Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right SaRa by Bom+
•
ติดตาม
10 เม.ย. 2022 เวลา 08:06 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 14
เรื่อง “อักษรที่กลับด้าน”
1
เครดิตภาพ: Pixabay by HeungSoon
ยังมีพระเซนรูปหนึ่ง เอ่ยปากถามอาจารย์เซนด้วยความสงสัยว่า “อาจารย์ ท่านเคยสอนว่าสมณะนั้น พึงแผ่เมตตาและกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง แต่หากเป็นคนชั่ว แสดงว่าเขาสูญเสียความเป็นมนุษย์ไปแล้ว เช่นนั้นยังคงต้องชี้ทางพ้นทุกข์ให้เขาหรือไม่?”
อาจารย์เซนมิได้ตอบคำถามในทันที เพียงหยิบพู่กันมาเขียนตัวอักษร “我” “ฉัน” ลงบนกระดาษ แต่ตัวอักษรนั้นกลับด้าน แล้วจึงเอ่ยถามศิษย์ว่า “นี่คืออะไร?”
ศิษย์ตอบว่า “นี่คือตัวอักษรตัวหนึ่ง ทว่าเขียนกลับด้านแล้ว”
อาจารย์เซนถามต่อไปว่า “อักษรอะไร?”
ศิษย์ตอบว่า “อักษรคำว่า 'ฉัน' “
อาจารย์เซนจึงถามอีกว่า “อักษรคำว่า 'ฉัน' เมื่อเขียนกลับด้านยังนับเป็นอักษรหรือไม่?”
ศิษย์ตอบว่า “ไม่นับว่าเป็น”
อาจารย์จึงถามต่อว่า “หากไม่นับเป็นอักษร เหตุใดเจ้าจึงทราบว่ามันคือคำว่า 'ฉัน' “
“นับ” ศิษย์รีบกลับคำตอบโดยพลัน ทว่าอาจารย์เซนกลับถามต่อว่า “ในเมื่อนับเป็นอักษร แล้วทำไมเจ้าถึงบอกว่ามันกลับด้านเล่า?”
คราวนี้ศิษย์นิ่งงันไร้คำตอบ…
อาจารย์เซนจึงอธิบายว่า “ตัวอักษรทั้งตัวที่เขียนถูกต้อง และตัวที่เขียนกลับด้าน เจ้าล้วนทราบว่ามันคือคำว่า 'ฉัน' ทั้งยังทราบด้วยว่าตัวไหนถูกต้อง ตัวไหนกลับด้าน นั่นเป็นเพราะว่าในใจเจ้ามีรูปแบบคำว่า 'ฉัน' ที่ถูกต้องอยู่
3
แต่ในทางกลับกัน หากเจ้าไม่รู้จักอักษรตัวนี้ เจ้าก็จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าตัวไหนเขียนถูก ยิ่งไปกว่านั้นหากเจ้ารู้จักตัวอักษรที่เขียนกลับด้านนั่นก่อน เมื่อพบเจออักษร 'ฉัน' ที่เขียนถูกต้อง เจ้าอาจคิดว่ามันเขียนกลับด้านก็เป็นได้”
3
...
1
"ตรรกะเดียวกัน คนดีคือคน คนชั่วก็คือคน สำคัญที่ว่าเจ้าสามารถมองเห็นเนื้อแท้ของเขาหรือไม่ หากเจ้าพบคนเลวแล้วสามารถมองเห็นเนื้อแท้ของเขา มีเมตตาจิตต่อเขา ก็จะสามารถช่วยชี้ทางให้เขาพ้นทุกข์ได้”
5
6
ตัวอักษรจีนจากแปรงพู่กัน เขียนแบบพินอิน Wǒ เครดิตภาพ: https://huaban.com/pins/4057830928
★
สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
...
■
เหตุที่อยู่ตรงข้ามกันไม่ว่าเป็น ดีกับชั่ว ถูกกับผิด เกิดกับดับ ล้วนเกิดอยู่ในสิ่งเดียวกัน คนที่เข้าใจธรรมชาติของสิ่งนั้นได้อย่างถ่องแท้ ย่อมทำให้สิ่งนั้นสามารถดำรงคงอยู่หรืออยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยมีจิตใจที่บริสุทธิ์ไร้อคติ ไม่มีการแบ่งแยก
2
...
■
อะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นตัวกำหนด เกิดขึ้นจากความคิดเชิงศีลธรรมของมนุษย์ สามารถแบ่งออกตามหลักความคิดทางจิตวิทยาได้ 3 แบบ คือ
1
1. สิ่งที่มีอยู่โดยธรรมชาติ (Nature) เชื่อว่าความรู้และความคิดเกี่ยวกับศีลธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด หรือถ้าเชื่อแบบชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ก็คืออยู่ในอารมณ์เชิงศีลธรรมที่ผ่านการวิวัฒนาการมาแล้ว (evolved moral emotions)
2
...
2. กระบวนการกล่อมเกลาและเลี้ยงดู (Nurture) เชื่อว่าเด็กที่เกิดมาจะมีจิตใจที่เหมือน “กระดานที่ว่างเปล่า” (blank slates) ซึ่งจะมาถูกเขียนและแต่งเติมสีสัน หรือถูกปลูกฝังความคิดเชิงศีลธรรมขึ้นภายหลัง จากที่เขามีประสบการณ์กับโลกภายนอกผ่านการอบรมเลี้ยงดู เช่น การที่ผู้ใหญ่ ครอบครัว และสังคมคอยสั่งสอนบอกกล่าวว่าอะไรคือสิ่งที่ผิดหรือถูก
7
...
3. เหตุผลนิยม (Rationalism) อธิบายว่าความคิดเชิงศีลธรรมไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาแต่กำเนิด และก็ไม่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูกล่อมเกลาโดยผู้ใหญ่แบบที่สองแบบแรกเชื่อ แต่เป็นสิ่งที่เด็กสร้างขึ้นด้วยตนเองผ่านการมีประสบการณ์รูปแบบต่างๆ อาทิ การเล่นกับเด็กคนอื่น ประสบการณ์ต่อภัยอันตรายหรือเรื่องไม่ดีรอบตัว ตัวอย่างรูปธรรมคือการที่เด็กรู้ว่าการทำร้ายเป็นสิ่งทีผิด นั่นเพราะเด็กไม่ชอบเวลาที่ตนเองถูกทำร้าย ประสบการณ์เช่นนี้ทำให้เด็กค่อยๆเรียนรู้ว่า การทำร้ายผู้อื่นเป็นสิ่งที่ผิดเช่นกัน
3
■
ที่มาของนิทาน:
หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
■
อ้างอิงบทสรุปข้อคิด:
Haidt, Jonathan. 2013. The Righteous Mind: Why Good People are Divided by Politics and Religion. New York: Vintage Books.
ปรัชญา
ข้อคิด
นิทานเซน
5 บันทึก
34
52
27
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นิทานเซน สอนใจ
5
34
52
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย