25 ก.พ. 2022 เวลา 12:16
“มโหสถชาดก”
อันช้าง ม้า โค มณี และนารี ย่อมมีในสกุลมั่งคั่ง ของผู้มีทรัพย์ ผู้มียศมีทรัพย์ จึงนับว่าเป็นผู้ประเสริฐ
เสนกะ
ทรัพย์ของคนเขลาผู้ไม่มีปัญญา จัดการงานย่อมเสื่อมลง
ผู้ไม่เป็นปัญญา แม้มียศทรัพย์ ก็หาประเสริฐไม่
มโหสถ
1
แสตมป์วันอาสาฬหบูชา 2540
จำหน่ายวันแรก 19 กรกฎาคม 2540 พิมพ์ที่ เฮลิโอคูร์วัวซิเอร์ เอส. เอ. สวิตเซอร์แลนด์
แสตมป์ชุดนี้ ครบชุดมี 4 ดวงเช่นกัน พิมพ์เป็นรูปทศชาติชาดก คือ มโหสถชาดก ภูริทัตชาดก จันทรชาดก และนารถชาดก
ทั้ง 4 ภาพ เป็นภาพที่ชนะการประกวดในงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย 2538 ด้วยนะ
เริ่มที่ ชนิดราคา 3 บาท พอมพ์ออกมา 3,000,000 ดวง เป็นภาพ “มโหสถชาดก”
แสตมป์ อาสาฬหบูชา 2540
ทศชาติ 5 พระมโหสถ “บำเพ็ญปัญญาบารมี”
ในกาลที่ล่วงมาแล้วนมนาน พระเจ้าวิเทหราชได้เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา มีบัณฑิตประจำสำนักถึง 4 คน มีนามว่า เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ
คืนนึงพระเจ้าวิเทหราชฝันประหลาด จนกระทั่งตกใจตื่น
หลังจากเสด็จออกว่าราชการเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตรัสเล่าเรื่องความฝันกับบัณฑิตประจำราชสำนักทั้ง 4 คนว่า
“มีกองเพลิงอยู่ 4 กอง ในมุมพระลานมุมละกอง มีกองไฟเล็กนิดเดียวอยู่ตรงกลาง และกองไฟนั้นใหญ่ขึ้นๆ ส่องแสงสว่างไปทั่วจักรวาล พวกประชาชนพลเมืองพากันวิ่งอยู่ในกองไฟนั้นโดยไม่รู้สึกร้อนเลย ข้าพเจ้าเองกลัวจนเหงื่อแตกไปหมด ท่านอาจารย์ลองพิจารณาดูทีหรือว่าจะเป็นอย่างไร จะมีอันตรายกับตัวข้าพเจ้าหรืออาณาจักรบ้างหรือไม่”
อาจารย์ทั้ง 4 ทูลว่า เป็นฝันที่ดี จะมีผู้มีปัญญาวิเศษมาเกิด และจะได้เข้าร่วมในสำนักราชบัณฑิต พระราชาจึงส่งราชบุรุษออกสืบหา
ในบ้านทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา ในเวลาคลอดมือถือแท่งยาออกมาแท่งหนึ่ง เศรษฐีผู้เป็นบิดาปวดศรีษะมาถึง 7 ปี ใช้ยานี้รักษาก็หายเป็นปลิดทิ้งไปเลย
ประชาชนทราบข่าวก็พากันมาขอยาวิเศษเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เหมือนน้ำในสระโกสินารายณ์
เพราะมียารักษาประชาชนนี่เอง เวลาตั้งชื่อจึงได้ขนานนามว่า “มโหสถ” (ยาที่ยิ่งใหญ่)
เศรษฐีผู้บิดาได้ให้สืบถามว่ามีเด็กเกิดในวันเดียวกับมโหสถมีบ้างไหม ก็ได้กุมารพันคน ในหมู่บ้านนั้น
เศรษฐีผู้บิดาก็ให้อุปถัมภ์เลี้ยงดูกุมารเหล่านั้นเป็นอันดีเพื่อเอาไว้เป็นเพื่อนเล่นของเจ้ามโหสถ จัดหานางนมให้กุมารทั้งพันเหล่านั้น
นับตั้งแต่นั้นมา มโหสถก็ได้เพื่อนเล่นที่รุ่นราวคราวเดียวกันพันคน
เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ได้พาเพื่อนออกไปวิ่งเล่น ขณะนั้นเองได้เกิดฝนตก เด็กๆ ก็พากันวิ่งหนีฝนไปเข้าร่มไม้ชายคา เด็กนับพันก็ชนกันหกล้มหกลุก แข้งขาถลอกปอกเปิก
แต่สำหรับมโหสถที่ stamina ดีกว่าเด็กเหล่านั้น ก็วิ่งเข้าหลบฝนได้เสมอ โดยไม่ต้องไปชนกับใครถึงต้องบาดเจ็บ จึงมาคิดจะหาวิธีที่เด็กเหล่านั้นจะไม่ต้องบาดเจ็บ
จึงประกาศให้เด็กเหล่านั้นทุกๆ คนนำทรัพย์มาให้เขาคนละ 1 กหาปณะ เพื่อสร้างศาลาสำหรับเป็นที่พักในสนามเล่น
ศาลรมี 4 ห้อง คือ ห้องสำหรับคลอดลูกของคนยากจน 1 ห้อง สำหรับสมณพราหมณ์มาพัก 1 ห้อง สำหรับคนเดินทางที่ผ่านไปมา 1 ห้อง สำหรับพ่อค้าซึ่งมีที่สำหรับเก็บสินค้า 1 ห้อง เมื่อศาลาสำเร็จก็ให้ช่างเขียนจิตรกรรมในศาลานั้นอย่างงดงาม
เมื่อล่วง 7 ปีไป พระเจ้าวิเทหราชทรงคิดได้ถึงฝันครั้งก่อน รวมถึงคำพยากรณ์ของนักปราชญ์ประจำราชสำนักทั้ง 4 ท่าน ก็ได้ทรงส่งคนออกไปตรวจดูทั้ง 4 ทิศ ว่าจะมีผู้ใดมีลักษณะที่จะเป็นบัณฑิตตามนิมิตของพระองค์ได้
คนที่ไปทางทิศตะวันออก เมื่อเข้าไปถึงหมู่บ้านของศิริวัฒกะเศรษฐีผู้บิดาของเจ้ามโหสถ ได้เห็นศาลามโหสถทำไว้ ตลอดจนได้ฟังกิตติศัพท์ของมโหสถ ก็นำสิ่งที่ตนได้เห็นและได้ฟังไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช ซึ่งพระองค์ก็เห็นว่าคงเป็นนักปราชญ์แน่แล้ว แต่เมื่อตรัสถามเสนกะก็กลับได้รับคำตอบว่า
“อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ เพราะการสร้างศาลาเท่านั้นจะจัดว่าเป็นนักปราชญ์ไม่ได้”
พระเจ้าวิเทหราชยังไม่ทรงรับเจ้ามโหสถมา แต่ก็ได้ส่งคนออกไปสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว
ถึงแม้ มโหสถอายุเพียง 7 ขวบ แต่ก็สามารถวินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ ได้โดยไม่ผิดพลาด ศาลาหลังนั้นก็เลยกลายเป็นศาลของประชาชนไปโดยปริยาย มีเจ้ามโหสถเป็นผู้พิพากษา กิตติศัพท์อันนี้ก็เลื่องลือในไปที่ต่างๆ เช่น คดีเครื่องประดับ คดีขโมยด้าย คดีข้อพิพาทเรื่องลูก ศึกชิงเมีย หรือคดีลักวัว มโหสถใช้ไหวพริบโดยการสอบถามคู่กรณี ว่าให้วัวกินอะไร จากนั้นเอาใบประยงค์มาผสมกับน้ำกรอกปากโค ทำให้สำรอกออกมา จึงสามารถพิสูจน์ได้ แต่ทุกครั้งที่มโหสถแก้ไขปัญหาได้ เสนกะก็ทูลว่าใครๆ ก็ตัดสินได้ ให้พระราชารอดูไปก่อน
1
แต่คดีที่พีคคือ คดีที่พระอินทร์แปลงกายลงมาทดสอบมโหสถโดยการขโมยรถของชาวบ้าน เรื่องถึงมโหสถ แต่ในระหว่างที่คุยกันมโหสถรู้ได้ทันทีว่าคนผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ เพราะสังเกตเห็นว่าไม่กระพริบตา แต่จะพิสูจน์อย่างไรให้ประจักษ์แก่ทุกคน จึงได้ทดสอบโดยการให้รถม้าวิ่งไป โดยมีคู่กรณีทั้งสองวิ่งจับรถม้านั่นไว้ วิ่งไปสักพัก ชาวบ้านที่เป็นมนุษย์ก็หมดแรง แต่พระอินทร์ที่แปลงกายมายังคงวิ่งปร๋อ ถึงตรงนี้มโหสถจึงแฉโฉมหน้าที่แท้จริงของพระอินทร์ได้
เรื่องนี้ ทำให้ชื่อเสียงของมโหสถยิ่งปังเข้าไปอีก พระเจ้าวิเทหราชตัดสินใจรับตังมโหสถเข้าวัง แต่พราหมณ์เสนกะก็ยังคัดค้านว่า แค่นี้ยังวัดอะไรไม่ได้ ใครก็สั่งสอนพระอินทร์ได้ 🤣🤣🤣
จนวันนึง พระเจ้าวิเทหราชได้ตั้งปัญหาเพื่อจะทดสอบมโหสถเองโดยการเกลาต้นตะเคียนทั้งต้นให้เรียบเสมอกัน แล้วถามว่า ข้างไหนเป็นปลาย ข้างไหนเป็นโคน
มโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือก กลางท่อนไม้นั้น แล้วหย่อนลงในน้ำ ทางโคนหนักก็จมลง ส่วนทางปลายลอยน้ำ เท่านี้มโหสถก็ชี้ได้ว่า ทางไหนเป็นโคนทางไหนเป็นปลาย
ในที่สุดมโหสถก็ได้เข้าวัง ในฐานะบุตรบุญธรรมของพระราชา เมื่อได้เป็นราชบัณฑิต มโหสถได้แก้ปัญหาอีกหลายเรื่อง รวมทั้งปัญหาของพระนางอุทุมพรพระมเหสี ซึ่งช่วยชีวิตของพระนางไว้ได้
นับวัน ราชบัณฑิตทั้งสี่เสียฐานะมากยิ่งขึ้น จึงคิดอุบายใส่ร้ายมโหสถ จนพระราชาคิดว่ามโหสถทำผิดจริง ไม่ยอมให้มโหสถเข้าชี้แจง มโหสถต้องจากนางอมรเทวีผู้ภริยา หนีราชภัยไปเป็นช่างปั้นหม้อในตำบลอันห่างไกล
เมื่อมโหสถไม่อยู่ บัณฑิตทั้งสี่ก็เข้ามาก้อร้อก้อติกนางอมรเทวี แต่ก็ถูกนางอมรเทวีจัดการด้วยปัญญา ประจานให้เป็นที่อับอายต่อหน้าพระราชา พร้อมทั้งเปิดเผยเรื่องอุบายใส่ร้ายมโหสถ แต่พระราชาก็ไม่ได้เรียนมโหสถกลับมาแต่อย่างใด
ทีนี้ก็ร้อนถึงเทวดารักษาเศวตฉัตรต้องออกมาตั้งปัญหากับพระราชา ถ้าแก้ไม่ได้จะฆ่าพระราชาเสีย ราชบัณฑิต 4 คนก็แก้ไม่ได้ พระราชาให้คนออกตามหามโหสถจนพบ มโหสถแก้ปัญหาได้ และกลับเข้ารับราชการ แต่บัณฑิตทั้งสี่ยังปองร้ายมโหสถ วางแผนให้พระราชาไม่ไว้วางใจอีก จนถึงกับมอบพระขรรภ์ให้คอยฆ่ามโหสถ แต่มโหสถก็รอดชีวิตมาได้ ทั้งยังเปิดเผยความลับร้ายแรงของบัณฑิตทั้งสี่ให้พระราชาทรงทราบ พระราชาสั่งให้เอาบัณฑิตทั้งสี่ไปประหารเสีย แต่มโหสถทูลขอชีวิตไว้
ที่แคว้นปิลรัฐเมืองใหญ่คืออุดรปัญจาละ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเป็นผู้ครอบครอง มีรี้พลพหลโยธามากมาย แถมมีกุนซือที่แสนจะเฉียบแหลมชื่อเกวัฏด้วยผู้เหนึ่ง
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตคิดจะครอบครองทั้งชมพูทวีปด้วยการจัดงานเลี้ยงแล้ววางยาพิษพระราชาทั้ง 101 เมือง นกแขกเต้าที่มโหสถส่งไปสืบข่าวได้ยินเข้า จึงนำเรื่องมาบอก มโหสถจึงส่งคนไปทำลายงานเลี้ยงเพื่อช่วยชีวิตพระราชาเหล่านั้น ทำให้พระเจ้าจุลนีพรหมทัตโกรธมาก
ฝั่งพวกพระราชา 101 องค์ แทนที่จะนึกถึงคุณของมโหสถที่ช่วยให้รอดชีวิต กลับโกรธเคือง “กูจะกินเลี้ยงสักหน่อยก็มาเป็นก้างขวางคอ” แม้พวกไพร่พลก็เคียดแค้นไปตามๆ กัน เพราะอดกินนั่นเอง จึงร่วมกับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตยกทัพมาล้อมกรุงมิถิลา แต่มโหสถใช้สติปัญญาแก้ไขให้กรุงมิถิลารอดพ้นภัยสงครามมาได้
ต่อมา เกวัฏพราหมณ์วางแผนฆ่าพระเจ้าวิเทหราชกับมโหสถโดยเอาพระธิดาของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตขึ้นล่อ ว่าจะให้เสกสมรสด้วย แต่ต้องมาทำพิธีที่กรุงกัปปิลรัฐ พระเจ้าวิเทหราชหลงกลจะไปตามคำเชิญ แต่มโหสถขอล่วงหน้าไปจัดเตรียมสร้างวังประทับให้ก่อน
มโหสถสร้างวังใหม่ไว้ริมแม่น้ำนอกกรุงกัปปิลรัฐ โดยมีอุโมงค์ไปโผล่ที่ลานวังพระเจ้าจุลนีทางหนึ่ง กับโผล่ออกริมแม่น้ำอีกทางหนึ่ง
เมื่อถึงวันสำคัญ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตร่วมกับพระราชาทั้ง 101 กลับยกทัพมาล้อมวังใหม่ของพระเจ้าวิเทหราช มโหสถฉวยจังหวะส่งคนผ่านอุโมงค์ลอบเข้าไปในวัง จับตัวพระราชินีกับพระธิดาของพระเจ้าจุลนีฯ เป็นตัวประกัน แล้วพาพระเจ้าวิเทหะกับตัวประกันลอบหนีออกแม่น้ำ กลับไปกรุงมิถิลาได้
มโหสถวางนโยบายที่จะให้พระเจ้าจุลนียอมแพ้อย่างจริงจัง จึงได้ออกอุบายให้พระราชา 101 ลงในอุโมงค์และปิดขังไว้ ก็เป็นอันว่าเหลือพระเจ้าจุลนีพรหมทัตกับมโหสถเพียงสองต่อสองเท่านั้น
มโหสถได้เงือดเงื้ออาวุธ ทำทีจะพิฆาตองค์พระเจ้าจุลนีฯ เสีย ซึ่งทำเอาแทบสิ้นสติไปกับความกลัวตาย แต่ได้ให้คำมั่นสัญญากับพระเจ้าจุลนีฯ ว่า จะไม่คิดร้ายต่อไป แล้วก็ปล่อยให้พระราชาทั้ง 101 กับพระเจ้าจุลนีออกมา ครั้งนี้มโหสถทำให้พระเจ้าจุลนีฯ เลิกคิดร้ายต่อตนและยอมเป็นพ่อตาของพระเจ้าวิเทหราชด้วยดี
บำเพ็ญปัญญาบารมี = ทำใจให้เต็มด้วยปัญญา
สุวรรณสามชาดก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา