23 เม.ย. 2022 เวลา 11:53 • ประวัติศาสตร์
สงครามไครเมีย
สิ่งที่จุดชนวนสงครามคือความตึงเครียดระหว่างชาวคริสเตียน คาทอลิก และออร์โธดอกซ์ รวมถึงรัสเซียในการเข้าถึงศาสนสถานศักดิ์สิทธ์ของชาวคริสต์ในพื้นที่การปกครองของออตโตมัน หลังจากมีความรุนแรงเกิดขึ้นที่ เบธเลเฮม ซึ่งพระของคริสเตียนออร์โธดอกซ์ถูกฆ่า ซาร์นิโคลัสได้ส่งคณะทูตไปหาสุลต่านอับดุลเมจิดที่ 1 เพื่อเรียกร้องให้มีการเข้าถึงศาสนาสถานอย่างเท่าเทียม และให้ยอมรับว่านิโคลัสคือผู้พิทักษ์คริสเตียนออร์โธดอกซ์เหนืออาณาจักรออตโตมัน สุลต่านอับดุลเมจิดได้ปฏิเสธ ทำให้นิโคลัสตัดสินใจยึดครอง มอลดาเวีย และ วัลลาเชีย ซึ่งเป็นพื้นที่การปกครองของออตโตมัน ออตโตมันจึงตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามต่อรัสเซียในปี ค.ศ.1853
สุลต่าน อับดุลเมจิดที่ 1 source:tr.wikipedia.org
สงครามทำให้อังกฤษกังวลในการค้าขายกับออตโตมัน และการเข้าถึงอินเดีย ในขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสเองที่ยังคงนึกถึงความพ่ายแพ้ของนโปเลียนต่อรัสเซียได้เห็นถึงโอกาสในการล้างแค้น ทำให้ทั้งสองประเทศเข้าร่วมสงครามในปี ค.ศ.1854 โดยอยู่ฝั่งออตโตมัน กองกำลังสัมพันธมิตรเคลื่อนพลไปยังเมือง Eupatoria ในคาบสมุทรไครเมีย และมีเป้าหมายคือการยึดครอง เซวาสโตปอล เมืองท่าที่มีการป้องกันแน่นหนา ที่ซึ่งใช้เป็นฐานบัญชาการกองเรือรัสเซียในทะเลดำ ไม่กี่วันต่อมา กองกำลังสัมพันธมิตรเอาชนะกองกำลังรัสเซียได้ที่การต่อสู้ Alma และมุ่งหน้าไปยัง เซวาสโตปอล ต่อไป
ซาร์ นิโคลัส source:en.wikipedia.org
หลังจากนั้น กองกำลังรัสเซียได้พยายามเข้ายึดฐานทัพสัมพันธมิตรที่ บาลัคลาวา(Balaklava) อ่าวที่มีความสำคัญในการจัดส่งเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังรัสเซียได้สู้กับกองกำลังอังกฤษที่สมรภูมิ บาลัคลาวา ซึ่งกองกำลังรัสเซียถูกกองกำลังอังกฤษขับไล่จนต้องถ่อยล่นไป
ทหารม้าอังกฤษเข้าโจมตีกับแนวป้องกันที่แข็งแกร่งของรัสเซีย source:nam.ac.uk
ในต้นกันยา ค.ศ.1855 กองกำลังฝรั่งเศส ยึดครองแนวป้องกัน มาลาคอฟ(Malakoff) ซึ่งเป็นป้อมปราการสำคัญในการป้องกันเซวาสโตปอลเอาไว้ได้ ทำให้กองกำลังรัสเซียเผาเรือที่เหลือทิ้งและถอนกำลังออกจากเมือง
ทางออสเตรียเองก็ขู่ว่าจะเข้าร่วมสงครามในฝั่งสัมพันธมิตร ทำให้รัสเซียที่บอบช้ำตัดสินใจยอมแพ้เซ็นสนธิสัญญาปารีส ในปี ค.ศ.1856 ซึ่งทำให้รัสเซียต้องคืนดินแดนที่ได้ยึดครองมา และ ทะเลดำต้องเป็นเขตปลอดทหาร
ยุทธการ มาลาคอฟ source:en.wikipedia.org

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา