26 ก.พ. 2022 เวลา 03:43 • ความคิดเห็น
เมื่ออายุมากขึ้น ทำไมความสุขลดลง ?
จากงานวิจัยเรื่องความสุขในหลายประเทศ พบว่า อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะมีความสุขมากขึ้นครับ
โดยช่วงอายุที่คนเรามีความสุขต่ำสุดจะอยู่ราว ๆ อายุ 40-50 ปี (แต่ถ้ามีการปรับเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาจพบว่า อายุน้อยกว่า 40 ปี จะมีความสุขในระดับต่ำสุด) ซึ่งสอดคล้องกับคำว่า midlife crisis หรือวิกฤตวัยกลางคนมาก ๆ ครับ
ส่วนอายุน้อย ๆ ยิ่งมีความสุขมากครับ คงเพราะไม่มีภาระหน้าที่ และมุมมองต่อโลกที่ยังไม่กว้างขวางเท่าผู้ใหญ่
ความสัมพันธ์ของอายุและความสุขเหมือนตัว U ครับ (U-shape) ตามรูป (ดูเส้นสีเทา ส้ม หรือเหลือง: เมื่อควบคุมปัจจัย เรื่องรายได้ เพศ และการศึกษา)
ที่มา https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s10902-016-9830-1.pdf เส้นสีฟ้า เมื่อไม่ควบคุมปัจจัย เช่น รายได้ เพศ การศึกษา พบว่าอายุมากขึ้นความสุขยิ่งลด แต่เมื่อควบคุมปัจจัยดังกล่าว พบว่า เส้นกราฟจะเป็นรูปตัว U คือ ความสุขต่ำสุดเมื่ออายุราว 40-60 ปี ยิ่งอายุน้อยหรืออายุมากกว่านี้ ความสุขยิ่งมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ด้วยบริบทของสังคมในงานวิจัย ซึ่งประเทศส่วนใหญ่อยู่ทางยุโรป อาจไม่สามารถมาสรุปผลเหมือนเมืองไทยได้ครับ และยิ่งในระดับปัจเจกนั้น ย่อมมีปัจจัยที่หลากหลาย
และคงจะบอกยากครับว่ายิ่งอายุมาก ยิ่งความสุขลดลง
แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุมาก คือ ความรู้ ประสบการณ์และทัศนคติต่อโลก ต่อความสุขย่อมเปลี่ยนไป อาจทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้นได้
แต่อย่าลืมว่า ปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นเวลาอายุมากขึ้น เช่น โรคภัยไข้เจ็บ การถูกทอดทิ้ง การขาดสวัสดิการที่ดี (ต้องบอกว่าประเทศไทย สวัสดิการสู้ประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการไม่ได้เลย) และอื่น ๆ อีกมากมาย อาจทำให้ความสุขของคน ๆ นั้น ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกันครับ
เป็นคำถามที่ดีมากครับ ผมก็อยากรู้เลยลองหาข้อมูลมาคุยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา