Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มองโลกผ่าน CRITICAL THINKING
•
ติดตาม
21 ก.พ. 2022 เวลา 18:48 • ประวัติศาสตร์
ภูมิหลังความขัดแย้งในยูเครน #ตอนที่ 2#
เมื่อยูเครนต้องยืนหยัดขึ้นเองหลังจากได้รับเอกราชใน ค.ศ.1991 หลากหลายปัญหาก็รุมเร้าเข้ามาและหนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือ ปัญหาด้านพลังงาน ทางออกที่เป็นไปได้ในเวลานั้นคือการซื้อน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเพื่อมาใช้เป็นพลังงานในยูเครน ส่งผลให้เกิดภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมทุจริตของ นาย Viktor Yanukovych ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของยูเครน ที่ทำให้ประชาชนยูเครนไม่พอใจจนเกิดการปฏิวัติที่ใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ (Orange Revolution) ใน ค.ศ.2004 แต่ท้ายที่สุด นาย Yanukovych ก็ยังคงได้รับเลือกตั้งต่อไปเพราะเสียงสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันตกซึ่งฝักใฝ่รัสเซีย
ต่อมารัฐบาลของ นาย Yanukovych ประสบปัญหาด้านการเงิน ประกอบกับมีการใช้อำนาจหาทางจัดการด้วยกฎหมายกับคู่อริทางการเมืองด้วยข้อหาต่างๆ ส่งผลให้ผู้นำ Austria, Czech , Germany, Italy และ Slovenia ร่วมกันคว่ำบาตรโดยไม่เข้าร่วมการประชุมผู้นำของ Central and East Europe ที่จัดขึ้นที่เมือง Yalta ของยูเครน ใน ค.ศ.2011 และในปีต่อมาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights) ได้ยื่นมือเข้ามาปกป้องผู้ถูกกลั่นแกล้งทางการเมืองฯ อีกทั้งมีการยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีให้กับยูเครนโดยสหภาพยุโรป (European Union, EU)
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดเป็นชนวนสำคัญที่นำมาสู่ความขัดแย้งต่างๆ ในปัจจุบัน เพราะ นาย Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซียไม่อาจรับได้กับการที่ EU ใช้พลังอำนาจทางเศรษฐกิจเจาะเข้ามายัง “ยูเครน, กำแพงเบอร์ลินแห่งรัสเซีย”
ดังนั้นรัสเซียจึงยื่นข้อเสนอในการให้เงินช่วยเหลือแก่ยูเครน บนเงื่อนไขที่ต้องปฏิเสธข้อเสนอของ EU ทำให้ประชาชนยูเครนที่ฝักใฝ่ EU จำนวนหลายแสนคนในกรุง Kiev รวมทั้งพื้นที่ภาคกลาง และพื้นที่ภาคตะวันตก จึงรวมตัวชุมนุมประท้วง Euromaidan ตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.2013 เพื่อเรียกร้องให้
นาย Yanukovych ลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี โดยการประท้วงในครั้งนั้น ถือเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป ทั้งนี้บางกระแสข่าวระบุว่าสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังการประท้วง Euromaidan
การประท้วงยุติลงเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2014 เมื่อ นาย Yanukovych หนีไปลี้ภัยที่รัสเซีย ตามด้วยการประกาศจับของตำรวจสากล (INTERPOL) ต่อ นาย Yanukovych ในข้อหาพยายามปกปิดบัญชีทรัพย์สิน แต่ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันตกกลับมิได้เห็นด้วยกับการที่ยูเครนแสดงจุดยืนที่ชัดเจน คือ โน้มเอียงไปทำการค้าเสรีกับ EU ทำให้รัสเซียใช้เป็นข้ออ้างสร้างเหตุผลในการกำลังทหารเข้าพิทักษ์ประชาชนที่มีความผูกพันทางวัฒนธรรมและใช้ภาษารัสเซียในพื้นที่คาบสมุทรไครเมีย ด้วยแนวคิดแบบ De Facto Annexation (การผนวกควบรวมดินแดนโดยยึดหลักความจริงด้านเชื้อชาติ ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดแบบ De Jure Annexation ที่ยึดหลักข้อตกลงทางด้านกฎหมาย) สร้าง “กำแพงเบอร์ลินแนวใหม่แห่งรัสเซีย” ทดแทนยูเครน
สถานการณ์ในยูเครนกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากการเลือกตั้งในพฤษภาคม ค.ศ.2014 ที่ได้ นาย Petro Poroshenko มาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 ของยูเครน แต่ปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นคือ การสู้รบกับกลุ่มกบฎในพื้นที่ภาคตะวันตก (ภูมิภาค Donbass) ได้แก่ เมือง Luhansk และ Donetsk ที่พรมแดนติดกับรัสเซีย ตลอดจนการแก้ไขปัญหาเรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูเครนที่ติดลบอยู่ประมาณ 8%
การวางตัวกับต่างชาติโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจท่ามกลางวิกฤติเช่นนั้นจึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง
ทั้งนี้ผลของมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ของสหรัฐฯ และ EU ส่งผลให้ นาย Putin หันมาทำการเจรจากับ นาย Poroshenko ที่กรุง Minsk เมืองหลวงของ Belarus เมื่อกันยายน ค.ศ.2014 ซึ่งสุดท้ายเมื่อไม่บรรลุข้อตกลงการเจรจา รัสเซียจึงสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาค Donbass เพื่อสร้าง “กำแพงเบอร์ลินแนวใหม่แห่งรัสเซีย” ทดแทนยูเครนภายใต้แนวคิด De Facto Annexation ขึ้นอีกครั้ง ภายใต้ชื่อ Donetsk People's Republic, DPR และ Luhansk People's Republic, LPR ที่จะกลายเป็นรัฐกันชน (Buffer State)
กระทั่งกุมภาพันธ์ ค.ศ.2015 เยอรมันและฝรั่งเศส ได้เข้ามาเป็นตัวกลางในการช่วยให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงในภูมิภาค Donbass ยังให้เกิดความสงบเรื่อยมาและกลับมาปะทุอีกครั้งในปัจจุบัน ทั้งนี้ รศ.ดร.จิตติภัทร พูนขำ, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงยูเครน ในมุมมองของรัสเซียว่า*อ้างอิง7* “ปัญหายูเครนภาคตะวันออก จะไม่สามารถหาทางออกได้เลย ถ้าหากไม่สามารถบรรลุประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ
1. การเคารพและยอมรับสิทธิและเสรีภาพของคนพูดภาษารัสเซียในยูเครน
2. ยูเครนควรจะเป็นสหพันธรัฐมีการกระจายอำนาจเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มอำนาจและรับฟังท้องถิ่นมากขึ้น การพยายามคงรูปแบบรัฐเดี่ยวต่อไปจะไม่อาจแก้ไขปัญหาพหุสังคมของยูเครนได้ และอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดการแบ่งแยกดินแดนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
3. ยูเครนควรมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลาง ไม่เข้าไปอยู่ข้างตะวันตกมากจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ NATO ซึ่งรัสเซียมองว่าเป็นภัยคุกคามโดยตรงที่ค่อยๆ สยายปีกเข้ามาในบริเวณ The Boarderland ของรัสเซียมากขึ้นทุกทีๆ
4. ยูเครนควรร่วมมือกับรัสเซียในด้านพลังงาน ทั้งนี้เนื่องจากยูเครนเป็นรัฐทางผ่าน (Transit State) หรือรัฐที่มีท่อของรัสเซียซึ่งส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังชาติต่างๆ ในยุโรป โดยมีการส่งออกผ่านยูเครนคิดเป็นร้อยละ 80 ของการส่งออกก๊าซทั้งหมดของรัสเซีย (ข้อมูลในช่วง Annexation of Crimea)
นอกจากนี้ยูเครนยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียจำนวนมหาศาล ซึ่งก็ทำให้ยูเครนเป็นหนี้สาธารณะต่อรัสเซีย ล่าสุด การเจรจาระหว่างยูเครนกับ Gazprom บริษัทพลังงาน ของรัฐรายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย ล้มเหลว โดยยูเครนไม่สามารถจ่ายหนี้คืนให้แก่ Gazprom ได้ Gazprom จึงตัดก๊าซธรรมชาติให้แก่ยูเครนในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ.2014 ซึ่งนับว่าเป็นวิกฤตการณ์พลังงานรอบใหม่ (ก่อนหน้าก็เคยมีการตัดก๊าซธรรมชาติในเดือนมกราคม ค.ศ.2006 และ ค.ศ.2009 ในสมัยรัฐบาล Viktor Yushchenko ซึ่งนิยม EU และสหรัฐฯ) โดยสรุป รัสเซียเชื่อว่าสงครามจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ หากรัฐบาลยูเครนยินยอมปฏิบัติตามข้อเสนอดังกล่าว”
และทั้ง 4 ข้อนี้ เปรียบเป็นทางออกของปัญหาการเผชิญหน้าที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างรัสเซีย กับยูเครนในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2565) โดยเฉพาะข้อ 3.ซึ่งก็คือแนวทางที่เรียกว่า Finlandization*อ้างอิง8*
References
BBC. Tymoshenko case: Europe pressure on Ukraine intensifies. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.bbc.com/news/world-europe-17892514
รศ.ดร.ทิพรัตน์ บุบผะศิริ. พินิจวิกฤติยูเครน Exploring the Ukraine crisis [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/21c9e9e591fcac1688ecf6f6cb5537d6
Legal English. De Facto/ De Jure. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://onlinelaw.wustl.edu/blog/legal-english-de-factode-jure/
The World Bank. CIS Country. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://one-europe.info/debates/eurocrisis-europe-eu-euro
MINISTRY OF FOREIGN AFFAIRS OF THE DONETSK PEOPLE'S REPUBLIC. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://mid-dnr.ru/en/
Lugansk News Today. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://lugansk-news.com/
รศ.ดร.จิตติภัทร พูนขำ. ปกิณกะ: ปัญหายูเครนภาคตะวันออก -- มุมมองของรัสเซีย. 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/index.php?option=com_content&view=article&id=19%3Atest-4&catid=14&Itemid=142
Merriam-Webster. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.merriam-webster.com/dictionary/Finlandization
ยูเครน
ประวัติศาสตร์
1 บันทึก
7
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Road to Crisis “Russia Ukraine”
1
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย