Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
6 พ.ค. 2022 เวลา 08:37 • อาหาร
ชวนส่อง "ชีส (Cheese)" ที่มีชื่อคุ้นหู แต่นึกหน้าตาไม่ค่อยออก
ชีส (Cheese) เป็นหนึ่งในอาหารที่ยิ่งรู้เรื่องราวมากเท่าไร ก็ยิ่งอยากลองทานมากขึ้นอยู่เหมือนกัน
ส่วนมากแล้ว หลังจากที่พวกเราอ่านเรื่องราวความเป็นมาหรือความพิเศษของชีสแต่ละตัวเสร็จแล้ว พอว่าจะไปหาชีสเหล่านั้นมาลองทานบ้าง… อ้าว ไปมา ๆ กลับลืมไปซะงั้น 😅
แต่ว่าชื่อของชีสต่าง ๆ ที่ได้ยินได้อ่านบ่อย มันก็ติดอยู่ในหู เช่น กรูแยร์ ริคอตต้า กูวด้า สวิสชีส… โอยอีกเยอะแยะเลย
งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปส่องกับชื่อของชีสทั้ง 6 แบบ ที่ติดอยู่ในหูคุ้นชินกับการเห็นผ่านเมนูหรือซองขนม ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร.. ใช่แบบที่เราจำได้ไหมนะ ?
ไปดูกันเลย !
ปล. ในเรื่องของชีสเนี่ย พวกเราคิดว่าค้นหามาทำได้อีกเป็นสิบกว่าโพสได้เลย (แต่ละชนิดก็น่าสนใจไม่แพ้กัน แถมคนทำก็แอบสนุกกับเรื่องราว)
ซึ่งจริง ๆ พวกเราก็เคยทำมาบ้างแล้ว สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับชีสอื่น ๆ เพิ่มเติม
เดี๋ยวพวกเราจะขอแปะลิ้งเรื่องของชีสในโพสก่อน ๆ หน้าไว้ให้ในคอมเมนต์นะคร้าบ
[ ชีสกรูแยร์ (Gruyère) กับเรื่องราวที่แสนจะวุ่นชาวสวิสและฝรั่งเศส… 🇫🇷 🇨🇭🧀 ]
1
ชีสกรูแยร์ (Gruyère) เป็นชีสแข็ง (Hard Cheese)
แต่ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าอยู่ในประเภทของชีสแข็ง แต่ชีสตัวนี้กลับมีทั้งความกรอบ มัน นุ่ม ซึ่งบางชิ้นก็สามารถใช้เวลาในการหมักบ่มนานประมาณ 10 - 18 เดือน (เป็นการถนอมชีส) เลยทีเดียวนะ !
หน้าตาชีสกรูแยร์จะเป็นแบบนี้
เรื่องราวที่น่าสนใจชวนอ่านเพลิน ๆ ก็คือ ชื่อของชีสตัวนี้ “กรูแยร์ (Gruyère)"
ที่มีต้นกำเนิดเมืองกรูแยร์อยู่ในเขตปกครองเล็กของรัฐฟรีบูร์ก (Fribourg) ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เมืองกรูแยร์ (Gruyère) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ตามประวัติศาตร์การบันทึกของต้นกำเนิดชีสชนิดนี้ มีมาตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1115 แล้วนะ ยาวนานมากก
แต่ระหว่างนั้น ก็มีหลายประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ที่ออกมาเคลมว่า ชั้นตะหาก ! เป็นเจ้าของชีสกรูแยร์ชนิดนี้
แต่เราขอสปอยแบบสรุปสำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่อยากอ่านยาว ๆ
หลังจากที่ถกเถียงกันมานานมาก…
ในปี 2001 ในตอนที่มีการจัดระเบียบด้วยทะเบียนการค้า ที่เรียกว่า อาโอเซ (AOC หรือ Appellation d’Origine Controlee) เขาได้ยกให้กรูแยร์มีฐานะเป็น "Le Gruyère AOP" และมีต้นกำเนิดมาจากสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งผู้คนทั่วโลกจึงมีการรับรู้และยอมรับไปในทางเดียวกัน
เรื่องนี้ทำให้ชีสกรูแยร์ในแบบฉบับของประเทศฝรั่งเศส(เยอรมนีและอิตาลี) ต้องยุติการใช้และอ้างถึงชื่อชีสตัวนี้ ว่าเป็นของตัวเองทันที… 🇨🇭🧀✔️
AOC หรือ Appellation d’Origine Controlee
🤔 อ่านถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ อาจเริ่มงงว่า เอ้ะ ! แล้วฝรั่งเศสมาเกี่ยวอะไรด้วยละ ?
แล้วทำไมจู่ ๆ สวิตเซอร์แลนด์ได้ไปเฉยเลย ?
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านแบบยาวนิดนึง
เรื่องราวมันมีให้อ่านเพลิน ๆ ประมาณว่า
ชีสกรูแยร์ เดิมทีมีต้นกำเนิดจากเมืองกรูแยร์ในรัฐฟรีบรูก์ (Fribourg) ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พูดมาแบบนี้ ! เพื่อน ๆ คงจะเดาได้ว่า การที่ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน เข้ามาเคลมความเป็นเจ้าของชีสกรูแยร์นี้ ก็น่าจะต้องเกิดมาก่อนการกำเนิดของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ซึ่งก็จะประมาณนั้น
อย่างที่เกริ่นไปว่า เดิมทีกรูแยร์เป็นทั้งชื่อของเมือง(หมู่บ้าน)ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แต่ว่า…เจ้าชีสชนิดนี้ได้ถูกค้นพบการผลิตมาในปี ค.ศ. 1115 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1291
ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับชีสนะ แต่ว่ามันเป็นภาพที่ทำให้เกิดก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นในปีค.ศ.1291 โดยสามมณฑลในเขตเทือกเขา แอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation)
พอเรื่องเป็นแบบนี้
มันก็เลยมีเจ้าของฟาร์มโคนมชาวฝรั่งเศส ที่กล่าวอ้างว่าชีสสูตรที่ผลิตในเมืองกรูแยร์เนี่ย มันเป็นของพวกเขาชาวฝรั่งเศส มาตั้งร้อยปี ! 🇫🇷🙋♂️
รวมไปถึงการส่งออกเริ่มมีการส่งออกไปนอกสวิตเซอร์แลนด์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 ก็มาจากฝีมือของชาวฝรั่งเศส อีกด้วยเช่นกัน
ไม่ใช่ชาวอิตาลี ชาวเยอรมัน หรือแม้แต่ชาวสวิส..ที่อาศัยอยู่ในเมืองกรูแยร์แห่งนี้…
กระทั่งมาถึงช่วงพีคที่ทำให้เกิดการขัดแย้งกันในเรื่องของ “นมวัว” ในช่วงศตวรรษที่ 19 ของฝรั่งเศสและสวิต จนทำให้เกิดสงครามชีส 3 ปี (The Gruyere War หรือ The Cheese War หรือ วิกฤติชีสกรูแยร์)
แน่นอนว่า ชาวฝรั่งเศสก็ได้กล่าวอ้างถึงคุณภาพของนมวัว ที่มาจากวัวสายพันธุ์ของฝรั่งเศส
ซึ่งก่อนหน้าในช่วงศตวรรษที่ 12 (หรือปี ค.ศ. 1115) นั้นเนี่ย เจ้าเมืองกรูแยร์ มันมีแต่ภูเขา อีกทั้งสภาพพื้นที่ก็ยังไม่เหมาะกับการปลูกบ้านหรือเลี้ยงสัตว์
หากแต่ว่าเป็นชาวฝรั่งเศสนั่นแหละ ที่เป็นคนนำวัวมาเลี้ยง และส่งนมวัวไปขายที่เมืองนี้
🇨🇭💁♀️ ในขณะที่ชาวสวิสก็อ้างว่า
แต่ชื่อของชีสนี้ มันเป็นชื่อของเมืองกรูแยร์ในรัฐฟรีบูร์ในประเทศสวิตนะ ! ซึ่งไม่ว่าพื้นที่ตรงนั้นจะเป็นอะไรมา แต่ว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นก็คือชาวสวิสนี่ละ !
ซึ่งชาวสวิสก็ได้กล่าวเพิ่มอีกว่า…
รู้ไหมว่า ? สูตรดั้งเดิมเนี่ย จะเป็นชีสที่หอมมันและมีกลิ่นของถั่ว (nutty) ซึ่งเป็นสูตรที่ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ ปีค.ศ. 161 และเป็นชีสตัวกันกับที่คร่าชีวิตของจักรพรรดิแอนโทนีนแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Antoninus Pius)
Antoninus Pius - แต่จริง ๆ เราพยายามหาสาเหตุการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์องค์นี้ ซึ่งจริงๆเขาก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าตายเพราะทานชีสเยอะเกินไป (แต่มีบันทึกแค่ว่าเป็นโรคกะเพาะไม่ย่อยอาหาร)
โอโห..ไปไกลมากก
(คือ เขาบอกว่าจักรพรรดิองค์นี้ กินชีสกรูแยร์เยอะเกินไป จนย่อยไม่ทันและตายที่เมืองกรูแยร์นั้นละ…เวรกรรม)
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ไอเจ้าชีสกรูแยร์เนี่ย มันยังถูกถกเถียงช่วงชิงในเรื่องความเป็นเจ้าของ มานานหลายสิบปี แถมยังมีการประชุมครั้งใหญ่ มากถึง 3 ครั้ง
โดยจัดครั้งแรกที่กรุงมาดริด ในปี 1891
ครั้งที่ 2 ปารีส ปี 1926
และครั้งที่ 3 กรุงโรม ปี 1930
จนกระทั่งสหภาพยุโรป (EU) ต้องเข้ามาช่วยดูเรื่องการแย่งชีสกรูแยร์ 🇪🇺 🕵️♂️
ซึ่งแน่นอนว่าหลักฐานจากทางฝั่งของฝรั่งเศสเนี่ย อาจมีไม่เพียงพอ (พวกเรื่องการครอบครอง ความเป็นต้นตำรับ หรือแหล่งผลิต)
ท้ายที่สุด ในปี 2001 จึงได้ข้อสรุปจาก AOC หรือ Appellation d’Origine Controlee ว่าชีสตัวนี้มีความเป็นต้นตำรับของชาวสวิส
(ไม่ใช่ของชาวฝรั่งเศส เยอรมันหรืออิตาลี แล้วนะ)
ชาวสวิสก็สามารถพูดได้อย่างเต็มปากแล้วว่า ชีสกรูแยร์มีต้นตำรับมาจากประเทศสวิส
(เพิ่มเติม : อ้อ ! พวกเราเข้าใจว่า The Gruyere War มันเป็นสงครามทางการค้าและวัฒนธรรม ที่ว่าใครคือเจ้าของต้นตำรับหรือเป็นผู้ผลิตชีสกรูแยร์ที่้ดีที่สุด… ไม่ใช่สงครามที่ใช้ความรุนแรงนะจ้า ซึ่งสงครามแย่งความเป็นเจ้าของชีสเนี่ย มันก็มีทั่วยุโรปและอเมริกา ยกตัวอย่างเช่น Stilton Cheese war ระหว่างเมือง Leicestershire กับ Derbyshire ในอังกฤษ)
พูดถึงเรื่องชีสกรูแยร์ที่สวิสแล้ว พวกเราก็จำได้ว่าเคยได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงผลิตชีส “La Maison du Gruyère” ซึ่งมีขนาดใหญ่มากกกก
แล้วเขาก็ให้เราทัวร์ด้วยตัวเองได้ ก็ใส่หูฟังแล้วเดินถือเครื่องฟังไปตามโรงงานผลิต (แน่นอนว่ากลิ่นนี้ อบอวลไปด้วยชีสนม)
ซึ่งโรงงานชีสที่ว่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับปราสาทกรูแยร์ เผื่อเพื่อน ๆ ท่านไหนมีโอกาสได้ไปเที่ยวสวิส แล้วได้ชมการผลิตชีสแบบละเอียด ๆ (แต่ดูเพลิน)
เป็นผู้ผลิตชีสกรูแยร์แบรนด์ที่ดังที่สุดในโลก
อันนี้เป็นภาพของตัวโรงงานที่สามารถเข้าไปเดินทัวร์ได้ (แต่อันนี้หยิบภาพมาให้ชมจาก Pinterest นะคร้าบ เพราะเราเองหาภาพที่ตัวเองถ่ายไว้ไม่เจอแล้ว เก่าเกินไปนิดนึง)
หอมปากหอมคอกันไปกับเรื่องราวสบายสมองอีกเช่นเคย
หยั่งงั้นพวกเราขอตัวไปเดินเลือกส่องชีสมาลองชิมก่อนดีกว่า !
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://culturecheesemag.com
https://www.cheese.com/
https://cheesehouse.com/.../gruyere-cheese-a-history-as.../
https://www.erinnudi.com/.../difference-muenster-cheese.../
https://www.britannica.com
ประวัติศาสตร์
เที่ยวต่างประเทศ
อาหาร
15 บันทึก
9
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"อาหารและวัตถุดิบ" ที่สุดแสนธรรมดารอบตัวเรา ก็มีเรื่องราวเหมือนกันนะ ! (Into the World of General Food & Spice)
ส่องโลกของขนม ของหวาน ของทานเล่น (Into the World of Sweets)
15
9
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย