Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2022 เวลา 01:08 • ความคิดเห็น
แกะดำ/นอกคอก เหตุใดเขาถึงไม่เข้าพวก?
กระแสในข่าวในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เริ่มมีการพูดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเด็นเกี่ยวกับ “กลุ่มคนที่มีความแตกต่าง ไม่เหมือนกับบุคคลทั่วไป” ซึ่งบ้างก็สนับสนุนในตัวตนของพวกเขา
แต่บ้างก็ไม่เห็นด้วยกับความแตกต่างบางประการ บางคนถึงขั้นเรียกคนเหล่านี้ว่าเป็น “แกะดำ หรือ คนนอกคอก” ด้วยซ้ำ ซึ่งความหมายของมันก็มักจะสื่อออกมาในแง่ค่อนข้างลบ
ซึ่งมันก็นำมาซึ่งคำถามของบทความนี้ว่า อะไรหรือเหตุใดทำให้คนเหล่านี้ไม่เข้าพวกกับคนอื่น? หรือ ทำให้คนอื่นคิดว่า พวกเขาไม่เข้าพวกกับเรา?
📌 มองเรื่องแกะดำ/คนนอกคอก ตามแบบนักเศรษฐศาสตร์
ต้องยอมรับกันตรงๆ ก่อนว่า ถ้ามองคำถามนี้ด้วยมุมมองของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเมื่อสักประมาณ 40-50 ปีก่อนแล้ว ก็ยากที่จะได้คำตอบที่เหมาะสมกับคำถาม
อุปสรรคสำคัญที่คอยขวางกั้นไม่ให้เราไปถึงคำตอบได้ มาจากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มักจะมองว่า มนุษย์ทุกคนเป็นคนที่ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล และจะเลือกทางเดินที่ได้ประโยชน์สูงที่สุดเสมอ
เป็นลักษณะที่เราเรียกกันว่า “มนุษย์เศรษฐศาสตร์” หรือ “Homo Economicus”
ซึ่งมันก็ทำให้เราตีความรวมกันไปเลยว่า “มนุษย์ทุกคนเหมือนกันหมด” จึงทำให้ไม่มีรูปแบบแนวคิดที่สามารถมาอธิบาย “ความแตกต่างของแกะดำหรือคนนอกคอก”
แต่ในยุคต่อมา เศรษฐศาสตร์ก็ยอมรับในทฤษฎีที่นำเสนอความแตกต่างเชิงพฤติกรรมของมนุษย์มากขึ้น และมีการนำจิตวิทยาเข้ามาประกอบการศึกษา เรียกกันว่า “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม”
และที่สำคัญพวกเขาก็เริ่มยอมรับมากขึ้นว่า “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุมีผลตลอดเวลา” ซึ่งตัวการสำคัญมาจากสิ่งที่เราอาจจะเรียกกันว่า “ระบบความคิดแบบกึ่งอัตโนมัติ” หรือในหนังสือด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมหลายเล่มจะชอบเรียกว่า “ระบบ 1”
2
ซึ่งนี่จะเป็นตัวละครสำคัญที่เราจะหยิบมาใช้เพื่อเสนอ “แนวคิดแกะดำ/นอกคอก” ในวันนี้
ขออธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อย ระบบ 1 แท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีประโยชน์ เพราะ มันช่วยแบ่งเบาภาระให้สมองของคนเรา ไม่จำเป็นต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา
แต่เป็นระบบความคิดที่พยายามรวบรวมประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึกบางอย่าง มาเพื่อใช้ตัดสินใจในสิ่งที่สมองมองว่าง่าย ไม่ต้องคิดเยอะ
ซึ่งเจ้าสิ่งง่ายๆ สำหรับแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คิดอยู่กับสิ่งที่เจอมา ตัวอย่างหนึ่งที่อธิบาย คือ การเล่นหมากรุกที่คนทั่วไปที่พึ่งเข้าไปเล่นต้องใช้เหตุและผลอย่างมากในการตัดสินใจแต่ละครั้ง แต่สำหรับแชมป์โลกก็อาจจะตัดสินใจได้ทันทีในบางตาของการเดินหมาก
ระบบความคิดแบบกึ่งอัตโนมัติ หรือ ระบบ 1 อีกยังมักจะทำหน้าที่ “จัดกลุ่มคนตามลักษณะของเขา” หรือบางครั้งก็สุดโต่งถึงขั้นเป็น “การเหมารวม” ไปเลยว่า คนลักษณะแบบหนึ่งจะต้องมีนิสัยแบบหนึ่ง
ตัวอย่างแบบไม่รุนแรงมากที่พอจะนึกออก ก็เช่น การที่เด็กใส่แว่นจะต้องเป็นเด็กเนิร์ด คนเยอรมันเป็นตรงต่อเวลาเป๊ะๆ
การจัดกลุ่มอย่างรวดเร็วด้วยระบบกึ่งอัตโนมัติที่อยู่ในหัวนี่เอง ก็เป็นหนึ่งในคำอธิบายที่เป็นไปได้ที่ทำให้ จัดแบ่งระหว่าง “พวกของฉัน” และ “พวกของเธอ”
และเมื่อคนจากพวกของเธอเข้ามาอยู่ในกลุ่มของฉัน ก็จัดให้คนกลุ่มนี้เป็นแกะดำไปก่อน
📌 “ผลกระทบแกะดำ” หรือ “Black Sheep Effect”
แต่เรื่องมันก็ซับซ้อนกว่าแค่ความเหมือนหรือแตกต่างกันแบบธรรมดา กลุ่มของเธอและกลุ่มของฉันไปอีก
โดยมีงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 1988 ที่ลงใน European Journal of Social Psychology โดย Jose M. Marques, Vincent Y. Yzerbyt และ Jacques-Philippe Leyens ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเป็นแกะดำไว้ได้อย่างน่าสนใจ
วิธีการศึกษาของงานวิจัยนี้ ทำผ่านการทดลองแบ่งเด็กนักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะถูกร้องขอให้ตอบคำถามให้คะแนน “คนที่ถูกจัดมา” แต่ว่าแต่ละกลุ่มจะได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับคนๆ นี้แตกต่างกันออกไป
ซึ่งประกอบไปด้วย คนๆ นี้อยู่ใน
1.
“กลุ่มคนชนชาติเดียวกันที่เป็นที่ชื่นชอบ”
2.
“กลุ่มคนชาติเดียวกันที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบ”
3.
“กลุ่มคนต่างชาติที่เป็นชื่นชอบ” และ
4.
“กลุ่มคนต่างชาติที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบ”
ผลการศึกษาที่ออกมาน่าสนใจอย่างมาก คือ กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มจะให้คะแนนติดลบอย่างรุนแรงกับ “กลุ่มคนชนชาติเดียวกันที่ไม่เป็นทื่ชื่นชอบ” ยิ่งเสียกว่า “กลุ่มคนต่างชาติที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบ” เสียอีก
ที่เป็นแบบนี้ อาจจะเป็นเพราะว่า คนเรามีความคาดหวังกับคนชนชาติเดียวกันให้เป็นเหมือนเราและทำตัวให้เป็นที่ชื่นชอบ ยิ่งกว่า การคาดหวังให้คนต่างชาติที่ไม่ได้มักคุ้นกันดี ไม่ได้โตมาจากวัฒนธรรมเดียวกัน มาทำตัวให้เราชื่นชอบ
เหตุการณ์แบบนี้ ก็อาจจะใช้อธิบายเวลาครอบครัวตั้งความคาดหวังให้กับลูกๆ ว่าต้องเป็นแบบที่เราต้องการ มากกว่า ที่จะมองประมินคนทั่วๆ ไป เวลาที่ทำสิ่งที่ไม่ดีด้วย
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
หนังสือ Nudge โดย Richard H. Thaler และ Cass R. Sunstein
●
https://perso.uclouvain.be/vincent.yzerbyt/Marques%20et%20al.%20EJSP%201988.pdf?fbclid=IwAR1vnfX2-DcUr21gSh-VZqyIjsazA3nob-MS_gaMIk2MwUI68HA_e8dY0Dc
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
จิตวิทยา
สังคม
3 บันทึก
9
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economics Outside The Box
3
9
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย