิจในปัจจุบันยังแก้ไม่ได้ นิยามนี้ถือได้ว่าเป็นนิยามที่มีคนเอามาเน้นย้ำกันในเมืองไทยมากว่า สตาร์ตอัปต้องโตได้รวดเร็วมากๆ
ยังมีอีกบางคนที่มองว่าจะเป็นสตาร์ตอัปได้เต็มขั้น ควรจะต้องเป็นธุรกิจที่ใหม่และไปทำลายรูปแบบของธุรกิจหรือตลาดในรูปแบบเดิมลง เรียกว่ามีความเป็น นวัตกรรมล้มล้าง (disruptive innovation) กันเลยทีเดียว ดังจะยกตัวอย่างต่อไป
คราวหน้ามาต่อกันว่า สตาร์ตอัป กับ เอสเอ็มอี ต่างกันยังไงครับ?
https://pixabay.com/photos/computer-office-laptop-desk-4484282/
เศรษฐกิจ
เทคโนโลยี
1 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ศัพท์ S&T ทันโลก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย