Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Golden Land แดนสุวรรณภูมิ
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2022 เวลา 11:23 • ประวัติศาสตร์
"เผดียง" เกี่ยวอะไรกับ "ไร้เดียงสา"
รูปประกอบ เด็กน้อยที่ไร้เดียงสา
"เผดียง" นี่เป็นคำภาษาเขมรรุ่นนครธม ซึ่งแปลว่าบอกให้รู้ แต่ในไทยเราใช้ว่าป่าวประกาศ
คำว่า"เผดียง" มาจากภาษาเขมรโบราณสมัยนครธมว่า "เดียง" ที่แปลว่ารู้ ดังที่ไทยเรายังใช้ในสำนวนว่า"ไร้เดียงสา" และมีใช้ในวรรณคดีเก่าๆอย่าง มหาชาติคำหลวงทานกัณฑ์ ว่า "มากูจะไปให้ดลเดียงถนัด"
คำว่า"เดียง"นี้เติมอุปสรรค "ผ" ลงเป็น "เผดียง" แปลว่าทำให้รู้, บอก, แจ้ง และต่อมาภายหลังคำนี้มักใช้กับพระสงฆ์จึงเลื่อนความหมายเป็น "บอกนิมนต์" จนในท้ายที่สุดใช้แปลว่า “นิมนต์”เฉยๆ เลยก็มี เช่นมีผู้เขียนว่า "พ่อขุนรามคำแหงให้เผดียงสงฆ์จากนครศรีธรรมราช"
อ้างอิงจากหนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา" ของจิตรภูมิศักดิ์
ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์
เกร็ดประวัติศาสตร์
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำศัพท์ในภาษาไทย
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย