3 มิ.ย. 2022 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
《เดือนห้าไหว้บ๊ะจ่าง|端午节》
เดือนห้าไหว้บ๊ะจ่าง|端午节
- ความรู้เพิ่มเติม -
1. บ๊ะจ่างในไทย
บ๊ะจ่างในไทยได้รับอิทธิพลมาจากบ๊ะจ่างภาคใต้ของจีน เช่น อิทธิพลฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮากกาและไหหลำ ซึ่งมีรูปทรงสามเหลี่ยมและเน้นรสเค็มเป็นหลัก
2. เทศกาลบ๊ะจ่างในประเทศใกล้เคียง
⚫ญี่ปุ่น:เรียกเทศกาลนี้ว่า "ทังโกะ โนะ เซ็คคุ(端午の節句)" ซึ่งไม่มีกิจกรรมแข่งพายเรือมังกรอย่างจีน แต่มีการทานบ๊ะจ่างหรือจิมากิ(ちまき)รวมถึงแขวนหญ้าอ้ายและชางผูอย่างจีน
⚫เกาหลี:เรียกเทศกาลนี้ว่า "คังนึง ทันโอเจ(강릉단오제/江陵端午祭)" เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองแก่เทพเจ้าของชาวเกาหลี ซึ่งไม่มีกิจกรรมแข่งพายเรือมังกร ทานบ๊ะจ่างและแขวนหญ้าอ้ายและชางผูอย่างจีน หากแต่เป็นเทศกาลพื้นบ้านในเมืองกังนึง(강릉/江陵)เท่านั้น ในวันนี้ผู้หญิงจะนำชางผูมาสระผมเพื่อความสวยงาม และปักปิ่นที่ทำจากรากของชางผูอีกด้วย
⚫เวียดนาม:เรียกเทศกาลนี้ว่า "เต๊ดสิตเซิวบอ(Tết diệt sâu bọ/節滅害蟲)" หรือ "เทศกาลฆ่าแมลงมีพิษ" ซึ่งไม่มีกิจกรรมแข่งพายเรือมังกรอย่างจีน แต่มีการทานบ๊ะจ่างหรือบั๊งจึง(Bánh chưng/粽子)นอกจากนี้ยังมีการนำแอลกอฮอล์และอาหารที่มีรสเปรี้ยวมาใช้ในการฆ่าแมลงอีกด้วย
- ข้อมูลเทศกาลพอสังเขป|节日简介 -
“เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง” หรือ “ตวนอู่เจี๋ย(端午节)” เป็นหนึ่งในเทศกาลดั้งเดิมของจีน จัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติจีน(农历五月初五)ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากการบูชากลุ่มดาวมังกรสวรรค์ทั้ง 7(苍龙七宿) ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
เหตุที่เรียกว่า “ตวนอู่” ก็เพราะ “ตวน(端)” หมายถึงเริ่มต้น/พอดี และ “อู่(午)” หมายถึงตรงกลาง จึงแปลได้ว่า “ตรงกลางพอดี” แรกเริ่มเดิมทีในสมัยโบราณกลุ่มดาวมังกรสวรรค์ทั้ง 7 อยู่ในตำแหน่งทิศใต้พอดี อีกทั้งเดือน 5 เป็นเดือนที่อยู่ตรงกลางสุดของปี จึงเรียกเดือนว่า “เดือนอู่(午月)”
นอกจากนี้ เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างยังเป็นเทศกาลที่สำคัญของคนจีนทั่วโลก ทั้งมีคอนเซ็ปต์ของการรักษาสุขภาพและรักษาโรคแล้ว ทางการจีนยังได้ยกระดับเป็นมรดกวัฒนธรรมระดับชาติอีกด้วย
- "ชฺวีหยวน" ให้กำเนิดบ๊ะจ่าง?|屈原与粽子故事 -
"ชฺวีหยวน" ให้กำเนิดบ๊ะจ่าง?|屈原与粽子故事
- เหตุใดต้องบ๊ะจ่างเดือนห้า|为何五月食粽子 -
เหตุใดต้องบ๊ะจ่างเดือนห้า|为何五月食粽子
ขนมจ้างเรียกตามภาษาจีนกลางว่า “จ้งจึ(粽子)” ส่วน “บ๊ะจ่าง(肉粽)” เรียกตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน ในสมัยโบราณชาวจีนเรียกบ๊ะจ่างว่า “จ้งเหอ(粽籺)”
วัตถุดิบหลักประกอบด้วย ข้าวเหนียว(糯米)ไส้(馅料)และใช้ใบไผ่(箬叶)หรือใบจ่าง(粽叶)ในการห่อขึ้นรูป ลักษณะบ๊ะจ่างที่พบเห็นได้ทั่วไปจะเป็นทรงสามเหลี่ยม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ้นด้วย นอกจากนี้ หลังทานบ๊ะจ่างแล้วผู้คนจะคล้องถุงหอมที่ห่อด้วยเชือก 5 สี เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
-บ๊ะจ่างภาคเหนือ-
นิยมใช้ข้าวฟ่างไม้กวาด(黍米)เป็นวัตถุดิบหลัก ในการขึ้นรูปจะนิยมขึ้นรูปเป็นเขาสัตว์ ซึ่งเรียกว่า “เจี๋ยวสู่(角黍)” เนื่องด้วยการผลิตน้ำตาลนั้นมีความยากลำบากจึงมีการใช้พุทราจีนเชื่อม(红枣)และหัวบีทรูต(甜菜)ในการให้ความหวานและเป็นไส้
-บ๊ะจ่างภาคใต้-
นิยมใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งเรียกว่า “โร่วจ้ง(肉粽)” หรือ “บ๊ะจ่าง” เพราะไส้ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหมู ไข่แดงเค็ม ถั่วเขียว ซึ่งนิยมรสเค็มเป็นหลัก
- ประเพณีนิยม|端午习俗 -
ประเพณีนิยม|端午习俗
สามารถกลับไปอ่านโพสต์《"บ๊ะจ่าง" อาหารนานาชาติ|国内海外各种粽子》
โฆษณา