26 มี.ค. 2022 เวลา 03:57 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 12
3
เรื่อง “ใครชนะ”
1
เครดิตภาพ: ภาพนักบวช Komuso จาก Pinterest by Conee Ess
...
ในประเทศญี่ปุ่นสมัยก่อน มีประเพณีอย่างหนึ่งของพระภิกษุนิกายเซน คือ พระภิกษุอาคันตุกะ ที่เดินทางมาถึงที่วัดใด จะต้องตอบปัญหาธรรมชนะพระภิกษุที่อยู่ก่อน จึงจะมีสิทธิ์เข้าพักได้ ถ้าแพ้ก็ต้องเดินทางหาวัดใหม่ต่อไปวันหนึ่ง
มีพระอาคันตุกะรูปหนึ่ง จาริกมาจากที่ไกลถึงที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น มีพระภิกษุพี่น้อง 2 รูปอาศัยอยู่ คนพี่เป็นผู้คงแก่เรียนรอบรู้แตกฉานมาก คนน้องนอกจากจะตาบอดข้างหนึ่งแล้ว ยังมีสติปัญญาค่อนข้างทึบอีกด้วย
2
เมื่อทราบระเบียบว่า จะต้องมีการโต้ธรรมะกันก่อนเข้าพักอาศัย พระอาคันตุกะก็ยินดีปฏิบัติตาม แต่เนื่องจากพระรูปพี่เหน็ดเหนื่อยจากการปฏิบัติงานมาทั้งวัน จึงได้มอบให้พระรูปน้องทำหน้าที่โต้ปัญหาธรรมแทน และได้แนะให้พระรูปน้องใช้วิธีโต้ปัญหาแบบ “เงียบ” พระทั้งสองจึงไปยังที่บูชา จุดธูปบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วการโต้ปัญหาธรรมะก็เริ่มขึ้น ชั่วครู่เดียวพระอาคันตุกะก็เดินออกไปหาพระรูปพี่ แล้วกล่าวว่า
“น้องชายท่านเก่งเหลือเกิน ผมยอมแพ้แล้ว”
“ท่านโต้ปัญหากันว่าอย่างไรล่ะ” พระรูปพี่ถาม
พระอาคันตุกะจึงชี้แจงว่า “ทีแรกผมชูนิ้วขึ้นมาก่อนหนึ่งนิ้ว ซึ่งหมายถึงพระพุทธ น้องชายของท่านชูสองนิ้วตอบ ซึ่งหมายความว่าเมื่อมีพระพุทธก็ต้องมีพระธรรมด้วย ผมจึงชูสามนิ้วตอบซึ่งหมายถึงว่าถ้าจะให้ครบ ก็ต้องมีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ด้วย คราวนี้น้องชายท่านกลับชูกำปั้นมาที่หน้าผม ซึ่งหมายความว่า จะเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ตาม ก็ต้องมารวมเป็นหนึ่งเดียว คือสัจธรรม ผมจึงว่าน้องท่านเป็นผู้ชนะ ผมไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ที่นี่”
พระภิกษุอาคันตุกะกล่าวแล้ว ก็ลาพระภิกษุรูปพี่เดินทางต่อไป สักครู่พระรูปน้องก็เข้ามาหาพระพี่ชายอย่างเร่งรีบ แล้วถามหาพระอาคันตุกะว่า
2
“เจ้าหมอนั่นมันไปไหนแล้วล่ะ?”
1
“เธอชนะเขาแล้วไม่ใช่หรือ?” พระผู้พี่ถามด้วยความสงสัย
1
“ชนะกะผีอะไรล่ะ” พระรูปน้องโกรธ
“เธอโต้ปัญหากับเขาว่าอย่างไรล่ะ?” พระรูปพี่ถามต่อ
1
“โต้อย่างไรนะหรือ” พระรูปน้องตะโกน
“พอเห็นหน้าผมเท่านั้น มันก็ชูนิ้วเดียวมาที่หน้าผม ซึ่งมันดูหมิ่นว่าผมมีตาข้างเดียว ผมสู้อดทนเพราะเห็นว่าเป็นแขก จึงชูตอบไปสองนิ้ว แสดงความยินดีที่เขามีตาครบบริบูรณ์ แทนที่มันจะรู้ตัว มันกลับชูนิ้วกลับมาอีกสามนิ้ว ซึ่งหมายความว่า ทั้งผมและมันมีตารวมกันอยู่สามตา อย่างนี้ไม่ใช่เยาะเย้ยแล้วจะเรียกว่าอะไร ผมเหลืออดจริงๆ จึงชูกำปั้นขึ้นมาจะต่อยหน้ามันสักหน่อย แต่มันกลับวิ่งออกมาเสียก่อน”
  • สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
4
...
1
  • แม้ภายนอกเป็นสิ่งเดียวกัน แต่มุมมองของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างมองในมุมที่ตนเข้าใจสนใจ หรืออยากให้เป็น ดังนั้นแล้วการมองต่างมุมบนสิ่งเดียวกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน และเกิดความขัดแย้งตามมาได้
7
...
  • อย่าให้ทัศนคติของตนเองมาบดบัง และปิดกั้นทัศนคติของผู้อื่น จงเปิดใจ ละทิฐิ และยอมที่จะรับฟังรวมถึงปรับเปลี่ยนมุมมองของตนให้เหมาะสม
5
...
  • เมื่อมุมมองถูกปรับให้อยู่ในจุดที่อยู่ตรงกลางหรือพึงพอใจทุกฝ่ายแล้ว จะนำมาซึ่งความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อทั้งความสัมพันธ์อันดีระดับบุคคลและครอบครัว ระดับสูงขึ้นมาอีกก็การทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีหัวหน้างานและลูกน้อง หัวหน้าควรรับฟังไม่ใช่สั่งอย่างเดียว ลูกน้องก็ต้องทำความเข้าใจจุดประสงค์เป้าหมายของหัวหน้าด้วยเช่นกัน
5
...
  • ตัวอย่างข่าวสารในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นตัวอย่างที่ดี การเกิดสงคราม สาเหตุล้วนมาจากการที่แต่ละฝ่ายมีอุดมการณ์ที่ต่างกัน เมื่ออีกฝ่ายที่อยู่ด้วยกันใกล้ชิดกันไม่คิดทำตามที่คิดไว้ ก็เกิดความไม่พอใจ โดยมีเหตุผลต่างๆนานาเข้ามารองรับความคิดของฝ่ายตน และก่อให้เกิดความขัดแย้งในรูปแบบของการกระทำตามมานั่นเอง การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเราต่างล้วนรู้ดีอยู่แล้ว นั่นคือการรับฟังและนั่งพูดคุยเจรจาหาจุดที่ตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย
4
ผู้เขียนขอยกคำคมของพ่อมดไอที ที่เกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องนี้ ตามด้านล่าง
เครดิตภาพ: AZ Quotes
Good programmers stay open minded to that even though there is no obvious way to improve what they’re done they… they keep looking and they listen to what other people have to say.
Bill Gates
4
  • ที่มาของนิทาน:
หนังสือ นิทานเซน...ปฏิวัติความคิด "พลิก" ชีวิตให้เจริญ เจริญ ฉบับปรับปรุง, ผู้เขียน บาหยัน, สำนักพิมพ์ เพชรประกาย, 2018, ISBN 9786164413870
1
สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมา โดย Right SaRa

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา