2 เม.ย. 2022 เวลา 10:41 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 13
1
เรื่อง “ชนะเพราะไม่มี”
1
เครดิตภาพ: https://cultural-experience.blogspot.com/2015/03/blog-post.html
มีพระอาจารย์ท่านหนึ่ง สร้างวัดใกล้ๆกับสำนักของท่านนักพรตท่านหนึ่ง
นักพรตท่านนั้นไม่ต้องการให้เขตละแวกนั้นมีวัด เลยเสกเวทมนตร์คาถาใช้เหล่าภูติผีปีศาจมารังควานภิกษุที่อยู่ในวัดอยู่เนืองๆ เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นหวาดกลัวไม่กล้าที่จะอยู่ที่วัดนี้อีกต่อไป
ไม่นานเหล่าพระและสามเณรล้วนหวาดกลัวและย้ายหนีกันไปหมด เหลือแต่พระอาจารย์อยู่ที่วัดนี้เพียงผู้เดียวถึงสิบกว่าปี
...
ที่สุดเวทย์มนต์คาถาของนักพรตท่านนั้นถูกนำมาใช้จนหมดสิ้น
พระอาจารย์ก็ยังไม่ยอมย้ายไปไหน นักพรตรู้สึกหมดหนทางที่จะต่อกรด้วยแล้วจึงย้ายหนีไปเอง
หลังจากนั้นมีผู้ถามพระอาจารย์ว่า นักพรตมีวิชาคาถาอาคมแก่กล้า ท่านชนะเขาได้อย่างไร?
พระอาจารย์ตอบว่า อาตมาไม่มีอะไรที่จะชนะพวกเขาได้ แต่ถ้าหากจะให้พูดจริงๆแล้ว มีเพียงคำเดียวว่า “ไม่มี” ซึ่งพวกเขาเปรียบเทียบไม่ได้
1
...
คำว่า “ไม่มี” จะไปชนะเขาได้อย่างไร? ผู้ถามสงสัย
“พวกเขามีเวทมนตร์คาถา ในขณะเดียวกันเวทมนตร์เหล่านั้นมีจำกัด มีสิ้นสุด มีประมาณ มีขอบเขต
1
แต่ของอาตมา ไม่มีคาถา แต่ไม่มีจำกัด ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต อาตมาไม่ต้องใช้อะไรย่อมจะต้องชนะสิ่งที่ต้องใช้อะไร”
10
  • สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
5
  • “ชนะความมี ด้วยความไม่มี” เป็นคติธรรมที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ เพราะเมื่อเราไม่มีเสียแล้ว เราก็จะไม่รู้จักความอยากได้เพิ่ม ไม่รู้จักความถดถอย นั่นคือไม่มีวันหมด ไม่มีรู้จักความสิ้นสุด เปรียบเสมือนคนที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ก็จะสามารถหลุดพ้นจากความทะยานอยาก คือ อยากมี อยากเป็น อยากได้ ก็จะไม่ต้องเกิดทุกข์เหมือนคนที่ยังยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านี้อยู่
13
...
  • “ความยึดติด” ในจิตใจคนเรา ทำให้เราหาความสุขไม่ค่อยได้ ถึงหาความสุขได้ก็ไม่จีรังยั่งยืน อีกนัยหนึ่งเมื่อเราประสบกับความทุกข์ หากเรายังไม่ปล่อยวางทางใจ กลับไปยึดติดกับสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น อยากจะบังคับให้ได้อย่างใจ ยิ่งทำให้ทุกข์ใจลงไปอีก ดังนั้นเมื่อใจเรายึดติดกับสิ่งใดไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ก็เท่ากับเราเอาใจไปผูกไว้กับสิ่งนั้น ใจจึงไม่มีอิสระ
8
...
  • การทำงานก็เช่นกัน ตามที่ท่านพุทธทาสภิกขุเคยสั่งสอนไว้ว่า อย่าไปยึดมั่นแม้ในความดีต้องอยู่เหนือดี เหนือชั่ว เช่น ท่านพูดเสมอว่า “ทำดีดี” มิใช่ทำดีต้องได้ดี ทั้งนี้เพราะการทำดีนั้นดี แต่ผลจะเป็นอย่างไรที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องไปคาดหวังเพราะเจตนาเราทำดีแล้วก็ดี แต่คนเรามักคิดและหวังว่าทำดีแล้วต้องได้ดี จึงทำให้เสียใจ หากผลเกิดตรงข้าม ท่านสอนให้ทำงานด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นคือ
8
  • ยึดมั่นว่าความเห็นของเราเท่านั้นที่ถูก
  • ยึดมั่นว่าเราเก่งกว่าคนอื่น
  • ยึดมั่นว่างานของเราสำคัญกว่าของคนอื่น
  • ยึดมั่นว่าเราจะต้องได้รับผลตอบแทนด้วยเงิน ขึ้นขั้น หรือเกียรติยศ ชื่อเสียงดีกว่าคนอื่น ฯลฯ เป็นต้น
6
ผู้เขียนขอยกคำกล่าวของนักปราชญ์ชาวอินเดียที่เกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องนี้ ตามด้านล่าง
เครดิตภาพ: AZ Quotes
Attachment is the shadow of the ego. Attachments are immediately created wherever you see 'I am'.
Osho นักปราชญ์ชาวอินเดีย
2
Attachment แปลออกมาก็คือ “ความยึดมั่นในความมีตัวตน” หรือ “อัตตา”
1
  • ที่มาของนิทาน:
หนังสือ รวมปรัชญานิพนธ์กวีเซ็น นิทานเซ็น, ผู้เขียน กระบี่ใบไม้, ISBN 974-350-897-8
  • อ้างอิงหลักคำสอน:
คู่มือมนุษย์ ชุดตุลาการิกธรรม อบรมผู้พิพากษา ปี 2499 ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ย่อและเรียบเรียงโดย อ.ปุ่น จงประเสริฐ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา