5 พ.ค. 2022 เวลา 06:19 • หนังสือ
#51 CWG. 4️⃣ — บทที่ 1️⃣3️⃣ (ตอนที่ 4) : ฉันขอย้ำให้เธอฟังอีกครั้งว่า : มนุษยชาตินั้นคือเผ่าพันธุ์ที่ยังเยาว์วัยนัก
ผู้แปล : คุณซิม จากเพจ Books for Life
ผู้เรียบเรียง : แอดมิน (ซึ่งผมอาจแก้ไข เพิ่มคำแปล และ เรียบเรียงประโยคใหม่บางส่วน)
Q : Gosh, part of me feels that this list is an indictment of our whole species, our whole away of life.
นีล : โอ้โห ส่วนหนึ่งในตัวผมรู้สึกว่า รายการพวกนี้เป็นเหมือนข้อกล่าวหาหรือการกล่าวประณามทั้งเผ่าพันธุ์ของพวกเรา วิถีชีวิตทั้งหมดของพวกเราเลยนะครับ
A : Is it an “indictment” of a three-year-old to observe that adults understand things she does not?
พระเจ้า : สิ่งนี้มันเหมือน “การกล่าวประณาม” เด็กอายุ 3 ขวบที่สังเกตเห็นผู้ใหญ่เข้าใจบางสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจรึเปล่าล่ะ❓
Celebrate that you know what you know! Celebrate that you clearly see the difference between your behaviors and behaviors that you may decide are more beneficial.
จงเฉลิมฉลองเมื่อเธอรู้ว่าเธอรู้แล้ว❗จงชื่นชมยินดีที่เธอสามารถมองเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง ‘พฤติกรรม (เดิม) ของเธอ’ กับ ‘พฤติกรรม (ที่ต่างไป) ที่เธออาจตัดสินใจเลือก’ จะเป็นประโยชน์กับเธอมากกว่า
Celebrate the growth of knowing this, even as you celebrate the early steps of every child.
✨ จงชื่นชมยินดีไปกับการเติบโตจนได้รู้เรื่องนี้ ให้เหมือนกับการที่เธอชื่นชมยินดีการเดินก้าวแรกๆของเด็กน้อยทุกคน ✨
.
Q : Thanks for reminding me. You keep making this point. We really are a very young species. Perhaps we should drive that point home in specific terms, so it can become real in people’s minds.
นีล : ขอบคุณที่เตือนสติผมครับ พระองค์ย้ำประเด็นนี้อยู่บ่อยครั้ง ว่าพวกเรายังเป็นเผ่าพันธุ์ที่ยังเยาว์วัยนัก บางทีเราควรทำเรื่องนี้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นหน่อย เพื่อที่คนทั่วไปจะได้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
A lot of folks like to think of humans as highly evolved. In fact, humanity has just emerged from its infancy on this planet. In their book, New World New Mind, Robert Ornstein and Paul Ehrlich placed this in perspective in one mind-boggling paragraph:
มีหลายคนชอบที่จะคิดว่า มนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการอยู่ในระดับสูงแล้ว ทั้งที่จริง มนุษยชาติยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เหมือนเพิ่งเกิดและเติบโตขึ้นมาบนดาวเคราะห์ดวงนี้ยังไม่พ้นช่วงวัยของเด็กทารกเลย ในหนังสือที่ชื่อว่า “โลกใหม่ จิตใหม่” ของ โรเบิร์ต ออร์นสไตน์ และ พอล เออร์ลิช ได้เขียนมุมมองที่น่าเหลือเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ในย่อหน้าหนึ่งว่า :
“Suppose Earth’s history were charted on a single year’s calendar, with midnight January 1 representing the origin of the Earth and midnight December 31 the present. Then each day of Earth’s ‘year’ would represent 12 million years of actual history.
“สมมติว่า ประวัติศาสตร์ของโลกถูกแทนที่เป็น 1 ปีปฏิทิน ตอนเที่ยงคืนของวันที่ 1 มกราคม เปรียบได้กับจุดกำเนิดของโลก และเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม เปรียบได้กับเวลาในปัจจุบัน แต่ละวันของปีในปฏิทินเป็นตัวแทนของ 12 ล้านปีตามประวัติศาสตร์จริง
On that scale, the first form of life, a simple bacterium, would arise sometime in February. More complex life-forms, however, come much later; the first fishes appear around November 20. The dinosaurs arrive around December 10 and disappear on Christmas Day.
ในแผนภูมินี้ รูปแบบของสิ่งมีชีวิตชนิดแรก คือแบคทีเรียเชิงเดี่ยว (สิ่งมีชีวิตแบบเซลล์เดียว) ปรากฏขึ้นในราว ๆ เดือนกุมภาพันธ์ ต่อมา สิ่งมีชีวิตเชิงซ้อน (มีหลายเซลล์ประกอบกัน) อย่างไรก็ตาม กลับปรากฏขึ้นในเวลาที่ช้ากว่าเดิมมาก; ปลาตัวแรก เกิดขึ้นราวๆ วันที่ 20 พฤศจิกายน จากนั้นไดโนเสาร์ก็เกิดขึ้นประมาณวันที่ 10 ธันวาคม และสูญพันธุ์ไปประมาณช่วงคริสมาสต์
The first of our ancestors recognizable as human would not show up until the afternoon of December 31. Homo sapiens—our species—would emerge at around 11:45 p.m . . . and all that has happened in recorded history would occur in the final minute of the year.”
บรรพบุรุษคนแรกของพวกเราที่ถูกยอมรับในฐานะมนุษย์นั้นจะยังไม่ปรากฏตัวจนกระทั่งช่วงบ่ายของวันที่ 31 ธันวาคม โฮโมเซเปียนส์ —ซึ่งคือชื่อเผ่าพันธุ์ของเรา— จะโผล่มาในช่วงเวลาประมาณ 11:45 น. (5 ทุ่ม 45) . . . และทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ถูกบันทึกไว้ ก็เกิดขึ้นในช่วงนาทีสุดท้ายของปีเท่านั้นเอง”
A : That puts things into perspective beautifully. And it creates a context within which it can now be understood why, in human societies, most people deny much of what they see. They even deny their personal feelings, and, eventually, their own truth.
พระเจ้า : นั่นเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้อย่างงดงามจริงๆ ทั้งยังเสริมบริบทที่สามารถทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมผู้คนจำนวนมากในสังคมของมนุษย์ถึงได้ปฏิเสธหลายสิ่งที่พวกเขาเห็น พวกเขาทำแม้กระทั่งปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง และในท้ายที่สุด ก็ปฏิเสธความจริงของตัวพวกเขาเอง
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา