Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทย์-ชีวะ-ชีวิต
•
ติดตาม
21 ก.พ. 2022 เวลา 02:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ศัพท์ S&T ทันโลก ตอน 8
สตาร์ตอัป ตอน 2 (จบ)
สตาร์ตอัปต่างจากเอสเอ็มอีอย่างไร
Photo by Markus Winkler on Unsplash
จากนิยามทุกแบบข้างต้นอาจสรุปได้ว่า สตาร์ตอัปก็อาจถือเป็นเอสเอ็มอีแบบหนึ่งก็คงได้ แต่ไม่ใช่ว่าเอสเอ็มอีทุกเจ้าจะเป็นสตาร์ตอัปได้ เพราะมันขึ้นกับว่าคุณกำลังทำโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่พร้อมปรับขนาดอย่างเร็วหรือเข้าไปแทนที่ธุรกิจเดิมหรือไม่
เพื่อให้เห็นภาพคงต้องยกตัวอย่าง แอมะซอน (Amazon) ที่เป็นเว็บไซต์ขายหนังสือและสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เอาเข้าจริงบริษัทนี้ให้บริการผ่านเว็บไซต์อย่างเดียว โดยไม่มีหน้าร้านแบบ “ร้านหนังสือดั้งเดิม” เลยมาช้านาน (แต่กำลังจะเปิดเป็นจุดๆ) อูเบอร์ (Uber) ให้บริการแท็กซี่กับผู้โดยสาร โดยที่บริษัทไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์เลยแม้แต่คันเดียว ทำนองเดียวกัน แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) ที่บริษัทไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพักเองแม้แต่ห้องเดียว
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ตัวอย่างที่ยกมา อาศัยพลังของอินเทอร์เน็ตในการ “ให้บริการ” ผ่านเว็บไซต์และแอป ซึ่งมีรูปแบบผิดกับการให้บริการแบบเดิมๆ
แต่กลับใช้แก้ปัญหาแบบเดิมๆ เช่น สั่งซื้อยาก หาของไม่เจอ โบกไม่ค่อยจอดหรือรับ มาก็ไม่ค่อยตรงเวลา บริการก็ไม่ดี หรือไม่ก็แพงเกินไป ฯลฯ
Photo by Mika Baumeister on Unsplash
ในเรื่องของเงินทุนที่ใช้ประกอบธุรกิจนั้น สตาร์ตอัปก็ใช้โมเดลธุรกิจหลายรูปแบบ บางอย่างก็คล้ายกับบริษัททั่วไป เช่น มีการหาผู้ร่วมลงทุนหรือควักกระเป๋าของตัวเองลงไปก่อน แต่บางอย่างก็ต่างออกไป เช่น ปัจจุบันผลงานแบบไฮเทคหลายชิ้นก็ระดมทุนผ่านทาง “คราวด์ฟันดิง (crowdfunding)” โดยทำวิดีโอสั้นๆ ไปแปะลง “เว็บไซต์ระดมทุน” เช่น เว็บไซต์ คิ๊กสตาร์ตเทอร์ (Kickstarter)
บอกเล่าว่า ผลิตภัณฑ์ของตนน่าสนใจอย่างไร และหากผู้สนับสนุนต้องการช่วย จะได้รับอะไรตอบแทนหรือไม่อย่างไร โดยมีกำหนดเวลาชัดเจนว่า จะส่งมอบผลิตภัณฑ์กันเมื่อไหร่ ผ่านทางวิธีการแบบใด เป็นต้น
วิธีการระดมแบบนี้ได้รับความนิยมมาก บ้านเราก็มีเว็บไซต์ระดมทุนอยู่เหมือนกัน เช่น เว็บไซต์ Readery และเว็บไซต์
afterword.co
ในหลายประเทศธุรกิจสตาร์ตอัปเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับวัฒนธรรม “เมกเกอร์ (Maker)” ที่เน้นการลงมือทำด้วยตัวเอง ดัดแปลงปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่วางขายทั่วไปให้ตรงใจมากที่สุด แถมยังชอบเผยแพร่หรืออัปโหลดขึ้นไว้ในบนอินเทอร์เน็ตให้คนอื่นทำตามอีกด้วย (แน่นอนว่าบางอย่างก็เก็บไว้เป็นความลับเพื่อผลิตจำหน่าย) จนกระทั่งไปส่งผลทางเศรษฐกิจได้ในที่สุด
Photo by Lagos Techie on Unsplash
ดังนั้น พอเห็นหน่วยงานรัฐให้ความสนใจกับสตาร์ตอัปแล้วก็ดีใจครับ แต่แอบหวังต่อไปว่าการสนับสนุนจะไปถึงสตาร์ตอัปตัวจริงเสียงจริง ไม่ได้เป็นการย้อมแมวบริษัทใดอื่นซึ่งไม่ใช่สตาร์ตอัปแม้แต่น้อย และควรสนับสนุนวัฒนธรรม “เมกเกอร์” ให้เข้มแข็งไปด้วยพร้อมๆ กัน โดยอาจเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมสะเต็ม (STEM) ศึกษาในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ
หากทำได้เช่นนี้ก็อาจจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้จริง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คืออาจเป็นวิถีของวัฒนธรรมสร้างสรรค์แบบใหม่ๆ ที่จะเกิดกับเยาวชนและคนไทยทั่วไปต่อไปในอนาคตอันใกล้ได้
*** สนับสนุนผู้เขียนได้ด้วยการกด Like, Share และ Follow ***
เศรษฐกิจ
startup
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ศัพท์ S&T ทันโลก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย