16 เม.ย. 2022 เวลา 15:06 • ธุรกิจ
BNP Paribas คือ ธนาคารขนาดใหญ่ของโลกที่จุดชนวนห่วงโซ่วิกฤติการเงินปี 2008 โดยการระงับการเบิกถอนกองทุนที่ลงทุนใน Subprime mortgage ในสหรัฐอเมริกา มูลค่าถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007 และเป็นธนาคารที่ก้าวผ่านวิกฤติโดยไม่ต้องเพิ่มทุน และยังเพิ่มบทบาทในตลาดการเงินโลกนับจากนั้นเป็นต้นมา วันนี้ชวนกันมาติดตามกันต่อว่า BNP Paribas ทำได้อย่างไร?
1
นับจากหลังวิกฤติการเงินปี 2008 จนถึงปัจจุบัน BNP Paribas คือ กลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ในโลก ทั้งนี้บทบาทของ BNP Paribas เพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่วิกฤติการเงินปี 2008 เป็นต้นมา
ดูเหมือนว่าปี 2008 คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของทั้งตลาดการเงินโลก และ BNP Paribas
Reference: https://www.advratings.com/banking/top-banks-in-the-world
ความเดิมในบทความตอนที่แล้ว “เรื่องราวของ BNP Paribas”
BNP Paribas เกิดขึ้นจากการควบรวมของ 4 สถาบันการเงิน (four founding banking institutions) คือ
The Banque Nationale de Paris S.A. (BNP) ที่เกิดจากการควบรวมของ 2 ธนาคารฝรั่งเศสในปี 1966 คือ Banque nationale pour le commerce et l'industrie (BNCI) and Comptoir national d'escompte de Paris (CNEP) ที่ได้กล่าวถึงในรายละเอียดในบทความตอนที่แล้ว
1
The Banque de Paris et des Pays-Bas S.A. (Bank of Paris and the Netherlands) หรือเรียกว่า “Paribas” ที่เกิดจากการควบรวมของ 2 บริษัทวาณิชธนกิจของฝรั่งเศสและอัมสเตอร์ดัม ในปี 1872 คือ Banque de Crédit et de Dépôt des Pays-Bas (จากจุดเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1820s) และ Banque de Paris (ก่อตั้งในปี 1869) ซึ่งจะคุยกันต่อในบทความนี้
Paribas มีบทบาทอย่างมากในการจัดหาเงินทุนในช่วงสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี (ปรัสเซียในขณะนั้น) “Franco-Prussian War” ในครั้งนั้นฝรั่งเศสแพ้สงครามและกู้เงินเพื่อฟื้นฟูประเทศจำนวน 3 พันล้านฟรังส์ (francs) ซึ่งต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ Paribas และ Crédit Lyonnais ร่วมกันจัดหาเงินกู้เพื่อทดแทน 1 ใน 3 ของยอดหนี้คงค้างสงครามได้สำเร็จ โดยมีแหล่งเงินส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนในเยอรมนีที่ Paribas มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้วยนั่นเอง
1
กลยุทธ์การเติบโตของ Paribas ในช่วงปี 1888-1913 เน้นการสนับสนุนทางการเงินให้รัฐบาลและบริษัทต่างชาติ อาทิ เงินให้กู้กับรัฐบาลฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอาณานิคมต่างๆ รวมถึงการจัดจำหน่ายพันธบัตรให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส รัสเซีย บอลข่าน (ร่วมกับธนาคารในเยอรมนี) กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย โมรอคโค และลาตินอเมริกา (ร่วมกับธนาคารแบร์ริง)
1
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทาง Paribas ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการระดมทุนให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส รวมทั้งการสนับสนุนทางการเงินให้แก่อุตสาหกรรมอาวุธ
และทั้งหมดนี้ทำให้ BNP Paribas ที่เกิดจากการควบรวมกิจการ มีเครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งทางธุรกิจและการเมืองที่กว้างขวางและแนบแน่นตลอดระยะเวลาถึง 200 ปีจากจุดเริ่มต้นของธุรกิจธนาคาร และบนเส้นทางการควบรวมกิจการอย่างมากมาย
Reference: Wikipedia
ทำไม BNP Paribas จึงเป็นธนาคารชั้นนำของโลกที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากวิกฤติการเงินในปี 2008?
  • การพึ่งพิงแหล่งเงินกู้ยืมระยะสั้น (Leverage) น้อยกว่าการระดมทุนจากเงินฝากรายย่อยอย่างมาก (Retail Deposits)
แตกต่างจากรูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทวาณิชธนกิจอื่นๆ เช่น Bear Stearns ที่ไม่สามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ได้ เนื่องจากแหล่งเงินทุนหลักคือการกู้ยืมระยะสั้น (repurchase agreements) (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความก่อน https://www.blockdit.com/posts/624ef4c88c79791d0a601773)
BNP Paribas มีแหล่งเงินทุน 2 ใน 3 มาจากเงินฝากลูกค้ารายย่อย (retail banking) ในฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน (มีจำนวนเงินฝาก 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2007) ซึ่งเป็นจำนวนมากเพียงพอในการสนับสนุนธุรกิจด้านวาณิชธนกิจ (investment banking) ทำให้ลดความเสี่ยงทางธุรกิจไปได้อย่างมาก
  • การเน้นธุรกรรมการให้บริการลูกค้า (Retail Business) มากกว่าเป็นการซื้อขายสินทรัพย์เพื่อทำกำไร (Trading Business)
1
ในส่วนธุรกิจด้านวานิชธนกิจ (investment banking) แม้ว่าจะมีขนาดธุรกรรมที่ใหญ่ แต่เป็นไม่ใช่กิจกรรมธุรกิจหลักมากเท่ากับ Retail Business
BNP Paribas เน้นธุรกรรมการให้บริการลูกค้า มากกว่าเป็นการซื้อขายสินทรัพย์เพื่อทำกำไร (Trading Business) แตกต่างอย่างมากจากบริษัทวานิชธนกิจขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา (Big Five U.S. Investment Banks) ซึ่งรวมถึง Bear Stearns ในเวลานั้นด้วย ที่มีรายได้มากกว่า 50% จาก Trading Business ในปี 2006 เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2000 และเป็นธุรกรรมด้าน mortgage-backed securities จำนวนมาก
1
ผลกระทบจากวิกฤติต่อ BNP Paribas
อาจกล่าวได้ว่า ผลกระทบจากวิกฤติต่อ BNP Paribas ในส่วนของหนี้เสียถือว่ามีค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ โดย BNP Paribas มีเงินให้กู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับ subprime mortgage ในตลาดสหรัฐอเมริกา (subprime-back debt and leveraged loans) จำนวน 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มีสินทรัพย์รวมจำนวน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น
1
ทั้งหมดนี้ ทำให้ BNP Paribas สามารถรับมือกับวิกฤติการเงินได้ดี ขณะที่สถาบันการเงินคู่แข่งประสบความยากลำบาก
นับจากปี 2008 เป็นต้นมา BNP Paribas ได้เพิ่มบทบาทในตลาดการเงินโลกโดยลำดับ และในช่วงปลายปี 2008 นั้นเองที่ BNP Paribas กลายเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดลำดับที่ 15 ของโลก (market capitalization)
References: https://www.relbanks.com/worlds-top-banks/market-capitalization-2008
บทบาทของธนาคารและการเปลี่ยนแปลงในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
ภาพด้านล่างเปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงลำดับธนาคาร (สินทรัพย์) ในปี 2007 และ 2016 ซึ่งจะเห็นว่า BNP Paribas ยังคงครองบทบาทที่สำคัญในตลาดการเงินโลก แม้ว่าลำดับแรกๆ ของขนาดสินทรัพย์จะเป็นกลุ่มธนาคารจีนเป็นหลัก
Reference: Annual reports, S&P Global
ย้อนกลับมาที่คำถาม: ทำไมการระงับกองทุนครั้งนั้นของ BNP Paribas จึงมีความสำคัญอย่างมาก?
ในวันที่ 9 สิงหาคม 2007: BNP Paribas ระงับการเบิกถอนกองทุนรวม 1.6 พันล้านยูโร (เทียบเท่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในขณะนั้น ประกอบด้วย Parvest Dynamic ABS, BNP Paribas ABS Euribor และ BNP Paribas ABS Eonia funds
สำหรับ BNP Paribas กองทุนที่ถูกระงับการเบิกถอน (frozen funds) คิดเป็นน้อยกว่า 0.5% ของมูลค่ากองทุนที่บริหารจัดการ (funds under management) แต่หลังจากนั้น ความเคลื่อนไหวของ ก็มีกองทุนอื่นในยุโรปที่ระงับการเบิกถอนเช่นกันอีก 750 ล้านยูโร รวมทั้งธนาคารในเนเธอร์แลนด์ที่ยกเลิกการออกกอบทุนใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ subprime
หลายคนอาจมีคำถามว่า ทำไม BNP Paribas จึงตัดสินใจระงับการเบิกถอนกองทุน?
ในวันนั้น BNP Paribas ตัดสินใจไม่คำนวนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value) และการสั่งซื้อ/การไถ่ถอน (subscriptions/redemptions)โดยเลือกที่จะปฏิบัติตามการกำกับดูแลที่เข้มงวดของกองทุน (regulations) ทั้งนี้ การคำนวนมูลค่าของกองทุนสามารถทำได้ตามปกติได้ทันทีที่ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity)
BNP Paribas มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (assets under management) 326 พันล้านยูโร ในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนหน้าที่จะระงับการเบิกถอนกองทุนนั้น ทั้งสามกองทุนมีขนาดลดลงอย่างรวดเร็ว โดยลดลงเหลือ 1.593 พันล้านยูโร (2.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม จาก 2.075 พันล้านยูโร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม อันเป็นผลหลักจากการถอนของนักลงทุนนั่นเอง
1
The complete evaporation of liquidity in certain market segments of the U.S. securitization market has made it impossible to value certain assets fairly regardless of their quality or credit rating.
BNP Paribas press release, August 9, 2007
1
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ได้แถลงว่าพร้อมจะดำเนินการที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน
อย่าลืมว่าทุกกองทุนในตลาดย่อมมีนักลงทุนผู้ถือหน่วยลงทุน และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนักลงทุนเหล่านั้นไม่สามารถเบิกถอนหน่วยลงทุนได้? และถ้ากองทุนนั้นคือ กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ กับคำอธิบายแก่นักลงทุนว่า ไม่สามารถให้เบิกถอนได้ เพราะไม่สามารถคำนวนมูลค่าของหุ้นที่ลงทุนว่าเป็นเท่าไหร่กันแน่ในตอนนี้ ที่อาจสร้างความสับสนและตื่นตระหนกในตลาดการเงินได้
หลายคนจึงกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า BNP Paribas ได้จุดชนวนการปะทุของเหตุการณ์วิกฤติการเงิน (global credit-crunch panic) จากการตัดสินใจระงับการเบิกถอนกองทุนเพราะไม่สามารถคำนวนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
และหลังจากนั้น BNP Paribas ก้าวข้ามวิกฤติมาได้ โดยที่หลายคนก็ยอมรับว่า BNP Paribas เป็นธนาคารขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในครั้งนี้ กองทุนที่ระงับการเบิกถอนสามารถกลับมาดำเนินการได้หลังจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีผลขาดทุนไม่มากนัก
นั่นคือ อีกหนึ่งข้อถกเถียงในเรื่องจุดเริ่มต้นของวิกฤติการเงินปี 2008 ที่มีทั้งเหตุการณ์ขายกิจการของ Bear Stearns ในเดือนมีนาคม 2008 หรือเหตุการณ์ระงับการเบิกถอนกองทุนของ BNP Paribas หรือเหตุการณ์ Lehman Brothers และ AIG หรือแม้กระทั่งภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาเองที่สะสมมานานก่อนหน้าเหตุการณ์ในตลาดการเงินทั้งหลายนี้ ตลอดจนนโยบายการเงินที่หลายคนกล่าวว่าเอื้อให้ก่อภาวะฟองสบู่ โดยเฉพาะนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งเราจะมาคุยกันในเรื่องนี้ในตอนต่อๆ ไป
1
สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นในฟากยุโรป เพื่อตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวของ BNP Paribas และสถาบันการเงินอื่นๆ ในยุโรป คือ ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเหตุการณ์เพื่อบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติในตลาดการเงินอย่างรวดเร็ว และนั่นก็ทำให้ตลาดการเงินโลกเริ่มสังเกตเห็นภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั่นเอง
บทสรุปเพื่อการเรียนรู้
  • มีหลายอย่างที่เราสามารถเรียนรู้จากการบริหารของ BNP Paribas ได้ อันเป็นปัจจัยให้สามารถก้าวข้ามวิกฤติการเงินโดยได้รับผลกระทบจำกัด
1
  • แน่นอนว่า “ธุรกิจการเงินสร้างรายได้จากการบริหารความเสี่ยง” ดังนั้น “ความสำเร็จที่ยั่งยืนของธุรกิจการเงินก็ย่อมขึ้นอยู่กับความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงอย่างยั่งยืนนั่นเอง” และ BNP Paribas ก็เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาในเรื่องนี้ในช่วงเวลาของวิกฤติการเงินปี 2008
1
  • และก็แน่นอนว่า “ไม่มีความสำเร็จใดที่ยั่งยืนและเป็นสูตรสำเร็จ” การบริหารความเสี่ยงด้วยเทคนิคและวิธีการเดิมก็อาจไม่ได้ผลลัพธ์อย่างเต็มที่เมื่อปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไป ปัจจัยความเสี่ยงและความซับซ้อนของตลาดการเงินในปัจจุบันมีมิติที่กว้างขวางขึ้น มีผู้เล่นมากรายขึ้นในตลาด และนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ เกิดขึ้น
1
  • อย่างไรก็ดี ตามที่ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธปท. ที่ให้ข้อคิดในงานเสวนา “เหลียวหลัง แลหน้า กับผู้ว่าการ ธปท.” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ว่าจริงๆ แล้ว ความท้าทายที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้น ไม่ได้แตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่แตกต่างจากมนุษย์เมื่อหลายร้อยปีก่อน แก่นของเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ เป็นสิ่งที่เราควรเร่งศึกษาให้เข้าใจเพื่อเตรียมการรับมือกับวิกฤติในอนาคต
1
แล้วมาติดตามกันในตอนต่อไป กับตามรอย “วิกฤติการเงินปี 2008” นะคะ
References:
Banque Nationale de Crédit, the bank that grew too fast - BNP Paribas
Banque nationale pour le commerce et l'industrie - Wikipedia
BNP Paribas - Wikipedia
Paribas - Wikipedia
How BNP Paribas avoided the meltdown - Aug. 27, 2008
BNP freezes $2.2 bln of funds over subprime | Reuters
BNP Paribas suspends funds hit by subprime woes | Reuters
โฆษณา