Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2022 เวลา 03:21 • ปรัชญา
“คำจำกัดความที่สั้นที่สุดของอานาปานสติสูตร”
★
หมวดที่ 1 กำหนดลม
1. กำหนดลมหายใจที่ยาว
2. กำหนดลมหายใจที่สั้น
3. กำหนดลมหายใจทั้งปวง โดยความหมายที่มันเป็นเครื่องปรุงกาย (กายสังขาร)
4. กำหนดลม (กายสังขาร) ที่กำลังระงับลง ๆ (ละเอียดเข้า)
★
หมวดที่ 2 กำหนดเวทนา
5. กำหนดปีติ อันเป็นเวทนาที่เกิดมาจากกายสังขารระงับลง
6. กำหนดสุข อันเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นสืบต่อจากปีติ
7. กำหนดเวทนาเหล่านี้ ในลักษณะที่มันเป็นเครื่องปรุงจิต (จิตสังขาร)
8. กำหนดความที่จิตสังขารระงับลง ๆ เพราะการกระทำที่เราทำถูกวิธี
★
หมวดที่ 3 กำหนดจิต
9. กำหนดที่ตัวจิต ว่ากำลังมีลักษณะอย่างไร ? (เช่นกำลังกำหนัดหรือไม่กำหนด เป็นต้น) และอื่น ๆ อีกกี่อย่างก็ได้
10. กำหนดความที่เราทำจิตให้ปราโมทย์ในธรรมอยู่ ได้แก่การกำหนดตัวความปราโมทย์นั่นเอง ในฐานะเป็นสิ่งที่เราบังคับมันได้
11. กำหนดความที่จิตตั้งมั่นอยู่ได้ ด้วยการบังคับของเราอยู่ตลอดเวลา
12. กำหนดความที่จิตปล่อยตัวมันเอง คือความรู้สึกที่ว่า จิตเป็นตัวตนลดลงตามลำดับ (คือ เห็นความเป็นจิตปรุงแต่งน้อยลง ๆ)
★
หมวดที่ 4 กำหนดธรรม
13. กำหนดความไม่เที่ยงของทุกสิ่งที่ผ่านมาในความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของลม ของเวทนา และของจิต
14. กำหนดความจางออก ๆ ของความกำหนัดหรือความยึดถือ อันเกิดขึ้นจากเห็นความไม่เที่ยง
15. กำหนดความที่จิตน้อมไปสู่ความดับไม่เหลือ หรือกำหนดตัวความดับไม่เหลือ (คือ นิพพาน) ในฐานะเป็นวัตถุที่ประสงค์
16. กำหนดความที่บัดนี้ เกิดการสลัดคืนโลกิยธรรมออกไปจากจิต
ทุก ๆ ขั้น แต่ละขั้น ทำอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เหตุฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า อานาปานสติทุก ๆ ขั้น
ทำอย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐานสมบูรณ์
มีโพชฌงค์ 7 สมบูรณ์
หลังจากนี้ก็คือมรรค ผล นิพพาน ขั้นใดขั้นหนึ่ง
ตอนไหนเป็นสมาธิ ?
หมวดที่ 1 เป็นสมาธิ
หมวดที่ 2 มีสมาธิ และปัญญาเล็กน้อย
หมวดที่ 3 มีปัญญามากขึ้น
หมวดที่ 4 ปัญญาสมบูรณ์ถึงที่สุด
อานาปานสติ เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ?
หมวดที่ 1 ถึง หมวดที่ 3 เป็นเตรียมวิปัสสนา
หมวดที่ 4 เป็นตัววิปัสสนา
การทำอานาปานสติ เป็นมรรคมีองค์ 8 ไปในตัว
เพราะขณะที่ทำ มีความเข้าใจถูกต้อง อันเป็นสัมมาทิฏฐิมาก่อน ยิ่งหมวดสุดท้ายเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างยิ่ง เป็นสัมมาสติ สัมมาสมาธิอย่างยิ่ง
การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสัมมาทิฏฐิอย่างสูง
ความใฝ่ฝันในการทำเป็นสัมมาสังกัปโป
การพูด การงาน อาชีพ ถูกต้อง
มีความเพียรเต็มที่
ขณะทำ อกุศลธรรมไม่เกิด ถ้าเกิด ก็ละ
เป็นการทำกุศลธรรมให้เกิด ทั้งรักษาไว้และให้เจริญขึ้น
นับว่าเป็นความเพียรอย่างเต็มที่
การทำอานาปานสติ ไม่ทิ้งอริยสัจ
ความทุกข์มาจากความอยาก
ทำอานาปานสติขั้นต้น ๆ ข่มความอยาก คือ ตัณหา
ไม่ให้โอกาสทำงาน
ตอนท้ายตัดรากของตัณหา
ศีล ป้องกันการอาละวาดของกิเลส
สมาธิ ข่มกิเลส
ปัญญา ตัดรากกิเลส
ความทุกข์เปรียบตัวโรค มีอยู่ที่ 3 แห่ง คือ
1. โรคที่แสดงออกทางกาย วาจา เป็นอย่างหยาบ
ศีล แก้โรคที่กาย วาจา
2. โรคที่จิต ได้แก่นิวรณ์ต่าง ๆ กลุ้มรุมกัดแทะจิต
สมาธิ แก้โรคที่จิตชั้นนอก
3. โรคที่สันดาน อยู่ที่ส่วนลึกของจิต
ปัญญา แก้โรคที่สันดาน ซึ่งอยู่ลึกที่สุดนั้น
ทำอานาปานสติอยู่ เรียกว่า มีศีลพร้อมอยู่แล้ว เป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ซึ่งมีอยู่เอง
อานาปานสติ ตั้งแต่เริ่มทำไปจนกลาง ๆ เป็นสมาธิ แก้นิวรณ์ต่าง ๆ ที่กลุ้มรุมจิต ตอนสุดท้ายเป็นปัญญา เป็นการทำลายกิเลสในสันดานที่อยู่ใต้ - ลึกที่สุด
การกระทำอยู่ที่ความสามารถของผู้นั้นว่า จะหายจากโรคได้ขาดหรือไม่ ถ้าไม่หายขาด ก็ยังได้รับประโยชน์บ้าง ที่โรคจะหายไปได้พักหนึ่ง หรือส่วนหนึ่ง
องค์แห่งโพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ในอานาปานสติอย่างไร ?
โพชฌ หรือ โพธิ คือ ความตรัสรู้
องค์แห่งโพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ในอานาปานสติ คือ
1
1. สติ : มีอยู่ตลอดเวลา เพราะทำอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เป็นสติอย่างยิ่ง
2. ธัมมวิจยะ : มีอยู่ที่สอดส่องตลอดเวลา
3. วิริยะ : กระทำพากเพียรอยู่ด้วยความอดทนตลอดเวลา
4. ปีติ : มีพร้อม
5. ปัสสัทธิ : ความสงบระงับ ระงับกาย เวทนา จิต ที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น สงบถึงที่สุด
6. สมาธิ : เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ เป็นอานันตริกสมาธิ มีอยู่ในอานาปานสติตลอดสาย จิตอยู่ในญานและปัญญา เป็นการลุสมาธิถึงที่สุด
7. อุเบกขา : วางเฉยได้ในสังขารทั้งปวง เป็นอุเบกขาชนิดเห็น “การไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น” เป็นอุเบกขาแท้ มีอยู่ในอรหัตตญาน ไม่ยึดมั่นถือมั่น
องค์แห่งสัมโพชฌงค์ วางเฉยเพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าเสน่หา น้อมไปสู่วิราคะ นิโรธะ และปฏินิสสัคคะ
หน้าที่ของเรา ใช้กำลังแข้งขา ถีบรถให้ถึงจุดสูงสุดของสะพาน ถึงตอนนี้แล้วไม่ต้องพยายามมันจะเลื่อนไหลไปเอง
สมกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
“นิพพานนี้ให้เปล่า ไม่ต้องซื้อด้วยสตางค์”
อานาปานสติ ยิ่งทำ ยิ่งไม่เอา ไม่เป็น
ทั้งหมดนำไปสู่ผลอย่างเดียว
คือ สลัดคืน ไม่เอา ไม่เป็น ไม่มีอุปาทาน หรือ ยึดถือ
จึงน้อมไปสู่ความดับไม่เหลือของธรรมชาติ
.
จากหนังสือธรรมะบนดอยบวกห้า
โอวาทของท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ พ.ศ. 2502
6 บันทึก
5
5
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตามรอยธรรม
6
5
5
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย