15 พ.ค. 2022 เวลา 02:29 • ข่าวรอบโลก
ฮังการี : ชาติสมาชิก EU และ NATO
กับการเป็นม้าไม้เมืองทรอย (มีใจให้รัสเซีย)
2
ที่มาของภาพ Wikipedia และ https://we-rworldtour.com
เมื่อ 3 เม.ย.65 ฮังการีได้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี
และผลการเลือกตั้งมีผู้ชนะคือ นาย Viktor Orbán เป็นนายกรัฐมนตรี
2
นาย Viktor Orbán นายกฯ ฮังการี : ที่มาของภาพ Wikipedia
ซึ่ง นาย Viktor Orbán เคยดำรงตำแหน่งนายกฯ
มาแล้วสมัยแรก คือ คศ.1998-2002
และกลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง
**ตั้งแต่ คศ.2010 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน**
2
นาง Katalin Novák ประธานาธิบดีฮังการี : ที่มาของภาพ Wikipedia
ทั้งนี้ 10 พ.ค.65 นาง Katalin Novák ได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฮังการี
เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของฮังการี และเป็นประธานาธิบดีฮังการีที่อายุน้อยที่สุด (44 ปี)
2
นาง Katalin Novák ได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฮังการีต่อจาก
นาย Ader Janos ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมายาวนานถึง 10 ปี (10 พ.ค.55 – 9 พ.ค.65)
2
นาย Ader Janos อดีตประธานาธิบดีฮังการี ที่มาของภาพ : Wikipedia
โดยทั้งอดีตประธานาธิบดี Ader Janos และประธานาธิบดี Katalin Novák
ต่างดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของฮังการี โดยมีนายกรัฐมนตรี คือ นาย Viktor Orbán ที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานประมาณ 12 ปี (ยังไม่รวม 4 ปีของการเป็นนายกฯ สมัยแรก)
2
ขออภัยล่วงหน้า หากสิ่งที่ท่านผู้อ่านกำลังจะได้เห็นต่อไปนี้
“อาจเป็นมุมมองไม่น่ารัก” ที่มีต่อ ผู้ครองตำแหน่งยาวนาน (นายกฯ ฮังการี)
แต่ด้วยกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) บนหลักการและเหตุผล ไม่นำอารมณ์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยว ILHAIR (ทีมแอดมินของเพจฯ) ขอนำเสนอดังนี้ครับ
4
1. ฮังการี คือ ยอมรับมติ EU ในการคว่ำบาตรถ่านหินจากรัสเซีย
(เพราะ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฮังการี ประกอบกับผ่านฤดูหนาวไปแล้ว)
แต่ฮังการียอมรับเงื่อนไขในการชำระเงินของรัสเซีย
เพื่อให้ยังสามารถซื้อพลังงานจากรัสเซียได้
โดยฮังการีนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากกว่า 35%
8
ที่มา https://www.dw.com/en/warsaw-and-budapest-split-over-russian-energy-ties/a-61595947
2. ฮังการีนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียมากกว่า 60% คิดจากปริมาณที่ใช้ทั้งหมด
ทั้งนี้ ฮังการีเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Land Lock)
วิธีการรับพลังงานจึงต้องใช้การพึ่งพาท่อส่ง (จากรัสเซีย) เท่านั้น : ข้อมูลจากสำนักข่าว TNN
2
ที่มา https://hungarytoday.hu/orban-ukraine-weapons-ukrainian-refugees/
3. นาย Viktor Orbán เข้าดำรงตำแหน่งนายกฯ ในสมัยแรก คือ คศ.1998-2002
ถือเป็นช่วงเดียวกันกับ การเข้ารับตำแหน่งของ
ประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซียในช่วงเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษ (คศ.2000)
2
โดยหลังจากรัสเซียประกาศเริ่ม Special Operation ในยูเครน เมื่อ 24 ก.พ.65
นาย Viktor Orbán ประกาศว่า ฮังการีไม่อนุญาตให้ NATO ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ผ่านฮังการีเข้าไปให้ยูเครนโดยตรง ทั้งทางบกและทางอากาศ
แต่ NATO สามารถส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ผ่านฮังการีไปยังประเทศ XXX
แล้วส่งจากประเทศ XXX ไปยังยูเครนได้
3
ที่มาของภาพ Wikipedia
4. ตามคำกล่าวของนักวิชาการอิสระ
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ
ท่านอาจารย์ รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
ที่อธิบายเปรียบเทียบผ่านรายการวิทยุจุฬาฯ FM101.5 ความว่า
“…ฮังการี เป็นเหมือน ม้าไม้เมือง Troy ที่แฝงตัวอยู่ใน EU และ NATO…“
คำถามสำคัญที่เกิดขึ้น
หลังจากที่ฟังท่านอาจารย์ฯ คือ
10
เช่นนั้น หลังจบสงครามยูเครน-รัสเซีย
ฮังการี จะยังอยู่ใน EU และ NATO ต่อไปได้ “อย่างสนิทใจ” กับชาติพันธมิตรหรือไม่ ?
1
จากข้อ 1. ถึง ข้อ 3. ด้านบน ทำให้คิดพิจารณาเพิ่มเติมได้ว่า
จุดเด่นของนายกฯ ฮังการี ที่อยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลานาน คือ
ความเก๋าเกมในวางหมากบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ในการที่จะดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ชาติ
เพื่อไม่ให้ฮังการีเกิดวิกฤติพลังงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อรักษาฐานอำนาจของตนเองให้ยังเป็น นายกฯ ต่อไป
3
สำหรับจุดด้อยของการอยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลานาน
เชื่อได้ว่าท่านผู้อ่านคิดจุดด้อยต่างๆ นี้ได้ไม่ยาก ** ILHAIR จึงขอข้ามไป **
แต่จะขอกล่าวถึง เกาหลีใต้ ซึ่งปัจจุบันมีกฏเหล็กที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า
การเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ สามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 สมัย (5 ปี)เท่านั้น
คือ ครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้นที่จะได้พิสูจน์ฝีมือ
5
ทำเนียบประธานาธิบดี-ที่เก่า (ปัจจุบันได้ย้ายทำเนียบฯ ไปยังที่แห่งใหม่)
ในทางกลับกัน การดำรงตำแหน่งบริหารประเทศเป็นระยะเวลานาน นานจนผู้นำสูงสุด (ประธานาธิบดีอยู่มา 10 ปี) ยังต้องเปลี่ยนคนใหม่ อาจส่งผลทั้งแง่บวกและแง่ลบ ดังเช่นที่เราเห็นได้จาก ฮังการี
5
คำกล่าวของ รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : รับฟังทางวิทยุ คลื่น 101.5 (สถานีวิทยุจุฬาฯ) ในช่วงปลาย เม.ย.65 – ต้น พ.ค.65
11

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา